ดูแลไต ให้ดี ได้สุขภาพดี ไม่ต้องเสียสตางค์ฟอกไต

ดูแลไต ให้ดี ได้สุขภาพดี ไม่ต้องเสียสตางค์ฟอกไต ดูแลไต ต้องทำอย่างไร หลายคนอาจตอบว่า เลิกกินเค็ม งดของรสจัด แต่รู้ไหมว่า ยังมีอีกหลายวิธีดูแลไต ซึ่งทำง่าย เพื่อให้กระบวนการกำจัดสารพิษทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ด้วย 5 ข้อนี้ ข้อมูลโดย ผศ. นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า 1. เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผักและผลไม้สด ธัญพืชเต็มเมล็ดแทนธัญพืชที่ผ่านการขัดสีแล้ว อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น ถั่ว ปลาที่มีไขมันสูง จำกัดการรับประทานเนื้อแดง และอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทเนื้อหมัก เนื้อกระป๋อง และมันฝรั่งทอด เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน 2.ดื่มน้ำให้มากขึ้น ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน การดื่มน้ำช่วยสนับสนุนให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างราบรื่น กรองสารพิษออกจากเลือดและขับสารพิษทางปัสสาวะ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หรือบรรดา soft […]

6 พฤติกรรม กินเค็ม เสี่ยงโรคความดัน ไต หัวใจ และอัมพาต

6 พฤติกรรม กินเค็ม เสี่ยงโรคความดัน ไต หัวใจ และอัมพาต คนไทยกินเค็มกว่าความต้องการของร่างกายถึง 2 เท่า โดย กินเค็ม (โซเดียม) ประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ความต้องการของโซเดียมในร่างกายของคนเราที่ได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตราย คือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ส่งผลทำให้คนไทย โดยส่วนใหญ่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDS เช่น โรคความดัน  ไต  หัวใจ และอัมพาต   พบว่าคนไทยที่เป็นวัยรุ่น และมีภาวะความดันโลหิตสูงมีเพิ่มจำนวนมากขึ้นและอายุน้อยลงเรื่อย ๆ  โดยปัจจุบัน พบผู้ป่วยเบาหวานและความดัน  อายุเพียง 20 กว่าปี เพิ่มมากขึ้น  พอเริ่มทำงานอายุประมาณ 30 กว่าปี เริ่มป่วยเป็นโรคไต ทั้งนี้เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง และจากการสำรวจล่าสุดพบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี มีการบริโภคเค็ม เกินปริมาณ 2-5 เท่า  ดังนั้นจึงมีวิธีการลดเค็มง่าย ๆ ด้วยการหยุด ! […]

กินเบเกอรี่ ใครว่าไม่เค็ม! อาหารเสี่ยงโรคไต ที่ใครๆ นึกไม่ถึง

กินเบเกอรี่ ใครว่าไม่เค็ม! อาหารเสี่ยงโรคไต ที่ใครๆ นึกไม่ถึง เมื่อนึกถึง อาหารเสี่ยงโรคไต สิ่งแรกที่เรามักจะนึกถึงก็คือ “อาหารเค็ม” นั่นเอง เมื่อนึกถึงอาหารเค็ม เราก็มักจะนึกอาหารที่ใส่เกลือ น้ำปลาเยอะๆ จนเค็มปี๋ แต่ที่จริงแล้ว มีอาหารอีกหลายชนิดที่หากบริโภคเยอะๆ ก็มีความเค็ม และไม่ดีต่อไตของเรา แถมอาหารบางอย่าง ยังเป็นอาหารที่เรานึกไม่ถึงอีกด้วย! ผศ.นพ.สุรศักดิ์  กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็มและประธานการจัดงานวันไตโลก กล่าวว่า วันไตโลกประจำปี 2562  ในปีนี้สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข, เครือข่ายลดบริโภคเค็ม, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),  มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย, องค์การเภสัชกรรมและสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เน้นถึงภาวะไตเรื้อรังและแนวทางในการป้องกันไตเสื่อม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไต   ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไต ::: ลดกินเค็ม ::: ลดการบริโภคเค็ม ลดอาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่  น้ำปลา เกลือ ซีอิ๊ว ผงปรุงรส ซอสปรุงรส ซุปก้อน จะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบทำให้เค็ม   ::: ลดเบเกอรี่ ::: ผงฟูที่ใส่ในเบเกอรี่ ก็มีความเค็มเช่นกัน […]

สัญญาณเตือนโรคไตในวัยทำงาน เช็ก 6 สัญญาณจากร่างกาย เมื่อโรคไตมาเยือน

สัญญาณเตือนโรคไต ในทางการแพทย์มีอาการ 6 อย่างที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคไตอยู่ โดยหากเกิดขึ้นเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการให้รู้แน่ชัดว่าสาเหตุมาจากโรคไตหรืออื่นๆ เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาและดูแลตัวเองอย่างทันเวลา   เช็ก 6 สัญญาณเตือนโรคไต ปัสสาวะขัด เป็นอาการชี้ชัดว่ามีปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะและอาจเป็นโรคไตด้วยก็ได้ แบ่งได้ 2 กลุ่มคือ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะขัดเพราะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สำหรับผู้ชายถ้ามีอาการนี้อาจจะมีเป็นโรคนิ่วในไตหรือโรคต่อมลูกหมากร่วมด้วย และอาจมีอาการปวดเอวหรือมีไข้ด้วย ต้องเบ่งปัสสาวะ อาการปัสสาวะบ่อย อาจเกิดจากมีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโตในผู้ชาย มดลูกหย่อนในผู้หญิง ถ้าทิ้งไว้ไม่รักษา อาจเกิดปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อบ่อยๆ หรือเกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะเรื้อรังจนอาจทำให้ไตวาย   ปัสสาวะกลางคืนบ่อย กระเพาะปัสสาวะคนเราสามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 1 แก้ว ดังนั้น ในคนปกติช่วงนอนหลับกลางคืน 6 – 8  ชั่วโมง มักจะไม่จำเป็นต้องตื่นมาปัสสาวะ เพราะตอนกลางคืนไตจะดูดน้ำกลับมากขึ้น ทำให้ผลิตปัสสาวะได้น้อยลง ทำให้ไม่ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางคืน แต่หากมีอาการป่วยโรคไต ร่างกายจะไม่สามารถดูดน้ำกลับได้เท่าคนปกติ ตอนกลางคืนจึงยังมีปัสสาวะออกมา ทำให้ต้องลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึก แต่โดยทั่วไปแล้วคนเราอาจลุกขึ้นมาปัสสาวะได้ประมาณ 1 – 2 ครั้ง หากดื่มน้ำก่อนนอน […]

โรคไตใครก็เป็นได้! เผย 9 พฤติกรรมทำร้ายไตที่ควรลด ละ เลิก เดี๋ยวนี้!

กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผย รายงานถึงสถานการณ์โรคไตเรื้อรังของประเทศไทยพบว่า 70% ของประชากรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็น จนกระทั่งเข้าสู่ระยะ 4 – 5 ซึ่งหมายถึงอาการรุนแรงแล้ว รู้ไหมว่า โรคไต ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยน้อยลง โดยมีอายุน้อยกว่า 60 ปี หมายความว่า โรคนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะผู้สูงอายุอีกแล้ว แต่สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย โรคไตใครก็เป็นได้ เพราะโรคไตอาจเกิดจากไลฟ์สไตล์และการกินอยู่แบบผิดๆ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสี่ยงโรคไตมากขึ้น โดยมี 9 พฤติกรรมทำร้ายไตที่เราควรลด ละ เลิก ดังนี้   ชอบกินอาหารรสจัด รสจัด หมายถึง เค็มจัด หวานจัด เผ็ดจัด และมันจัด โดยอาหารรสจัดจะทำให้ไตทำงานหนัก จึงมีส่วนทำให้เป็นโรคไตได้ ซึ่งจากข้อมูลของเครือข่ายลดบริโภคเค็มพบว่า คนไทยกินเค็มมากว่ามาตรฐาน 2-3 เท่า โดยเฉพาะการกินนอกบ้าน อาหารตามสั่ง อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารปิ้งย่างที่มีการหมักเนื้อด้วยเกลือและผงชูรส จึงมีโอกาสได้รับโซเดียมมากกว่าปกติ รวมถึงการชอบจิ้มซอสซึ่งจะเพิ่มปริมาณโซเดียมมื้อนั้นเพิ่มขึ้น หากเราสามารถลดการกินอาหารเหล่านี้ได้ ร่างกายก็จะรับเกลือได้น้อยลงซึ่งเป็นผลดีต่อร่างกาย   ชอบกินอาหารสำเร็จรูปและหมักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวกล่องสำเร็จรูปแช่เย็น อาหารกระป๋อง ที่เรามักชอบใช้ประทังชีวิตยามหิวกลางดึกหรือช่วงปลายเดือน […]

วิธีกินช่วยผู้ป่วย โรคไต แข็งแรง อายุยืน

ชีวจิต จึงอยากชวนผู้ป่วยโรคไตและผู้ดูแล มาเรียนรู้เรื่องการกินอาหารให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์และสภาวะโรคของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ผู้ป่วยได้สบายใจ สบายไต ปลอดภัย

กินเค็มหน่อยๆ อร่อยดี! มาดูแนวทางกินเค็มอย่างไรให้ดีต่อใจและไตของคุณ

ลดเค็ม ลดโซเดียม ลดโรค แนวทางการป้องกันโรคไตที่ดีที่สุด คือ การลดการกินอาหารเค็ม หรือลดการกินโซเดียมลง โดยวิธีการที่ดีและได้ผลสุด คือ การทำอาหารกินเองจากที่บ้าน เพื่อที่จะได้ควบคุมปริมาณการใส่เครื่องปรุงไม่ให้มากเกินความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการกินอาหารนอกบ้าน มักมีการเติมหรือปรุงรสเค็มด้วยน้ำปลาหรือมากไป ซึ่งสูงถึง 2 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดยผลเสียที่ตามมาคือ ร่างกายมีโซเดียมสูง ทำให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และส่งผลเสียโดยตรงต่อไต   แนวทางการเลือกกินอาหารรสเค็มที่จะช่วยลดโซเดียม แต่ยังอร่อยถูกปาก มีดังนี้ พยายามกินอาหารรสธรรมชาติ ปรุงโดยเติมน้ำปลา เกลือ ซอสต่างๆ ให้น้อยที่สุด เป็นการฝึกลิ้นให้คุ้นเคยกับอาหารจืด แม้รสเค็มจะทำให้อาหารอร่อย อาหารจืดๆ รสชาติไม่ชวนกิน เราสามารถแก้ไขโดยการปรุงให้มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ดแทน โดยการใส่เครื่องเทศ สมุนไพรต่างๆ จะช่วยให้มีกลิ่นหอม รสชาติดี ชวนกินมากขึ้น   ลดหรือเลิกการใส่ผงชูรสในอาหาร แม้ผงชูรสเป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง  15%   เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เขียนฉลากว่า โซเดียมต่ำ เลือกที่มีโซเดียมน้อยทีสุด หรือดูส่วนประกอบ เช่น ถ้าผลิตภัณฑ์ไหนมีโซเดียมมากกว่า 0.5 กรัม หรือเกลือ […]

7 เคล็บลับ สลายนิ่ว ด้วยตัวเอง

วิธี สลายนิ่ว ขอพูดถึงต้นเหตุของการฉี่ผิดปกติ ต้นเหตุคือ ก้อนนิ่วในไต ในกระเพาะปัสสาวะหรือในท่อปัสสาวะ ถ้าเรียกเป็นภาษาแพทย์ก็ว่า “RENAL CALCULUS” ถ้ามีก้อนเดียวเป็น CALCULUS แต่ถ้ามีหลายก้อนก็เป็น RENAL CALCULI 

keyboard_arrow_up