ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง คือ ผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป แต่หากวัดความดันโลหิตเมื่ออยู่ที่บ้านค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน 135/85 มิลลิเมตรปรอท
ซึ่งสำหรับคนปกติแล้วจะมีค่าความดันโลหิตประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าหากวัดค่าความดันโลหิตได้สูง 1 ครั้ง ควรวัดซ้ำเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เพื่อวินิจฉัยให้แน่นอนว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่
สัญญาณและอาการแทรกซ้อน โรคความดันโลหิตสูง
กรมสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค อธิบายว่า หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นระยะเวลานาน ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที จะมีอาการปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หายใจลำบาก และหัวใจเต้นผิดปกติ
หากมีภาวะความดันโลหิตสูงแล้วไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ เป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ หลอดเลือดแดงในตาเสื่อม ตามัว ตาบอด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง
ใครบ้างเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
กรมสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคได้ให้รายละเอียดโรคความดันโลหิตสูงและสาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เช่น มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม กินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง (เช่น ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องดื่มเกลือแร่) การสูบบุหรี่ การขาดออกกาลังกาย การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย มีภาวะอ้วน มีภาวะเครียดสะสม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีอายุที่มากขึ้น รวมไปถึงมีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้มีโอกาสต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น
ผอม ใครบอกไม่เสี่ยงป่วย สารพัดโรคร้ายที่คนผอมก็เป็นได้
ผอม ใครบอกไม่เสี่ยงป่วย สารพัดโรคร้ายที่คนผอมก็เป็นได้ คุณเป็นคนหนึ่งที่รูปร่าง ผอม แต่กลับมีโรครุมเร้าอยู่หรือไม่ เพราะคนที่มีน้ำหนักน้อยอาจพบว่ามีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และกระดุกพรุนได้เช่นกัน สาเหตุของความผอม องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกาย เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน เกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วนได้ ในผู้ใหญ่ชาวเอเชียที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากมีค่า BMI 18.5 – 22.90 แสดงว่า น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากน้อยกว่า 18.5 แสดงว่า อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอม ผู้มีภาวะผอม อาจมีสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น -พันธุกรรม บางคนมีค่าดัชนีมวลกายต่ำตามธรรมชาติ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพภายในครอบครัว -เมตาบอลิซึมสูง การมีระบบเผาผลาญพลังงานสูงอาจเป็นสาเหตุของความผอม -การออกกำลังกายเป็นประจำ นักกีฬาหรือผู้ที่ทำกิจกรรมทางกายภาพในระดับสูง เช่น นักวิ่ง -โรคทางกายหรือโรคเรื้อรัง เช่น มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน -ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคอะนอเร็กเซีย (anorexia) […]
เช็กอาการเสี่ยง! “หัวใจล้มเหลว” หอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
การดูแลหัวใจของตัวเองและคนรอบข้างเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่อยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ลดความดันโลหิตสูง ด้วยวิธีธรรมชาติ
ลดความดันโลหิตสูง ด้วยวิธีธรรมชาติ พูดถึง ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญขณะไปตรวจรักษาโรคอย่างอื่น บางรายที่มี ความดันโลหิตสูง มากๆ มักมีอาการปวดทั่วศีรษะ ปวดที่ท้ายทอย หรือวิงเวียนศีรษะร่วมด้วยได้ และผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตสูงนานๆ อาจมาด้วยภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงได้ เช่น อาการหัวใจวายเฉียบพลัน, ไตวาย, เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ หากกลัวว่ามัจจุราชเงียบจะเข้าคุกคามทำลายชีวิตต้องรีบป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ และสำหรับผู้ป่วยที่กำลังเอาชนะโรคร้ายนี้อยู่ วิธีธรรมชาติต่อไปนี้ จะช่วยให้โรคความดันโลหิตสูงทุเลาลง ลดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อน และอาจสามารถหยุดใช้ยาที่มีผลข้างเคียงมากๆ ได้ในที่สุด โรคนี้พบได้มากขึ้นตามอายุ และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่า ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก 1 ใน 3 คน มีความดันโลหิต-สูง ทำให้ความดันโลหิตที่สูงถือเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย และภาวะไตวายเรื้อรัง พบว่าความเสี่ยงเหล่านี้ สูงขึ้นตามระดับของความดันโลหิต ยิ่งระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ก็ยิ่งสูงขึ้นด้วย แต่เมื่อมีการควบคุมความดันโลหิตให้ดี จะพบว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเหล่านี้ได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เช่น รับประทานอาหารเค็ม รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ดื่มแอกอฮอล์มาก […]
แนะนำ 6 จุด นวดลดความดัน สไตล์แพทย์แผนจีน
แนะนำ 6 จุด นวดลดความดัน ตามแบบฉบับแพทย์แผนจีน วันนี้เรามาแนะนำ 6 จุด นวดลดความดัน ที่อ้างอิงมาจากตำราแพทย์แผนจีน ใช้สำหรับกดนวด รวมไปถึงการฝังเข็ม พร้อมวิธีนวดและคำแนะนำง่ายๆ ที่สามารถไปทำตามกันได้ มาดูกันเลยค่ะ ความดันโลหิต กับแพทย์แผนจีน ความดันโลหิตสูงในทางการแพทย์แผนจีน คือ การที่ความดันในหลอดเลือดแดง มีความดันตัวบนมากกว่าหรือเท่ากับ 140 mmHg และ /หรือ ความดันตัวล่าง มากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg โดยการวัดซ้ำ 2 ครั้ง หรือมากกว่า มีอาการแสดงดังนี้ ปวดศรีษะ เวียนศรีษะ นอนไม่หลับ ชีพจรตึง มักเกิดจากลม ไฟ เสมหะ ความพร่อง และติดขัด หากต้นทุนก่อกำเนิดไม่เพียงพอ เลือดน้อย ประกอบกับการใช้ชีวิตที่มักมีอารมณ์ไม่ดี อาหาร และที่พักไม่เหมาะสม จะก่อให้เกิดการติดขัดของเสมหะในเส้นเลือด ทำให้เกิดความดันสูง จุดนวด/ฝังเข็มลดความดันโลหิต ไป่ฮุ่ย : จุดกลางศีรษะด้านบน อิ้นถัง […]
กินลดความดันโลหิตสูง หากินง่าย ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก
กินลดความดันโลหิตสูง หากินง่าย ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก กินลดความดันโลหิตสูง ต้องกินอะไร และกินอย่างไรดี วันนี้เรามีคำตอบ ซึ่งบอกเลยว่า ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพราะพืช ผัก สมุนไพร ใกล้ตัวเรานั้นช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ข้อมูลจากบทความเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยเทคนิคการแพทย์ผสมผสาน” โดยสำนักการแพทย์ทางเลือก กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข แนะนำ ผักและสมุนไพรใกล้ตัวที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับนำมาใช้ปรุงอาหารในชีวิตประจำไว้อย่างหลากหลาย เป็นตัวเลือกเพื่อสุขภาพชั้นดี ดังนี้ 1. ขึ้นฉ่าย มีฤทธิ์เย็น ขับปัสสาวะ ลดบวม ลดความดันโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ต้านการอักเสบ ขับประจำเดือน แนะนำให้ใช้ปรุงอาหาร เช่น ใส่ในแกงจืด สุกี้ หรือผัด ปลาใส่ขึ้นฉ่ายและขิง วันละไม่เกิน 4 ต้น 2.กระเทียม ช่วยฆ่าเชื้อโรค บำรุงหัวใจ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการเส้นเลือดตีบ ลดระดับคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตได้นำกระเทียมสดมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ใส่ในผัดผัก ตำกับรากผักชีและพริกไทยใช้ปรุงน้ำแกง ใส่ในยำหรือน้ำพริก 3. […]
ชวนรู้จัก ความดันโลหิตสูงแฝง แม้ตอนนี้ไม่เป็นไร วันข้างหน้าอาจไม่โอเค
ความดันโลหิตสูงแฝง อีกหนึ่งภาวะที่ไม่ควรมองข้าม ความดันโลหิตสูงแฝง (Prehypertension) คือช่วงความดันโลหิตที่มากกว่าปกติแต่น้อยกว่าเกณฑ์ความดันโลหิตสูง ซึ่งส่วนใหญ่คนมักไม่ค่อยรู้สึกตื่นตัวหรือตระหนักในความไม่ปกตินี้เท่าไร เพราะค่าความดันยังไม่ถึง 140/90 แต่นั่นแหละค่ะ ความจริงแล้ว ความดันโลหิตแฝง เป็นเหมือนสัญญาณสุขภาพที่อาจนำไปสู่ โรคความดันโลหิตสูง ได้เลย ความดันเท่าไร จึงเรียกว่า ความดันโลหิตสูงแฝง สำหรับความดันโลหิตสูงแฝง ช่วงความดันโลหิตจะมากกว่าปกติแต่น้อยกว่าเกณฑ์ความดันโลหิตสูง (130/85-139/89) แล้วมันจะเป็นอะไรไหม เป็นเหมือนสารเตือนภัย แต่ยังกลับตัวกลับใจทัน ก่อนจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงขึ้นมาจริงๆ เมื่อวัดความดันโลหิตแล้ว พบว่าอยู่ในเกณฑ์ความดันโลหิตสูงแฝง ให้วัดซ้ำอีก 3 ครั้งใน 1 วัน เพื่อยืนยัน (120/80 คือเกณฑ์ความดันโลหิตปกติ และ 140/90 คือเกณฑ์ความดันโลหิตสูง) แต่สำหรับบางคนที่สูงอายุมากหรือมีโรคแทรกซ้อนที่เป็นอยู่ก่อน จะมีเกณฑ์ของค่าความดันโลหิตปกติคือ -ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง <140/90 มม.ปรอท -ผู้ที่อายุมากกว่า 60-80 ปี <140-150/90 มม.ปรอท -ผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป <150/90 มม.ปรอท บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ […]
เหตุผลดีๆ ของการมีเครื่องวัดความดันติดบ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว
เหตุผลดีๆ ของการมีเครื่องวัดความดันติดบ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว ยุคสมัยนี้ มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกเรื่องสุขภาพมากมาย ที่ใครๆ ก็สามารถซื้อติดบ้านเอาไว้กำกับสุขภาพของคนในครอบครัวได้ ไม่ว่าจะเป็น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดระดับน้ำตาล และที่สำคัญมากๆ ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ นั่นก็คือ เครื่องวัดความดันโลหิต นั่นเอง ทำไมการวัดความดันจึงสำคัญ ความดันโลหิตนั้นสามารถบ่งบอกได้ถึงสัญญาณสุขภาพหลายอย่าง ข้อมูลจากบทความเผยแพร่ความรู้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านและไม่มีอาการเตือน ยิ่งเป็นผู้สูงอายุ ยิ่งควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับการวัดความดันโลหิตดังนั้นควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ติดบ้านเพื่อตรวจเช็กความดันโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ การวัดไม่ถูกวิธีอาจทำให้ผลคลาดเคลื่อน ข้อควรระวังในการวัดความดันโลหิตเองที่บ้าน คือเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้นั้น ต้องเชื่อถือได้และการวัดต้องทำอย่างถูกวิธี โดยข้อแนะนำในการวัดความดันให้ได้ค่าที่ถูกต้อง คือ นั่งพักอย่างน้อย 5 นาทีก่อนทำการวัด วัดในท่านั่ง วางแขนบนโต๊ะ เท้าวางราบกับพื้น หลังพิงพนัก ไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่พูดคุยหรือเล่นโทรศัพท์มือถือขณะวัด ไม่ดื่มชาหรือกาแฟและไม่สูบบุหรี่ก่อนทำการวัดย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการปวดปัสสาวะควรปัสสาวะก่อน ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยในการวัดความดันที่ต้นแขนก็คือ การใส่ผ้าพันไม่ถูกตำแหน่ง […]
ความดันโลหิตสูงตัวการความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ
ใครเคยลองถามคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย หรือคนสูงอายุที่รู้จักเกี่ยวกับโรคประจำตัวกันบ้างมั้ยคะ ซึ่งหนึ่งโรคที่ต้องไม่พลาดแน่ๆ ที่จะเป็นคำตอบแรกๆ เพราะคนสูงวัยแทบจะเป็นกันทุกคน ด้วยวัย ด้วยการใช้ชีวิตต่างๆ นั่นก็คือ “โรคความดันโลหิตสูง” นั่นเอง เคยอ่านบทความทางวิชาการพบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุความดันสูงขึ้นก็คือ การเปลี่ยนอริยาบถแบบฉับพลัน หรือเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากการนั่งหรือนอนเป็นการลุกขึ้นยืน ทำให้มีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ หรือบางท่านก็อาจเป็นลมได้ เรียกว่าอันตรายพอตัวเลยล่ะค่ะ วันนี้เราจึงอยากมาพูดกันถึงเรื่องของ “โรคความดันโลหิตสูง” เพื่อให้ผู้สูงวััยได้ประกอบเป็นความรู้เบื้องต้นเอาไว้ เผื่อว่าใครมีอาการนี้อยู่จะได้นำไปปรับใช้เพื่อให้อาการนี้ทุเลาลง หรือคนในวัยอื่นก็สามารถศึกษาเรื่องนี้เอาไว้ได้นะคะ อย่าลืมว่าความดันสูงนั้นเป็นกันได้ทุกคนและทุกวัย! มาทำความรู้จัก…โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่สำคัญมาก โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิต และจะพบว่ามีความดันในระดับที่สูงกว่าปกติ และเป็นเรื้อรังอยู่นาน องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ว่า ผู้ใดก็ตามที่วัดความดันโลหิตแล้วได้ค่ามากกว่า 140 /90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงถ้าไม่รักษาให้ถูกต้องจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดในสมองแตก โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย โรคไตวาย หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นต้น การวัดความดันอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก คนไทยประมาณร้อยละ 20 เป็นโรคความดันโลหิตสูง […]
บ้านที่มีผู้สูงวัยอาศัยอยู่ ควรมี “เครื่องวัดความดันโลหิต” ติดไว้ที่บ้าน!
ปัจจุบัน “ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคเรื้อรังอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยเป็นอันดับ ต้น ๆ และหากคุณมีค่าความดันโลหิตที่สูงเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดในสมองแตก และยังส่งผลไปถึงอาการที่ดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันอย่าง โรคไตเรื้อรัง หรืออาการจอตาเสื่อมได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า เครื่องวัดความดันโลหิต หรือที่วัดความดัน เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ทุกครัวเรือนควรมีติดตั้งไว้ เพราะการวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องงที่ผั้ป่วยความดันโลหิตสูงจะต้องทำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากในครอบครัวของคุณมีผู้สูงอายุอาศัยร่วมอยู่ด้วย คุณหมอมักจะสั่งให้ผู้ป่วยซื้อเครื่องวัดความดันติดบ้านไว้ และจดค่าความดันในทุกๆ เช้า เพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสม ดังนั้น วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเจ้าอุปกรณ์ชิ้นสำคัญ ที่ควรมีติดบ้านเอาไว้ ไปดูกันค่ะว่าเครื่องมือชิ้นนี้ที่เรียกว่าเครื่องวัดความดัน มีประโยชน์ควรค่าแก่การซื้อหามาเก็บไว้หรือไม่ “เครื่องวัดความดันโลหิต” จำเป็นแค่ไหน? จากการรวบรวมข้อมูลที่ทาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำข้อมูลเผยแพร่อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เกี่ยวกับเรื่องของ “เครื่องวัดความดันโลหิต” เอาไว้ว่า เครื่องวัดความดัน หรือเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งมีหน้าที่สามารถวัดระดับค่าความดันต่าง ๆ ภายในร่างกายเรานั่นเอง โดยที่ค่าความดันเหล่านี้เราสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมของสุขภาพต่าง ๆ ของเราได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มักจะต้องตรวจเช็คค่าความดันโลหิตอยู่บ่อย ๆ นั่นเอง ทั้งนี้ ความดันโลหิตเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด ความดันจะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว […]
ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง กินอย่างไรให้ถูกวิธี ปลอดภัยชัวร์
วิธีใช้ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เชื่อว่ารอบๆ ข้างของผู้อ่านต้องมีสักคนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และจำเป็นต้องกินยาเพื่อควบคุมอาการ วันนี้ ชีวจิตจึงจะขออ้างอิงข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความรู้เรื่องการกิน ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ค่ะ ว่าด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้แปลว่า ผู้สูงอายุทุกคนต้องเป็นโรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุที่อ้วน มีไขมันในเลือดสูง หรือ สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นโรคนี้มาก ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว จำเป็นต้องได้รับยาลดความดันโลหิต มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาร้ายแรงตามมา ได้แก่ ภาวะหัวใจวาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดสมองแตกเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ ยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มีหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ต่างๆ กันไป เช่น ยาขับปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะมากขึ้น ยาชะลอการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ยาขยายหลอดเลือดทำให้รูของหลอดเลือดกว้างขึ้น เลือดจึงไหลได้ดีขึ้นและมีแรงดันน้อยลง จากยากลุ่มต่างๆ นี้ แพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย มีข้อที่ควรทราบ คือ ยาขับปัสสาวะ ทำให้ผู้ที่รับประทานยานั้นเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติเพราะยาขับปัสสาวะมีฤทธิ์ขับน้ำออกจากหลอดเลือด ทำให้ปริมาตรเลือดในหลอดเลือดลดลง ความดันโลหิตจึงลดลง ขนาดยาโดยทั่วไปคือรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า […]
น้ำตาลในเลือดสูง อยากหยุดยา ทำไงดี
น้ำตาลในเลือดสูง อยากหยุดยา ทำไงดี กรณีตัวอย่างนี้ น้ำตาลในเลือดสูง เป็นคนไข้เพศชายวัย 58 ปี หมอขอให้นามสมมุติว่า “พี่เอ” มีโรคประจำตัวคือโรคความดันโลหิตสูง เข้ามาพบหมอเพื่อปรึกษาเรื่องการหยุดยา โดยนำยามาให้ดู 3 ชนิด คุณหมอ (ร้อยเอกนายแพทย์สุรชา ลีลายุทธการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย) จึงเจาะเลือดหลังกินอาหารประมาณ 8 ชั่วโมง เรียกว่า Fasting Blood Sugar เพื่อดูค่าน้ำตาล ผลค่าน้ำตาลในเลือดประมาณ 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนความดันโลหิตอยู่ประมาณ 130 / 80 หมายความว่า ความดันเกือบเกิน และคนไข้ได้กินยาลดความดันโลหิตติดต่อกันมานาน ส่วนใหญ่คนไข้ลักษณะนี้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 70 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เบื้องต้นหมอมักจะให้ยาลดน้ำตาลในเลือดไปกินแล้วติดตามดูผลเป็นระยะ ส่วนเคสพี่เอนี้หมอยังให้กินยาทุกชนิดต่อเนื่องก่อน และอธิบายเพิ่มเติมว่า โรคเบาหวานนั้นเกิดจากไลฟ์สไตล์ผิด การกินอาหารผิดไม่ออกกำลังกาย และมีน้ำหนักตัวเกิน เพราะค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เหมาะสมสำหรับผู้ชายวัยนี้ควรเป็น 28 โดยให้โจทย์คนไข้กลับไปว่า ถ้าไม่อยากกินยาต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพื่อให้ค่าน้ำตาลในเลือดลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 105 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร […]
กินข้าวขาว อาจช่วยลดความดันโลหิต จริงหรือมั่ว
ข้าวขาวส่งผลต่อ ความดันโลหิต หรือไม่ ผู้อ่านสายสุขภาพทุกคนคงรู้ว่า ข้าวขาวคือข้าวที่ให้พลังงานเป็นหลัก แทบไม่มีคุณค่าทางโภชนาการอื่นๆ แถมค่าดัชนีน้ำตาลค่อนข้างสูง กินแล้วอิ่มได้ไม่นาน ต่างจากข้าวไม่ขัดสีเช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ที่มีใยอาหาร วิตามินแร่ธาตุ ดัชนีน้ำตาลต่ำ อิ่มนาน น้ำตาลในเลือดไม่แกว่ง ดีต่อสุขภาพมากกว่า นอกจากเรื่องเหล่านี้ การเลือกกินข้าว อาจส่งผลต่อ ความดันโลหิต ได้เช่นกัน เรื่องจริง เกี่ยวกับความดันโลหิตสูงและข้าวขาว ในคนอเมริกัน 3 คน จะมี 1 คน ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง อ้างอิงจาก Centers for Disease Control and Prevention (กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา) อาการความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดในสมองและโรคหัวใจ ซึ่งเราอาจควบคุมระดับความดันโลหิตได้ด้วยการควบคุมอาหารการกิน อาหารบางอย่างช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ดีโดดเด่นกว่าอย่างอื่น ข้าวขาวนั้นไม่ใช่อะไรที่ดีที่สุด แต่อาจไม่แย่เท่าไรในบางกรณี ถึงอย่างไรก็ดี คุณไม่ควรกินอาหารเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยหยุดการกินยาตามแพทย์สั่งไปเลย พลังงาน ข้าวขาว ให้พลังงาน 169 แคลอรี่ ต่อหนึ่งถ้วย จำนวนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 9 […]
ปวดหัวจังเลย! อาการปวดศีรษะ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือไมเกรน
นพ.วิวัฒน์ วิริยกิจจา ขอเล่ากรณีศึกษาเรื่อง อาการปวดศีรษะ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือไมเกรน เรื่องราวเป้นอย่างไร ติดตามต่อได้
Detox Recipe: แก้โรคเรื้อรัง
Detox Recipe: แก้โรคเรื้อรัง แก้โรคเรื้อรัง ได้ด้วยตัวเองจริงหรอ ? โรคเรื้อรัง หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของเราเป็นส่วนใหญ่ เช่น การกินอาหารขยะ จั๊งฟู้ด พฤติกรรมขี้เกียจ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ฯลฯ ล้วนทำให้เกิดโรคเหล่านี้ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันเลือดสูง โรคหัวและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ฯลฯ ชีวจิตออนไลน์ เราขอรวบตึงสูตร 3 สูตรแก้ โรคเรื้อรัง โดยกูรูชีวจิต พท.ป. ชารีฟ หลีอรัญ สำหรับแก้โรคอ้วน โรคความดันโลหิสูง และโรคไขมันในเลือดสูง มาฝากจ้า รีบแชร์ รีบจดสูตรกันไปได้เลย Detox Recipe: ตรีผลา ลดอ้วน อ่านเพิ่มเติม: บอกลายาลดอ้วน แล้วลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ กินน้ำลดอ้วน นาฬิกาชีวิต ปรับสิ พิชิตอ้วน Detox Recipe: สลัดกระเจี๊ยบมอญ ลดไขมัน […]
มหัศจรรย์ลูกเกด เลือกอย่างไร กินแบบไหน ลดความดันโลหิตสูง
ลูกเกดช่วย ลดความดันโลหิตสูง ได้ ขณะพลิกดูในหนังสือ อาหารชีวจิต ตำรับ ดร.สาทิส - ฉินโฉมอินทรกำแหง สำนักพิมพ์อมรินทร์ CUISINE เกิดสะดุดตาเข้ากับเมนูถั่วกินเล่นซึ่งมีลูกเกดเป็นหนึ่งในส่วนผสม
รวมเทคนิคบอกลายาลดความดัน รับมือความดันโลหิตสูงด้วยตัวเอง
รวมวิธีบอกลา ยาลดความดัน พร้อมรับมือความดันโลหิตสูงด้วยตัวเอง วันนี้ เรามีข้อมูลน่าสนใจ เกี่ยวกับการรับมือโรคความดันโลหิตสูง พร้อมวิธีดูแลตนเองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อบอกลา ยาลดความดัน มาฝากกันค่ะ ปฏิบัติการบอกลายาลดความดัน “คุณไม่ควรจะต้องกินยาลดความดันไปตลอดชีวิต” นายแพทย์วิวัฒน์ วิริยกิจจา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ท่านว่าอย่างนั้น กูรูสุขภาพหลายท่านก็สนับสนุนแนวคิดนี้ เช่น อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง อธิบายว่า “ยาส่วนมากที่หมอเขาให้คือ ยาลดความดันโลหิต ซึ่งไม่ใช่ยารักษา แต่เป็นยาคุมอาการ พอหยุดกินยาความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นอีก เป็นการแก้เฉพาะปลายเหตุ” ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี บอกข้อดีของการไม่กินยาว่า 1. ผู้ป่วยจะดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข เพราะไม่ต้องรับทุกข์จากผลข้างเคียงของยา 2. ทำให้สิ้นเปลืองน้อยมาก เพราะไม่ต้องซื้อยาหรือต้องเจาะเลือดตรวจพิเศษบ่อยครั้ง 3. ผู้ป่วยมีโอกาสได้ดูแลสุขภาพของตัวเอง ทำให้มีขวัญและกำลังใจมากกว่าการกินยาตามแพทย์สั่ง ถ้าไม่กินยาแล้วจะคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติได้อย่างไร เรามีปฏิบัติการบอกลายาลดความดันมาเล่าสู่กันฟังค่ะ Step 1 หยุดพฤติกรรมทำป่วย อาจารย์สาทิสอธิบายว่า ต้นเหตุของโรคความดันโลหิตสูง (โดยเฉพาะผู้มีน้ำหนักมาก) มักจะเกิดจากมีคอเลสเตอรอลสูง ฉะนั้น แนะนำให้แก้ที่ต้นเหตุ คือ หยุดกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น […]
ถาม-ตอบ ชวนวัดความดันโลหิต พร้อมวิธีอ่านค่าได้ด้วยตนเอง
ถาม-ตอบ ข้อสงสัย วัดความดันโลหิต สูงต่ำจะดูอย่างไร หลายคนคงมีคำถามเกี่ยวกับการ วัดความดันโลหิต ว่าจะอ่านค่าตัวเลขที่แสดงผลบนหน้าจออย่างไร เลขบนล่างบอกอะไร ค่าเท่าไรจึงจะเรียกว่าความดันโลหิตสูงหรือต่ำ วันนี้เรามีคำตอบ ต่อไปนี้ก็ดูตัวเลขให้เป็น ทุกครั้งที่วัดความดันโลหิต เราจะรู้เพียงตัวเลข แต่คุณผู้อ่านเคยอยากรู้ต่อไปไหมคะว่า ตัวเลขเหล่านั้นบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพของเราบ้าง Q: เมื่อไหร่จึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง A: เมื่อความดันโลหิตเกิน 120 / 75 จัดว่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อความดันโลหิตเกิน 140 / 90 อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว เมื่อความดันโลหิตเกิน 160 / 100 ถือว่าอันตราย Q: ตัวเลขความดันโลหิตตัวบนหรือตัวล่างสำคัญกว่ากัน A: สำคัญเท่ากัน โดยตัวแรกคือค่า systolic เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ค่าหลังคือ diastolic เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัวค่า systolic สามารถประเมินถึงความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจ ไต และประเมินประสิทธิภาพการไหลเวียนเลือดของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ส่วนค่า diastolic เป็นตัวสำคัญที่จะบ่งบอกถึงปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือด Q: ถ้าเป็นคนสุขภาพไม่แข็งแรงอยู่เดิม เกณฑ์การเฝ้าระวังความดันโลหิตสูงเหมือนคนทั่วไปหรือไม่ A: […]
สูตรเครื่องดื่ม สมุนไพรลดความดันโลหิต จากแพทย์พื้นบ้าน
สมุนไพรลดความดันโลหิต สู่สูตรเครื่องดื่มทำง่ายจากแพทย์พื้นบ้าน วันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอ สูตรเครื่องดื่ม สมุนไพรลดความดันโลหิต โดยคัดเอาตัวที่มีสรรพคุณช่วยลดความดัน โดยแพทย์พื้นบ้าน นายบุญยืน ผ่องแผ้ว หรือ หมอน้อย อดีตคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิตนั่นเอง ลดความดันโลหิต ด้วยยาไทยใกล้ตัว หนุ่ม ๆ สาวๆ ที่เคยเดินออกไปกลางแดด พอกลับเข้ามาที่ร่มแล้วรู้สึกตาฝ้าฟาง ใจเต้นหวิวๆ บางทีปวดศีรษะจี๊ด ๆ ต้องระวังสุขภาพหน่อย เพราะความผิดปกตินี้เป็นอาการเบื้องต้นของความดันโลหิตสูง โรคนี้ถ้าเป็นคนสมัยโบราณเขาเรียกว่า “ลมขึ้นเบื้องสูง” หมายถึงว่า ธาตุลมในตัวดันเลือดจากเท้าขึ้นไปบนกระหม่อม ทำให้ปวดศีรษะ หมดเรี่ยวหมดแรง หูตาฝ้าฟาง จะว่าไป ปู่ย่าตายายเป็นโรคนี้น้อยถ้าเทียบกับหนุ่มสาวสมัยนี้ เพราะอะไรน่ะหรือ เห็นง่ายๆ ทุกวันนี้เราไม่ค่อยหุงข้าวกินกัน กินอาหารสะดวกซื้อ ไม่ค่อยใช้สอยร่างกายให้ออกแรง และยังอยู่ในห้องแอร์ที่อากาศเย็น เป็นอยู่อย่างนี้เลยทำให้เลือดข้นและหนืด มีไขมันสะสมในเส้นเลือดมาก หรือเรียกว่า มีคอเลสเตอรอลสูงนั่นแหละ เป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง วิเคราะห์อาการ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เวลามีคนไข้มาหา ฉันจะให้แลบลิ้นออกมา ถ้าเป็นความดันโลหิตสูงจากคอเลสเตอรอล สังเกตง่ายๆ โคนลิ้นจะมีตุ่มกลมเล็กๆ แต่ถ้าเป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย ตุ่มที่โคนลิ้นจะมีปลายยอดแหลมคล้ายหนามของลูกฟักข้าว จับชีพจรจะเต้นเร็ว อีกอย่างที่สังเกตเห็นง่ายๆคือ จะมีเส้นเลือดสีแดงยาวในลูกตาทั้งสองข้าง […]