ความดันสูง
ความดันสูง
ความดันสูง หรือ ความดันโลหิตสูง คือ ผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป แต่หากวัดความดันโลหิตเมื่ออยู่ที่บ้านค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน 135/85 มิลลิเมตรปรอท
5 โรค ที่เกิดขึ้นจากภาวะ ดื้ออินซูลิน
5 โรคร้าย จากภาวะ ดื้ออินซูลิน ก่อนที่เราจะไปรู้ว่าถ้าร่างกายเกิดดื้ออินซูลิน จะเกิดโรคอะไรขึ้นมานั้น เราไปทำความเข้าใจกับอาการนี้กันก่อนค่ะ ดื้ออินซูลินคือภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ทำให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินมากกว่าปกติ โดยภาวะดื้ออินซูลินนี้มักเกิดเพราะ พันธุกรรม โรคอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย ส่วนจะทำให้เกิดอโรคอะไรบ้างนั้น มาดูกันค่ะ โรคเบาหวานจากภาระดื้ออินซูลิน มักเกิดขึ้นช้าๆ โดยในระยะแรกเมื่อเกิดภาวะดื้ออินซูลินตับอ่อนจะสังเคราะห์และหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น เมื่อผ่านไปเป็นเวลานานหลายปีตับอ่อนจะอ่อนล้าและทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงและไม่เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเป็นเบาหวานในที่สุด และหากไม่สามารถคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ต่อไปเรื่อยๆ จะส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานรุนแรง โรคความดันโลหิตสูงจากภาวะดื้ออินซูลิน เมื่อระดับอินซูลินสูงขึ้นจะไปกระตุ้นให้ไตดูดโซเดียมกลับมามากขึ้น และทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติไวต่อการกระตุ้น การหมุนเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงฝอยที่กล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น โรคไขมันในเลือดสูงจากภาวะดื้ออินซูลิน ความผิดปกติของไขมันที่พบบ่อยในคนอ้วนคือ ระดับไตรกลีเซอไรด์ หรือระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น แต่ระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-C) ต่ำลง เพราะตับนำกรดไขมันอิสระไปสร้างเป็นอณูไขมันเพิ่มขึ้นแล้วปล่อยเข้ากระแสเลือด ภาวะดื้ออินซูลินยังทำให้เอนไซม์ที่ย่อยสลายไขมันทำงานลดลงด้วย จนส่งผลให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง เมื่อมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จึงเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตัน โรคไขมันสะสมในตับ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease : NAFLD) เพราะมีการเคลื่อนย้ายกรดไขมันอิสระส่งไปที่ตับมากขึ้น เกิดการสะสมในรูปไตรกลีเซอไรด์ อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบที่เซลล์ตับและกระตุ้น Stellate Cell นำไปสู่การเกิดพังผืดในตับ เกิดภาวะตับแข็ง และอาจเกิดมะเร็งตับได้ในที่สุด กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome […]
ความดันต่ำ ถึงไม่ใช่โรคแต่ก็ไม่ควรละเลย
ความดันต่ำ ถึงไม่ใช่โรคแต่ก็ไม่ควรละเลย ความดันโลหิตต่ำ หรือที่เราชอบพูดกันว่า ความดันต่ำ แม้ไม่ถือไม่เป็นโรคร้ายแรงเหมือนกลุ่มความดันสูง แต่ก็มีอาการที่ทำให้หงุดหงิดและปวดหัว ได้อยู่เหมือนกัน วันนี้เรามาทำความรู้จักอาการนี้กันค่ะ ความดันต่ำ นอกจากจะทำให้เบลอๆ อ๋องๆ ตอนตื่นนอนแล้ว ยังทำให้ปวดหัว อาเจียน และบางคนก็ร้ายแรงถึงขนาดที่ต้องไปหาหมอเลยนะคะ ซึ่งค่าความดันที่ถือว่าต่ำนั้นจะอยู่ที่ 90/60 มิลลิเมตรปรอท สาเหตุของอาการความดันต่ำเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ผลข้างเคียงของยาบางชนิด สุขภาพส่วนตัว การเปลี่ยนท่าทางที่เร็วเกินไป จนร่างกายส่งโลหิตไปเลี้ยงไม่ทัน สำหรับอาการที่บ่งบอกว่าความดันโลหิตต่ำ นั้นก็มีได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น อ่อนเพลีย มึนงง มองภาพเบลอ ปวดคอ ปวดหลัง ใจสั่น อาเจียน หายใจถี่ เป็นลม เวียนหัว หน้ามืด แต่หากถามว่าความดันโลหิตต่ำนั้นเป็นอันตรายไหม โดยส่วนใหญ่ก็คงไม่ เนื่องจากไม่ใช่อาการเรื้อรังที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขร้ายแรงอื่นๆ แตกต่างจากความดันโลหิตสูงที่เป็นทั้งโรคเรื้อรัง และอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น เส้นโลหิตแตก ความดันต่ำบรรเทาได้ การดื่มน้ำมากๆ ป้องกันการขาดน้ำ ลดความหนืดของเลือด ทำให้สูบฉีดได้ดีขึ้น สังเกตตัวเองแล้วพบว่ามักปวดหัวขณะเปลี่ยนท่าทาง ก็ควรปรับพฤติกรรม ให้เปลี่ยนท่าทางช้าลง ถ้าใครสงสัยว่ายาบางตัวที่กินอยู่ส่งผลต่อความดัน อันนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ […]
เพราะอะไร เราจึงควรกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
เพราะอะไร เราจึงควรกิน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เชื่อว่าใครหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น มีคุณประโยชน์มากมาย แต่การกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นก็ใช่ว่าจะกินได้ง่ายๆ จึงต้องมีสูตรในการกินต่างๆ นานา มากมาย เพื่อช่วยทำให้เรากินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นได้ง่ายขึ้น วันนี้ Goodlifeupdate ขอแชร์คุณสมบัติดีๆของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และวิธีกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ง่าย ขั้นตอนเดียวจบ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำมันมะพร้าว คือการที่เรานำเนื้อมะพร้าวมาสกัดเพื่อให้ได้น้ำมันของมันออกมา หรือจะเป็นการต้มเนื้อมะพร้าวจนกลายเป็นไขมัน ซึ่งเราเรียกว่า “ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สายยาวปานกลาง” ที่จะทำให้เราได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ หรือ Virgin Coconut Oil เมื่อร่างกายของเราได้รับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเข้าไป ก็จะช่วยในเรื่องของระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ตัวน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล บำรุงหัวใจให้แข็งแง และควบคุมการทำงานของความดันโลหิตอีกด้วย จึงทำให้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่ได้รับความนิยมสูง แต่ก็ใช่ว่าการกินน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นนั้นจะง่ายหรืออร่อยเสมอไป เพราะอาจจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นที่ทำให้กลืนได้ยาก เพราะอะไรเราจึงควรเลือก NBL – Coconut Oil 1000 MG 60 แคปซูล น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ขนาด 1000 MG ที่ส่งตรงจากออสเตรเลียของ NBL เป็นซอฟเจลเม็ดใส ที่ทานง่าย กลิ่นหอม เพียงแค่รับประทานวันละ […]
ปรับพฤติกรรม ลดความดันสูง ด้วยวิธีธรรมชาติ
ปรับพฤติกรรม ลดความดันสูง ด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่มีใครอยากเป็นความดันโลหิตสูง แตาเมื่อเป็นแล้วเราจะเตรียมรับมือกับอาการนี้อย่างไร ฉบับนี้ หมอมีกรณีตัวอย่างเป็นคนไข้เพศชาย อายุประมาณ 62 ปี มีภาวะไขมันในเลือดสูง ผลตรวจเลือดคือ ไขมัน LDL และความดันโลหิตสูงเกินมาตรฐาน ต้องการ ลดความดันสูง ด้วยวิธีธรรมชาติ คนไข้เข้ารับการรักษาอยู่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งมาประมาณ 5 ปี และกินยาลดความดันร่วมกับยาลดไขมันในเลือดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มยาสตาตินจะออกฤทธิ์ลดไขมันในเลือดได้โดยตรง ไลฟ์ไตล์ของคนไข้กรณีตัวอย่าง ทำงานเช้าเลิกเย็น นอนดึก พักผ่อนน้อย แถมยังไม่ออกกำลังกาย เมื่อมาพบหมอเจาะเลือดตรวจฮอร์โมนและให้เข้าโปรแกรมการรักษาแบบ Anti Aging เสริมกับการกินยาลดไขมันในเลือดเป็นเวลา 60 วัน โรคความดันโลหิตสูง (High Blood Pressure) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบบริเวณหลอดเลือด ประกอบกับมีภาวะไขมันในเลือดสูงสะสมเป็นเวลานาน หรือบางรายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมด้วย เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายอักเสบ ความดันจะตอบสนองอย่างรวดเร็ว โดยสูบฉีดสูง มีความผิดปกติที่ จอตา มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง เหนื่อยง่าย อาการมึนงง บางรายรุนแรงถึงขั้นเลือดกำเดาออก ทางการแพทย์วิเคราะห์ว่า ภาวะความดันโลหิตสูงมาจากการอักเสบบริเวณหลอดเลือด ถ้าลดการอักเสบในเส้นเลือดลงได้ ความดันก็ลดลงได้ตามธรรมชาติ […]
7 ผัก สมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิตสูง คุณค่าที่ควรปลูกไว้ติดบ้าน
ผัก สมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิตสูง ผัก สมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะ สมุนไพร ของไทยที่มีมากมายหลายชนิดให้เลือกกิน ข้อมูลจากบทความเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยเทคนิคการแพทย์ผสมผสาน” โดยสำนักการแพทย์ทางเลือก กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข แนะนำผักและสมุนไพรใกล้ตัวที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับนำมาใช้ปรุงอาหารในชีวิตประจำไว้อย่างหลากหลาย เป็นตัวเลือกเพื่อสุขภาพชั้นดีจำนวน 7 ชนิด ดังนี้ 1.กระเทียม ช่วยฆ่าเชื้อโรค บำรุงหัวใจ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการเส้นเลือดตีบ ลดระดับคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตได้นำกระเทียมสดมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ใส่ในผัดผัก ตำกับรากผักชีและพริกไทยใช้ปรุงน้ำแกง ใส่ในยำหรือน้ำพริก 2. กระเจี๊ยบแดง กลีบเลี้ยงหรือดอกมีสารสีแดงชื่อแอนโทไซยานิน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานของหลอดเลือดแดง มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับยูริค ช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยนำมาต้มเป็นชาสมุนไพร ดื่มวันละ 2 – 3 แก้ว ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในผู้ป่วยเป็นโรคไต เพราะกระเจี๊ยบมีโพแทสเซียมสูง 3. ขึ้นฉ่าย มีฤทธิ์เย็น ขับปัสสาวะ ลดบวม ลดความดันโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว […]
เมื่อต้องทำงานดึก ป้องกันก่อนเกิด ความดันโลหิตสูง ด้วยเคล็ดไม่ลับ ฉบับ “4 อ.”
ความดันโลหิตสูง อันตรายถึงชีวิต เมื่อมีงานค้างคา งานเยอะ งานเร่งด่วน หลายคนจำเป็นต้องทำงานดึกๆ เพื่อสะสางงานให้สำเร็จ และสิ่งที่ตามมาคือ ความดันโลหิตสูง โรคร้ายที่มักมาพร้อมกับพฤติกรรมผิดๆ เวลาทำงานดึก โรคนี้อาจนำไปสู่ภาวะที่ร้ายแรงที่สุดถึงขนาดก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันซึ่งทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ด้วยปัจจัยเสี่ยง อาทิ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ความเครียด หรือแม้แต่ความตื่นเต้นที่มากเกินไป ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และวิธีรับมือกับโรคนี้แบบไม่ต้องใช้ยาด้วย เคล็ดไม่ลับ ฉบับ “4 อ.” 4 อ. ป้องกัน ความดันโลหิตสูง “อ อาหาร” : ทำงานดึกๆ อะไรจะดีไปกว่า พิซซ่า ขนมถุง หรือแม้กระทั่งอาหารอุ่นไมโครเวฟ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น รับประทานง่าย พิษเหลือร้าย เพราะเราควรรับประทานเกลือโซเดียมไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน (ประมาณ 2/3 ช้อนชา) ระวังอาหารที่มีเกลือแฝงสูงเช่น ผงชูรส ไส้กรอก ลูกชิ้น น้ำแกง อาหารแช่แข็ง ควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนบริโภคทุกครั้ง ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง […]
Detox Recipe: แก้โรคเรื้อรัง
Detox Recipe: แก้โรคเรื้อรัง แก้โรคเรื้อรัง ได้ด้วยตัวเองจริงหรอ ? โรคเรื้อรัง หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของเราเป็นส่วนใหญ่ เช่น การกินอาหารขยะ จั๊งฟู้ด พฤติกรรมขี้เกียจ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ฯลฯ ล้วนทำให้เกิดโรคเหล่านี้ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันเลือดสูง โรคหัวและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ฯลฯ ชีวจิตออนไลน์ เราขอรวบตึงสูตร 3 สูตรแก้ โรคเรื้อรัง โดยกูรูชีวจิต พท.ป. ชารีฟ หลีอรัญ สำหรับแก้โรคอ้วน โรคความดันโลหิสูง และโรคไขมันในเลือดสูง มาฝากจ้า รีบแชร์ รีบจดสูตรกันไปได้เลย Detox Recipe: ตรีผลา ลดอ้วน อ่านเพิ่มเติม: บอกลายาลดอ้วน แล้วลดน้ำหนักด้วยวิธีธรรมชาติ กินน้ำลดอ้วน นาฬิกาชีวิต ปรับสิ พิชิตอ้วน Detox Recipe: สลัดกระเจี๊ยบมอญ ลดไขมัน […]
สูตรต้านความดันโลหิตสูง แนะนำโดยแพทย์แผนจีน
สูตรต้านความดันโลหิตสูง ตามศาสตร์จีน ศาสตร์การแพทย์แผนจีน เป็นศาสตร์ที่สืบทอด ส่งต่อภูมิปัญญามาเป็นระยะเวลานาน อาศัยสถิติการรักษาและถ่ายทอดวิธีที่ประสบผล จึงเป็นศาสตร์การแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับอีกแขนงหนึ่ง สำหรับ สูตรต้านความดันโลหิตสูง ตามหลักศาสตร์จีน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ หยิน-หยาง เหตุแห่งความดันโลหิตสูง แพทย์หญิงศรันยา กตัญญูวงศ์ แพทย์แผนจีนจากชีวจิตโฮม คลินิกสุขภาพการแพทย์ทางเลือกตามวิถีชีวจิตอธิบายว่า โดยปกติร่างกายของเรานั้น หยินกับหยางจะสมดุลกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้น หยิน (ความเย็น) จะลดลงตามธรรมชาติ โดยหายไปครึ่งหนึ่ง พอหยินตก (หยินพร่อง) แต่หยางยังอยู่เท่าเดิม จึงดูราวกับว่าร่างกายมีหยางมากเกินกว่าหยิน ส่วนหยาง คือความร้อน เป็นลม เป็นพลังงาน เมื่อไม่มีหยินควบคุม เพราะหยินพร่อง หยางก็จะลอยขึ้นมาที่ศีรษะพร้อมกับเลือด เลือดซึ่งมาคั่งที่ศีรษะทำให้มีอาการปวดศีรษะ ปวดแบบมึนตึบๆ แน่นๆ ซึ่งเป็นอาการของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ส่วนภาวะไขมันในเลือดสูง ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน คุณหมอศรันยาอธิบายว่า ต้นเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบตับ (การเดินของเลือดลม/ความเครียด)และระบบม้าม (ระบบย่อยทั่วร่างกาย) ตามแบบแผนจีน “ความเครียดที่สะสมจะทำให้ระบบตับ (การเดินของเลือดลม/ความเครียด) อ่อนแอ และเกิดเป็นความร้อนจนไปทำร้ายระบบม้าม (ระบบย่อยทั่วร่างกาย) จนประสิทธิภาพการทำงานลดลง และส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร แพทย์แผนจีนเชื่อว่า จะทำให้มีความชื้นส่วนเกินและเกิดเสลดสะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมาก […]
สูตรต้านความดันโลหิตสูง แนะนำโดยแพทย์แผนไทย
สูตรต้านความดันโลหิตสูง แนะนำโดยแพทย์แผนไทย สำหรับ สูตรต้านความดันโลหิตสูง ที่แนะนำโดยแพทย์แผนไทยนั้น จะมีความน่าสนใจตรงที่ การใช้วิธีปรับสมดุลย์ชีวิต ตามหลักของธรรมชาติ รวมไปถึงการใช้ยาสมุนไพรท้องถิ่นในการช่วยควบคุมและดูแลระดับความดันโลหิต ควบคู่ไปกับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มาดูรายละเอียดกันค่ะ ต้านความดันโลหิตสูงด้วยแผนไทย การแพทย์แผนไทยกำลังเป็นทางเลือกของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการห่างไกลโรคด้วยการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งกายและใจพร้อมกับหวนคืนสู่ธรรมชาติ ตำราการแพทย์แผนไทยได้พูดถึงสาเหตุของโรคว่า เกิดจากการขาดสมดุลของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยธาตุ 4 ธาตุ ได้แก่ ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) มูลเหตุของโรคจะเกิดจากธาตุทั้งสี่?ถ้าธาตุทั้งสี่อยู่ในภาวะที่สมดุล ร่างกายก็จะอยู่ในสภาพปกติ แต่ถ้าธาตุใดหย่อน พิการ หรือกำเริบ สภาวะสมดุลของร่างกายก็จะหมดไป รวมถึงอายุที่เปลี่ยนไป ถิ่นที่อยู่อาศัยและอิทธิพลของกาลเวลาที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คุณบุญยืน ผ่องแผ้ว หรือ หมอน้อย แพทย์แผนไทยพื้นบ้านจากบ้านหนองบง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรลองสังเกตตัวเองดูบ้าง ว่ามีอาการตาฝ้าฟาง ปวดหัวจี๊ดๆ หายใจไม่เต็มอิ่ม เหนื่อยง่าย จุกในทรวงอก เกิดเป็นตุ่มนูนตามผิวหนังตามเส้นเลือดทั่วตัวหรือไม่ ถ้ามีก็อาจเข้าข่ายเป็นไขมันในเลือดสูง “แลบลิ้นให้หมอดูหน่อย” หมอน้อยบอกกับคนไข้รายหนึ่ง เพราะถ้าลิ้นมีตุ้มปลายมนสีแดงที่โคนลิ้น?หมอน้อยก็จะฟันธงได้เลยว่า […]
สูตรต้านความดันโลหิตสูง แนะนำโดยแพทย์ไทยประยุกต์
สูตรต้านความดันโลหิตสูง แนะนำโดยแพทย์ไทยประยุกต์ สูตรต้านความดันโลหิตสูง สูตรนี้ แนะนำโดยแพทย์ไทยประยุกต์ ซึ่งจะให้แง่มุมของการดูแลสุขภาพตามหลักแผนไทยประกอบกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ลองมาดูกันว่าจะน่าสนใจแค่ไหน แพทย์ไทยประยุกต์ต่างจากแพทย์แผนไทยอย่างไร แพทย์ไทยประยุกต์ เป็นแพทย์แผนไทยแบบใหม่ ซึ่งต่างจากแพทย์แผนไทยเดิม ตรงที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น จึงช่วยให้แพทย์แผนไทยประยุกต์นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้กับการวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ความดันโลหิตสูงในมุมมองของแพทย์ไทยประยุกต์ แพทย์ไทยประยุกต์ได้อธิบายถึงมูลเหตุการเกิดโรคว่า มาจากสาเหตุ 8 ประการ ได้แก่ อาหาร อิริยาบถ ความร้อน-ความเย็น การอดนอน-อดข้าว-อดน้ำ กลั้นอุจจาระ-ปัสสาวะ ทำงานเกินกำลัง ความเศร้าโศกเสียใจ และมีโทสะมาก วันใดวันหนึ่งหากสาเหตุทั้งแปดประการมากระทบธาตุทั้งสี่ในร่างกาย คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ จนเกิด การแปรปรวน เมื่อนั้นโรคภัยไข้เจ็บก็จะถามหา คุณลัดดาวัลย์ ครูปัญญามาตย์ ผู้จัดการคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมใน สังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มหาสังฆปริณายก และในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีกล่าวว่า “ถ้ามองในเรื่องมูลเหตุของโรคตามหลักการแพทย์ไทยประยุกต์ ไขมันในเลือดสูงนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการกิน คือ กินอาหารมันมากเกินไป ทำให้เสมหะ (ธาตุน้ำ) กำเริบ และตัวความมันยังมีความร้อน เมื่อมากระทบร่างกายก็ทำให้ปิตะ […]
เทคนิคกินอาหารไขมันดี ป้องกันความดันโลหิตสูง
ป้องกันความดันสูง ด้วยอาหารไขมันดี รู้ไหมว่า การบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วย ป้องกันความดันสูง ได้ แต่พูดถึงไขมัน หลายคนคงจะสงสัย ว่ากินไขมันจะอ้วนไหม แล้วจะช่วยเรื่องความดันโลหิตสูงได้อย่างไร เรามีคำอธิบายค่ะ ไขมัน ไม่ใช่จะร้ายเสมอไป ไขมันในอาหารมีทั้งดีและร้าย ไขมันดีคือไขมันไม่อิ่มตัวค่ะ ซึ่งแยกย่อยเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ได้มาจากพืชหลายชนิด เช่น มะกอก ถั่วเหลือง ข้าวโพด อัลมอนด์ ฯลฯ ยกเว้นปาล์มและมะพร้าว ส่วนไขมันอิ่มตัว ได้จากสัตว์ต่างๆ ยกเว้นปลา ในเนย เค้ก ไอศกรีม คุกกี้ หวานๆ มันๆ ก็มีไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนผสมอยู่ไม่ใช่น้อยเลยละค่ะ ไขมันประเภทหลังนี้กินเข้าไปมากๆ จะเพิ่มไขมัน LDL (Lowdensity Lipoprotien) ซึ่งเป็นไขมันตัวร้าย ดังนั้นไม่ควรกินเยอะ ไขมันตัวร้ายอีกประเภทหนึ่งก็คือไขมันทรานส์ ซึ่งเกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวไปผ่านกระบวนการเติม ไฮโดรเจนเพื่อให้กลายเป็นไข เช่น มาร์การีน ครีมเทียม เนยขาว ซึ่งใช้ทำขนมเบเกอรี่ทั้งหลายนี่ละค่ะ ในธรรมชาติพบไขมันทรานส์ได้ในเนื้อวัวและควาย แต่เรามีโอกาสกินเข้าไปน้อยกว่าขนมนมเนย การกินอาหารจากไขมันไม่ดีจะทำให้คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ในร่างกายสูงขึ้น จึงมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองตีบมากขึ้น ไขมันดี15 ชนิด มีอยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง […]
โรคเกาต์พ่วงความดันสูง ดูแลตัวเองอย่างไร แพทย์มีคำแนะนำ
โรคเกาต์ โรคความดันโลหิตสูง มาพร้อมกันควรทำอย่างไร อย่างที่รู้กันว่า เมื่อป่วยเป็นโรคเกาต์แล้ว ย่อมมีโรคแถมตามมาอีกหลายโรค หนึ่งในนั้นก็คือ โรคความดันโลหิตสูง เอาง่ายๆ ก็คือ โรคเกาต์ โรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นพร้อมๆ กันได้ จึงต้องเข้มงวดเรื่องการดูแลตัวเองเป็นพิเศษ จะยกตัวอย่างข้อสงสัยจากทางบ้าน ที่ประสบปัญหานี้อยู่เช่นกัน Q : ผมอายุ 35 ปี สูง 180 เซนติเมตร หนัก 95 กิโลกรัม ตอนนี้ป่วยเป็นโรคเกาต์และความดันโลหิตสูง คุณหมอรักษาโดยการให้ยามากินเพื่อควบคุมอาการ อยากเรียนถามคุณหมอว่า ถ้าผมดูแลตัวเองดีๆ จะมี โอกาสหายขาดจากทั้งสองโรคนี้หรือไม่ครับ A : ความดันโลหิตสูงพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน มีภาวะไขมัน ในเลือดสูง เครียด ผู้ไม่ออกกำลังกาย และอ้วน จากประวัติที่เล่ามาจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ แต่เพราะ อายุยังน้อย เพียง 35 ปี เชื่อว่าหากดูแลสุขภาพตัวเองอย่าง เคร่งครัด จะช่วยบรรเทาอาการและทำให้โรคดังกล่าวหายไปได้ อันดับแรกที่ควรทำคือลดน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย เมื่อน้ำหนักลดจะทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ที่สำคัญคือ […]
5 วิธีปรับธาตุ ป้องกันโรความดันโลหิตสูง สไตล์แพทย์แผนไทย
ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ด้วยวิธีปรับธาตุตามหลักแผนไทย แพทย์ไทยประยุกต์ชารีฟ หลีอรัญ มาแนะนำวิธีการปรับธาตุตามหลักแพทย์แผนไทย ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพียง 5 ขั้นตอนง่ายๆ ที่สามารถทำตามได้ทุกเพศทุกวัย ลองมาดูกันวันคุณหมอพูดถึงโรคความดันโลหิตสูงกับแพทย์แผนไทยอย่างไรบ้าง โรคเรื้อรัง อดีตกับปัจจุบัน แตกต่างกันอย่างไร สมัยก่อนปู่ย่าตายายของเราป่วยเป็น โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรค NCDs เช่น ความดันโลหิตสูง อ้วน เบาหวาน กันน้อย ส่วนใหญ่จะเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรค ระบาด เช่น โรคอหิวาตกโรคหรือโรคห่า ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ กาฬโรค มากกว่า มาถึงสมัยนี้ ระบบการแพทย์พัฒนามากขึ้น จึงสามารถรักษาโรคระบาดได้ทันท่วงที ทำให้อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคระบาดลดลงอย่างมหาศาล อีกทั้งเทคโนโลยีด้านการแพทย์ก็ล้ำหน้าไปไกล จึง ช่วยให้มนุษยชาติมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ในทางตรงข้ามกลับพบว่า คนในยุคปัจจุบันป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทั่วโลกเกือบ 8 ล้านคนมีอายุสั้นลง สาเหตุน่าจะมาจากสภาพสังคมและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากอดีตมาก เช่น กินอาหารขยะเพื่อแลกกับความสะดวกรวดเร็ว เคลื่อนไหวและขยับตัวน้อย เกิดความเครียดจากการรับข้อมูลผ่านทางโลกออนไลน์ และอื่นๆอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิต ถ้าศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง จะพบบันทึกทั้งทางการแพทย์แผนจีนและการแพทย์อายุรเวทของอินเดียว่ามีการใช้วิธีจับชีพจร เพื่อประเมินระบบการไหลเวียนเลือด รวมถึงสามารถวิเคราะห์โรคและอาการเจ็บป่วยจากพลังและการเคลื่อนไหวของธาตุต่างๆในร่างกาย สมัยก่อนโรคที่มีความใกล้เคียงกับความดันโลหิตสูงมากที่สุดคือ โรคชีพจรแข็ง […]
FLAXSEED อาหารมหัศจรรย์ ต้านความดันโลหิต
แก้ความดันโลหิตสูง ด้วย FLAXSEED นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ได้เขียนบทความในคอลัมน์ Wellness Class นิตยสารชีวจิต แนะนำอาหารชนิดหนึ่งที่ช่วย แก้ความดันโลหิตสูง มีความโดดเด่นในด้านของสารอาหาร นั่นก็คือเจ้า Flaxseed นั่นเอง ลองมาดูว่าคุณหมอแนะนำอะไรดีๆ ไว้บ้าง แฟลกซ์ซีด สุดยอดอาหารที่มีคุณสมบัติโดดเด่น ผู้มาเข้าคอร์สสุขภาพที่เวลเนสวีแคร์มักถามผมว่า ถ้าจะกินอาหารเพื่อลดความดันโลหิต มีชนิดไหนที่มีคุณประโยชน์โดดเด่นบ้าง ผมก็มักตอบว่า หลักฐานวิทยาศาสตร์ ยืนยันได้แน่นอนในภาพรวมว่าพืชผักผลไม้และถั่วต่างๆเป็นอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยเน้นให้กินพืชผักเยอะๆและหลากหลาย แต่ถ้าจะถามว่า พืชชนิดไหนที่มีคุณประโยชน์โดดเด่น งานวิจัยระดับสูงในคน (หมายความว่า วิจัยด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ) พบว่าพืชที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ดีที่สุดนั้น น่าจะเป็นแฟลกซ์ซี้ด (Flaxseed) คำตอบของผมเป็นข้อมูลพื้นฐานจากผลวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะมีพืชชนิดอื่นที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ดีแต่ไม่มีใครทำวิจัย คุณประโยชน์ที่มีงานวิจัยรองรับ งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้แฟลกซ์ซี้ดเพื่อลดความดันโลหิตนี้มีการตีพิมพ์ไว้ในวารสารความ ดันโลหิตสูง (Hypertension) โดยทดลองในอาสาสมัคร 110 คน จับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินแฟลกซ์ซี้ดบดวันละ 30 กรัม (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) อีกกลุ่มหนึ่งให้กิน ผงแฟลกซ์ซี้ดปลอมซึ่งทำจากธัญพืชชนิดอื่น วันละ 30 กรัม โดยทำการวิจัยอยู่นาน 6 […]
Update ความดันเลือด สูงแค่ไหนต้องรีบรักษา
Update ความดันเลือด สูงแค่ไหนต้องรีบรักษา?? ความดันเลือด สูงเท่าไร ถึงจะกลาเป็นโรคความดันโลหิตสูง แล้วแพทย์แผนไทยมีมุมมองอย่างไร จะมีวิธีการรักษา และปรบพฤติกรรมอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยครับ เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวครึกโครมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการทางการแพทย์เป็นอย่างมาก เมื่อสมาคมโรคหัวใจอเมริกันและวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน (AHA/ACC) ได้เปลี่ยนคำจำกัดความนิยามใหม่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง จากแต่ก่อนคนที่มีความดันโลหิตสูง คือต้องมีความดันเลือดอยู่ในช่วง 140/90 มิลลิเมตรปรอท แต่ตอนนี้แค่มีระดับความดันเลือดในระดับ 130/80 มิลลิเมตรปรอท ก็เป็นโรคความดันโลหิตสูงไปปริยาย ปล.สำหรับค่าเฉลี่ยของคนที่มีระดับความดันเลือดปกติต้องอยู่ที่ 120/60 มิลลิเมตรปรอท เอ๊ะ! แล้วเราต้องทำอย่างไร จะรับมืออย่างไรดีหว่า ถึงแม้ว่าค่าความดันเลือดจะถูกบีบมาให้ต่ำลง ใช่ว่าเราจะต้องกินยาเสมอไปสำหรับบางคนที่สามารถควบคุมได้โดยการปรับพฤติกรรม ในทางตรงกันข้ามคนที่เคยมีระดับความดันอยู่ในช่วง 130/80 มิลลิเมตรปรอท อาจจะต้องกลายเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยปริยาย หากยังมีวิถีการกิน การอยู่แบบเดิมๆ เพราะหากเป็นโรคความดันโลหิตสูง แน่นอนว่าอาจทำให้ต้องเสี่ยงกับโรคต่างๆมากมาย โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ ดั้งนั้น เราก็ต้องหันมาใส่ใจในเรื่องการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการปรับพฤติกรรม เพราะไม่มีใครอยากกินยาว่าไหม อ่านต่อ>> ปรับความดันโลหิตสูง ให้กลับมาปกติ อ่านเพิ่มเติม 5 วิธีปรับธาตุ ป้องกันโรความดันโลหิตสูง สไตล์แพทย์แผนไทย […]
5 วิธีลด ความดันโลหิตสูง ด้วยตัวเอง
ลด ความดันโลหิตสูง ด้วยตัวเอง ทำได้ไม่ยาก คุณหมอสันต์ ใจยอดศิลป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจหลอดเลือดและทรวงอกและคอลัมนิสต์ชื่อดัง มาบอก