การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งจำเป็น บทความธรรมะดี ๆ จากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ 

การปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งจำเป็น บทความธรรมะดี ๆ จากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ หลายคนอาจมองว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องยากที่จะนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ด้วยภาระงานและวิถีชีวิตที่ไม่มีเวลาว่าง แต่จริง ๆ แล้วการปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก ซึ่งพระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ ได้อธิบายถึงความสำคัญของการปฏิบัติธรรมไว้ดังนี้ เพราะการปฏิบัติเป็นสิ่งที่อยากจะบอกว่าเป็นความจำเป็น มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพราะชีวิตทุกชีวิตไม่ต้องการความทุกข์ ชีวิตทุกชีวิตต้องการที่จะมีกำลังใจ ที่จะต่อสู้และฟันฝ่ากับปัญหาและอุปสรรค โดยเฉพาะที่จะเอาชนะใจตัวเองจากสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีวิชาทางโลกวิชาไหนเลย ที่จะสอนให้ทำใจเป็นสุข สอนให้จิตใจมีกำลังที่จะต่อสู้กับกิเลส เอากิเลสออกได้ เหมือนวิชาทางธรรมเลย ไม่มีวิชาทางโลกวิชาไหนเลยที่จะใช้ไปได้ทุกวันจนวันตาย มีแต่ธรรมะที่ใช้ได้ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก และโดยเฉพาะสุดท้าย วันตายของเราด้วยใช้ธรรมะอย่างมากเลย ส่วนการทำงาน เมื่อเราแก่แล้วต้องเกษียณไป คนที่สัมพันธ์กับเรานับวันก็ต้องจากกันไป มีอะไรบ้างที่จะเป็นที่พึ่งของชีวิตได้อย่างจริง ๆ บ้านช่องก็เป็นที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าก็สักแต่เป็นของใช้ รถลาสักแต่เป็นของใช้ แต่ธรรมะนั่นแหละเป็นที่พึ่งของจิตใจได้อย่างแท้จริง คนไม่รู้ธรรม ไม่เข้าใจธรรม ก็ไม่เห็นคุณค่าของธรรมะ แต่วันหนึ่งถ้าเข้าใจธรรม จะเห็นคุณค่าของธรรมะอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นอย่ายกเวลาในชีวิตของเราทั้งหมด ให้กับสิ่งอื่น หรือให้กับคนอื่นเสียทั้งหมด ควรแบ่งปันเวลาในชีวิตของเราให้กับตัวเองบ้าง อย่าไปรักแต่คนอื่นโดยไม่รักตัวเอง อย่าไปสงสารแต่คนอื่นโดยไม่รู้จักสงสารตัวเอง ต้องรักต้องห่วยใยต้องสงสารตัวเองบ้าง   […]

4 วิธีการอันไม่บริสุทธิ์ในการปฏิบัติธรรม โดย พระอาจารย์ นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

4 วิธีการอันไม่บริสุทธิ์ในการปฏิบัติธรรม โดย พระอาจารย์ นวลจันทร์ กิตติปัญโญ สิ่งที่สะอาดเท่านั้นจึงจะสามารถไปทำให้สิ่งอื่นสะอาดได้  วิธีการอันไม่บริสุทธิ์ในการปฏิบัติธรรม สิ่งที่บริสุทธิ์เท่านั้นจึงจะทำให้สิ่งอื่นบริสุทธิ์ขึ้นได้ ถ้าตัวของตัวเองสกปรกเปรอะเปื้อนอยู่ แล้วจะไปทำให้สิ่งอื่นสะอาดหมดจดได้อย่างไร รังแต่จะเพิ่มความสกปรกเลอะเทอะให้กับสิ่งนั้น ๆ เท่านั้นเอง การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน วิธีการ กระบวนการ หลักการ และปฏิบัติการในการปฏิบัติต้องขาวสะอาด ฉะนั้นการที่กิเลสเกิดขึ้น แล้วเราไปมีกิเลสกับกิเลส ไปมีอารมณ์กับอารมณ์ ไปมีเรื่องกับเรื่อง คือไปมีอะไรกับอะไร สุดแท้แต่ โดยเฉพาะวิธีการที่จะเข้าไปฆ่ากิเลส ไปดับอารมณ์ ไปทำอะไรให้เป็นอะไร เป็นต้น วิธีการอย่างนี้จัดได้ว่า เป็นวิธีการที่ “ไม่บริสุทธิ์” เรากำลังเล่นสกปรกเสียแล้ว ใช้วิชามารเสียแล้ว ไม่ Fair Play เสียแล้ว นี่คือสาวกของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่บริสุทธิ์หมดจดไปจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย แต่เหตุไฉนเล่า เหล่าบรรดาสาวกสาวิกาทั้งหลายจึงมีสภาพจิตใจเป็นเช่นนี้ หรือเป็นแค่เพียง “มือถือสากปากถือศีล” เท่านั้น เป็นผู้ดีจอมปลอมเท่านั้น เบื้องหน้าดูเหมือนทำดีมีคุณธรรม แต่เบื้องหลังกลับทำไม่ดี เล่นสกปรก (กับกิเลส) และถ้าเราใช้วิธีการที่ไม่บริสุทธิ์ แล้วเราจะเข้าถึงความสะอาดบริสุทธิ์หมดจดได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้หรอกท่าน เริ่มต้นก็ทำบาปทำอกุศลกรรมเสียแล้ว หลักคำสอนในโอวาทปาฏิโมกข์ที่พระศาสดาตรัสไว้ว่า […]

เจสัน ยัง กับการเกิดใหม่อีกครั้งเมื่อพบธรรม

เจสัน ยัง หลังจากที่เขาเพิ่งผ่านพ้นพิธีหมั้นกับแฟนสาวไปไม่นานนัก ทิ้งคำถามไว้มากมายที่ยังไม่ได้รับคำตอบ ส่วนหนึ่งจากคอลัมน์ Secret of life ::: การเกิดใหม่อีกครั้งของ JASON YOUNG
เรื่อง พีรภัทร โพธิสารัตนะ ภาพ วรวุฒิ วิชาธร

Dhamma Daily : พระอาจารย์มานพ อุปสโม ตอบปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติธรรม

Dhamma Daily : พระอาจารย์มานพ อุปสโม ตอบปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติธรรม ซีเคร็ต ได้รวบรวมการตอบปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติธรรม ของพระอาจารย์มานพ อุปสโม ไว้ดังนี้ 1 ถาม : ตอนไปปฏิบัติธรรมมีกฎให้ปิดวาจา อยากทราบความหมายของคําว่า ปิดวาจา หมายถึงไม่พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ไม่น่าจะหมายความว่าห้ามพูดโดยเด็ดขาด ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือไม่คะ 2 ตอบ : ปิดก็คือไม่เปิด ปิดวาจาก็คืองดพูด เพราะว่าพูดแล้วอาจเกิดปัญหา คนเราเวลาพูดกันไม่ได้คุยกันแต่เรื่องของสองคน มักจะพาดพิงถึงคนอื่น เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา ถือเป็นการส่งจิตออก ทําให้จิตว้าวุ่น ขณะเดียวกันคนสองคนคุยกันก็มีปัญหาได้ คือชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง การคุยกันจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อการกระทําความเพียร จึงควรงดคุย คนสองคนก็ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกัน แต่จริง ๆ แล้วพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สรรเสริญการงดพูดโดยเด็ดขาด สมัยที่พระพุทธเจ้าทรงดํารงพระชนม์ชีพอยู่ มีพระสงฆ์ไปจําพรรษาร่วมกันหลายรูปในป่าโดยตั้งกติกาไม่คุยกัน ยกเว้นกรณีที่อุบาสกอุบาสิกาถาม เมื่อไปบิณฑบาต พระจะอมน้ำ ถ้าโยมไม่ถามก็จะอมอยู่อย่างนั้น ถ้าโยมถามก็กลืนน้ำแล้วตอบ เมื่อถึงวันพระพระก็จะมาพบกันครั้งหนึ่ง แต่ผลคือ มีพระรูปหนึ่งหาย ก็สอบถามกันว่าไปไหน […]

หัวใจของ การปฏิบัติธรรม โดย พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

หัวใจของ การปฏิบัติธรรม โดย พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท หัวใจของ การปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์นั้น ต้องทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าไม่รู้วิธีและแนวทาง ก็จะทำให้เสียเวลา ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง หรือไม่ประสบความสำเร็จ กว่าจะลองผิดลองถูก กว่าจะเข้าใจ ก็อาจเสียเวลาไปนาน สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ทรงเน้นสอนและแสดงโทษของการยึดมั่นอยู่ในอุปาทาน “ขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์” พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อการตรัสรู้ เพื่อเข้าสู่มรรคผลนิพพาน คือพระองค์จะทรงหยิบยกและแสดงธรรมในเรื่อง “อริยสัจ 4” เป็นส่วนมาก และในการแสดงธรรมอริยสัจ 4 แต่ละครั้งนั้น จะมีทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีได้ ดวงตาเห็นธรรม เป็นจำนวนมาก ในอริยสัจ 4 พระองค์จะทรงเน้นแสดงตัว “สมุทัย” คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ “ตัณหา” ความอยากได้และความไม่อยากได้ในกองขันธ์ 5 อันเป็นเหตุปัจจัยส่งผลให้เราเป็นสุขและเป็นทุกข์ เช่น เวลาขันธ์ 5 เป็นสุขก็ยึดไว้ เวลาขันธ์ 5 เป็นทุกข์ก็ผลักไส จึงเกิดความลำบากเพราะพยายามที่จะแก้ไข คือ อยากวิ่งหนีทุกข์และอยากวิ่งหาสุข […]

“ขอเวลานอกให้ชีวิต” การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การหนีปัญหา โดย ปิยสีโลภิกขุ 

เคยได้ยินคนพูดอยู่บ่อยครั้งว่า การบวชหรือการปฏิบัติธรรมเป็นการหนีปัญหา ความเห็นเช่นนี้เชื่อได้ว่ามาจากคนที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมและไม่เคยเฝ้ามองจิตใจของตนเองเลย

สติปัฏฐาน 4 “กำหนดรู้ด้วยการบริกรรมพองหนอ ยุบหนอ” ณ วัดมหาธาตุฯ

สติปัฏฐาน 4 “กำหนดรู้ด้วยการบริกรรมพองหนอ ยุบหนอ” ณ วัดมหาธาตุฯ – สติปัฏฐาน 4 เป็นวิธีพัฒนาจิตตามหลักที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ถือเป็นหนทางเอกที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งเห็นจริง บรรลุซึ่งนิพพานอันเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา มีหลักในการพิจารณา 4 ฐานใหญ่ คือ การฝึกสติในการกำหนดตามรู้กาย เวทนา จิต ธรรม

20 ความอัศจรรย์ที่ค้นพบจากการปฏิบัติธรรม

20 ความอัศจรรย์ที่ค้นพบจาก การปฏิบัติธรรม 20 ความอัศจรรย์ที่ค้นพบจาก การปฏิบัติธรรม 1. การขัดเกลาตนเอง ควรเริ่มจากกิเลสตัวที่มีกำลังมากที่สุด ไม่ใช่กิเลสตัวที่มีกำลังน้อยที่สุด เพราะเมื่อทำให้กิเลสตัวที่มีกำลังมากอ่อนแรงได้ ความอดทนอดกลั้นจะเพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันกิเลสตัวเล็กๆ จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องอาศัยความพยายามมากนัก 2. โทสะ เห็นง่าย เกิดง่าย สร้างความสูญเสียรุนแรง แต่ในเบื้องต้นกำจัดง่ายกว่า โลภะ ราคะ และโมหะ 3. เมื่อกำจัดกิเลสหยาบๆ ได้บางส่วน กิเลสชั้นละเอียดจะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มีความแนบเนียนกว่า พบว่า มันคืสิ่งที่เราไม่อยากสละ เนื่องจากมันสร้างความพอใจให้เรา จำเป็นต้องอาศัยกำลังสติเป็นอย่างมากในการเท่าทันระวังตน 4. แม้ไม่พูดในทางร้าย แต่เรายังคิดร้ายอยู่เสมอ ความคิดร้ายนั้น ปรุงแต่งขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นกระบวนการ มิใช่สิ่งที่จงใจสร้างขึ้นเอง ดังนั้นเราจึงไม่ควรยอมรับว่า ความคิดคือตัวตนของเรา และการคิดดีตลอดเวลาก็เป็นไปไม่ได้ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ หนทางแก้ไขคือ เมื่อเกิดความคิดทางร้าย ให้มีสติน้อมเข้ามาพิจารณา จับจ้องไปที่ตัวความคิด จะพบว่าทุกความคิดจะหายไปเองตามธรรมชาติ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จะรู้สึกว่า กาย วาจา สำรวมขึ้น ความคิดฟุ้งซ่านน้อยลง ความอยากพูดน้อยลง […]

keyboard_arrow_up