มหาวิทยาลัยรังสิต ถกประเด็นที่สังคมจับตามอง! นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและการใช้กัญชาทางการแพทย์

 มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเวที ถกประเด็นที่สังคมจับตามอง! หัวข้อ “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและการใช้กัญชาทางการแพทย์” พร้อมเผยผลงานวิจัย กัญชา มีฤทธิ์ต้านการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งถึง 4 ชนิด!! นับตั้งแต่มีกฎหมาย ปลดล็อกพืชกัญชาออกมา ปฎิเสธไม่ได้ว่าประชาชนบางกลุ่มมีการนำพืชสมุนไพรชนิดนี้ไปใช้ในทางที่ผิด โดยไม่คำนึงถึงโทษร้ายแรง เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และเข้าใจ กัญชา มากขึ้น มหาวิทยาลัยรังสิต จึงร่วมมือกับ บริษัท นารีฟาร์มากรุ๊ป จำกัด ผู้ระชุมทางวิชาการ เพื่อให้ประชาชนได้รู้จัก กัญชา และนำไปใช้ประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยลัยรังสิต ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม ณ ห้องสุริยเทพ  ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยงานนี้มีผู้สนใจ ร่วมงานเป็นจำนวนมาก สำหรับการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการครั้งนี้ ได้กล่าวถึง 3 หัวข้อสำคัญหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1.โอกาสในการใช้กัญชาและกัญชงทางการแพทย์ (Opportunity of medical  cannabis and hemp usage) โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรเอกพล ลิ้มพงษา […]

“กัญชง” ไม่ใช่ “กัญชา” มาดูกันดีกว่าว่าต่างกันตรงไหน?

เมื่อพูดถึง “กัญชง” (Hemp) หลายคนอาจยังสงสัยและสับสนว่ามันคือ “กัญชา” (Marijuana) แต่ขอบอกเลยว่าจริง ๆ แล้วมันไม่เหมือนกันนะ

4 สายพันธุ์กัญชาไทย มีอะไรน่าสนใจ เป็นประโยชน์บ้าง

ชวนรู้จัก 4 สายพันธุ์กัญชาไทย เมื่อกัญชากลายเป็นพืชที่สามารถนำมาประกอบอาหาร และสามารถใช้ประกอบการรักษาโรคภายใต้การดูแลของแพทย์ได้ หลายคนเริ่มหันมาให้ความสนใจกับกัญชามากขึ้น แล้วรู้ไหมว่า กัญชามีสายพันธุ์ไทยด้วยนะ เรามาทำความรู้จัก 4 สายพันธุ์กัญชาไทยกันค่ะ กัญชาไทยหางกระรอกอีสาน เป็นกัญชาสายพันธุ์ซาติวา (Sativa) ที่มีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) สูงมาก จนได้รับการยกย่องให้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของสายพันธุ์ที่ ดีที่สุดในโลก ด้วยอุณหภูมิ ภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแสงแดดในประเทศไทย ล้วนเป็นองค์ประกอบที่เหมาะสม ทำให้สายพันธุ์ “หางกระรอกอีสาน” พบสาร THC ปริมาณสูงที่สุดมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ การมีปริมาณสาร THC สูงของกัญชาไทยพันธุ์หางกระรอกอีสานย่อมหมายถึงการมีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์สูงด้วย ลักษณะลำต้นสูงใหญ่ ใบมีหลายแฉกเรียวยาว ช่อดอกพุ่มยาวปลูกง่าย เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย กัญชาไทยหางกระรอกก้านแดง เป็นกัญชาสายพันธุ์ชาติวาที่มีสาร THC ปริมาณสูงมากเช่นเดียวกับพันธุ์หางกระรอกอีสาน ลักษณะ ลำต้นสูงใหญ่ กิ่ง ก้าน ใบมีหลายแฉกเรียวยาว ช่อดอกพุ่มยาวคล้ายกัญชาหางกระรอกอีสาน ต่างที่สีของลำต้น กิ่ง ก้าน และใต้ใบจะมีสีแดง […]

น้ำมันกัญชา ไม่ใช่พาเมา แต่มีสารพัดประโยชน์ ช่วยรักษาโรคและอาการ

น้ำมันกัญชา ไม่ใช่พาเมา แต่มีสารพัดประโยชน์ ช่วยรักษาโรคและอาการ น้ำมันกัญชา ได้รับอนุญาตให้ใช้ในทางการแพทย์ และกลายเป็นรูปแบบยาประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ เนื่องจากมีประโยชน์และสรรพคุณที่ช่วยรักษาโรคได้ แต่การจะใช้น้ำมันชนิดนี้ได้อย่างปลอดภัย ก็ควรศึกษาข้อมูลและวิธีใช้ที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ น้ำมันกัญชาคืออะไร คือสารสกัดเข้มข้นจากต้นกัญชา ที่นำมาทำให้เจือจางเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในรูปแบบยาทางการแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลิตเป็นยารักษาโรค มีการนำไปผสมกับส่วนผสมต่างๆ ให้เหมาะแก่การรักษาในแต่ละประเภท เช่น นำไปหยดใต้ลิ้น นำไปทาบนผิวหนัง เป็นต้น สรรพคุณน้ำมันกัญชาในทางการแพทย์ รักษาโรคอะไรได้บ้าง? ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันกัญชาถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ เพื่อรักษาอาการและโรคบางชนิด เช่น ใช้บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง บำรุงสุขภาพ รวมถึงคลายอาการวิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป หรือผู้ใช้มีอาการแพ้น้ำมันกัญชาก็อาจส่งผลเสีย ทำให้มีผลข้างเคียง เช่น อ่อนเพลีย ท้องเสีย เป็นต้น จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุถึงคุณสมบัติของน้ำมันกัญชา 3 ประเภท ที่ได้รับการยอมรับในฐานะสารสกัดน้ำมันกัญชาทางการแพทย์ ประกอบไปด้วยกลุ่มสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ที่พบในพืชกัญชา ได้แก่ 1. น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ สูตร THC ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ใช้หยอดใต้ลิ้นตามแพทย์สั่ง 2. น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ สูตร CBD ใช้รักษาผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายาก หรือดื้อต่อการรักษา ใช้หยอดใต้ลิ้นตามแพทย์สั่ง 3. น้ำมันกัญชาทางการแพทย์ สูตร […]

“ใบ” กัญชา กินเท่าไร อย่างไร ไม่เมา ไม่มีผลเสีย

กัญชา กินเท่าไร อย่างไร ไม่เมา ไม่มีผลเสีย จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ ตามร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม เริ่มมีเมนูที่มีส่วนผสมของใบ กัญชา ที่ได้รับอนุญาตให้ประชาชนได้ลิ้มรส วันนี้เราจึงมาแนะนำวิธีกินใบกัญชา ที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกันค่ะ ว่าด้วยสารเมา จะเห็นได้ว่าใบกัญชาส่วนใหญ่นิยมนำมาต้ม แกง ผ่านความร้อนสูง ซึ่งการปรุงด้วยความร้อนนี้เกิดผลต่อปริมาณสารออกฤทธิ์ในใบกัญชาอย่างไรบ้าง เภสัชกรหญิงอาสาฬ อธิบายว่า เมื่อกัญชาผ่านความร้อนจากการปรุงอาหารจะมีปริมาณสาร THC และ CBD ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโมเลกุลของพืชอยู่แล้ว กัญชาโดยธรรมชาติจะอยู่ในรูปสาร THCA แต่เมื่อได้รับความร้อนจะกลายเป็นสาร THC และยิ่งอาหารมีส่วนผสมของไขมัน สาร THC จะละลายออกมาได้มากขึ้น ร่งกายจะดูดซึมสาร THC ได้ดียิ่งขึ้น สังเกตว่า น้ำมันกัญชาที่ใช้เป็นยาก็จะถูกเจือจางในน้ำมัน เช่นเดียวกับภูมิปัญญาชาวบ้านในอดีตที่มักแกงกับกะทิหรือเนื้อสัตว์ที่มีความมันหรือเอาไปทอด” กินยังไง นอกจากการปรุงแล้ว ปริมาณสารเมาในใบกัญชายังขึ้นอยู่กับความอ่อนแก่ของใบ ใบอ่อนจะมีสารเมาน้อยกว่าใบแก่ เภสัชกรหญิงอาสาฬให้คำแนะนำในการกินเมนูกัญชาว่า “สำหรับการปรุงอาหาร ควรใช้ใบกัญชาไม่เกิน 5 ใบต่อหนึ่งจาน หรือไม่ควรกินเกินวันละ 8 ใบ ซึ่งเมนูที่ทางอภัยภูเบศรออกแบบมาส่วนใหญ่จะใช้ครึ่งถึง 1 ใบเท่านั้น เพราะเรากังวลเรื่องผลข้างเคียง เนื่องจากแต่ละคนมีความไวต่อสารเมาไม่เหมือนกัน เหมือนคนดื่มเหล้าที่มีทั้งคออ่อนและคอแข็ง บางคนกินใบเดียวหรือจานเดียวก็มึนๆ […]

ขออนุญาตปลูกกัญชา ต้องทำอย่างไร เรามีคำตอบ

ขออนุญาตปลูกกัญชา ต้องทำอย่างไร เรามีคำตอบ บอกทุกกระบวนการ ขออนุญาตปลูกกัญชา ต้องทำอย่างไร นี่คือคำถามที่หลายคนอยากรู้ หลังจากที่มีการปลดล็อคกัญชา ซึ่งวิธีการขอใบอนุญาตต้องทำอย่างไร เรามีข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มาบอก อยากปลูกกัญชาต้องทำอย่างไร รวมตัวจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนในกิจการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อปลูกกัญชาโดยเฉพาะตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ยื่นจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนร่วมกับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันการแพทย์ ยื่นขออนุญาตผลิต (ปลูก) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นำใบอนุญาตยื่นขอเพิ่มกิจการวิสาหกิจชุมชน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ ที่วิสาหกิจชุมชนจดทะเบียน ใช้เวลาประมาณ 7-15 วัน ขั้นตอนการยื่นของอนุญาตปลูกกัญชา ยื่นเอกสารหลักฐาน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรวจประเมินสถานที่ขออนุญาตปลูกกัญชา เข้าประชุมคณะกรรมการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็น (กรณีพื้นที่ปลูกตั้งอยู่ต่างจังหวัด) เข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรอง เข้าที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสผติดให้โทษ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ออกใบอนุญาต หน้าที่ของผู้ได้รับอนุญาต จัดให้มีการเก็บกัญชาเป็นสัดส่วน จากยาหรือวัตถุอื่นๆ และเก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรง ที่มีสภาพเท่าเทียมกัน จัดให้มีการทำบัญชีรายรับจ่าย  ยาเสพติดให้โทษ และเสนอรายงานต่อ เลขาธิการ อย. เป็นรายเดือน/ปี บัญชีดังกล่าวให้เก็บรักษาไว้และ […]

การใช้ กัญชาทางการแพทย์ เป็นไปในทิศทางที่ดี ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ดร. ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า จากที่องค์การฯได้กระจายผลิตภัณฑ์ กัญชาทางการแพทย์ ให้กับระบบบริการกัญชาทางการแพทย์ ผ่านโครงการวิจัยและคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 โดยติดตามประสิทธิผลการใช้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้แก่แพทย์ผู้สั่งจ่าย กัญชาทางการแพทย์ ใช้ประกอบในการวินิจฉัย และให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงวิชาการที่เป็นมาตรฐาน และเป็นแนวทางการใช้กัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทยเอง โรคลมชักรักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา ล่าสุด ได้มีการรายงานผลการศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ขององค์การฯ โดยการศึกษาในกลุ่มโรค และภาวะที่ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ได้ประโยชน์ โดยสถาบันประสาทวิทยาและสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ติดตามประสิทธิผลการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา GPO THC : CBD (1:1) ในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักรักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา (Intractable Epilepsy) 16 ราย ผลการศึกษาพบว่า สามารถควบคุมอาการชักในผู้ป่วย 10 ราย (62%) และผลการประเมินของผู้ดูแล คิดว่าอาการชักดีขึ้น โดยมีคะแนนประเมินเฉลี่ยอยู่ที่ 5 – 6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง สถาบันประสาทวิทยา […]

เปิดแล้ว คลินิก กัญชา ทางการแพทย์ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว

คลินิก กัญชา ทางการแพทย์ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว  วันนี้เรามากันที่กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ในงาน “ พิธีเปิดให้บริการ คลินิกกัญชา ทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ” ที่ กระทรวงสาธารณสุข “ อนุทิน  ” เผยยากัญชารักษาโรคได้เป็นที่น่าพอใจ เตรียมนำผลศึกษาหนุนปลดล็อกกฏหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึง คลินิก กัญชา ทางการแพทย์ ได้มากที่สุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิด คลินิก กัญชา ทางการแพทย์ แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านพร้อมด้วย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และผู้บริหาร   นายอนุทิน กล่าวว่า การเปิด คลินิก กัญชา ทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้าน ให้บริการแบบผสมผสานทั้งแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน และ แพทย์ปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกของประชาชน รอบเขตกรุงเทพมหานคร ฯ เบื้องต้นมีตำหรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมให้บริการ 4 […]

นอนไม่หลับ กัญชา ช่วยได้ชัวร์หรือมั่วนิ่ม

นอนไม่หลับ กัญชา ช่วยได้ชัวร์หรือมั่วนิ่ม เมื่อไม่นานมานี้ถ้าใครได้ติดตามข่าว คงต้องร้องอ๋อ  เครียดเรื่องงาน นอนไม่หลับ ต้องใช้กัญชา ถึงจะสามารถช่วยให้หลับได้ดีขึ้น ความจริงนี้จริงหรือไม่ ข้อเท็จจริงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่าอย่างไร ชีวจิตมีคำตอบจากสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยค่ะ การใช้กัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนไม่หลับ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมานี้เอง สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์จุดยืน “การใช้กัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนไม่หลับ” โดยมีความเห็นว่า ยังไม่มีการรับรองว่าสามารถใช้ในการรักษาปัญหานอนไม่หลับได้ และยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานอย่างเพียงพอ ที่สำคัญกัญชามีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้ ดังนั้น การใช้กัญชาเพื่อช่วยเรื่องการนอนหลับ จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลด้านลบมากกว่าผลด้านบวก โดยมีแถลงการณ์และจุดยืน (Position Statement) ของสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย เรื่อง “การใช้กัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนไม่หลับ” ดังต่อไปนี้ 1.คุณสมบัติของ กัญชา ต่อปัญหาการ นอนไม่หลับ สารสกัดกัญชาที่นำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์มี 2 ชนิด คือ สาร delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) และสาร cannabidiol (CBD) โดย THC เมื่อเข้าสู่สมองจะจับกับ cannabinoid receptor […]

กัญชา ฟีเว่อร์ ใช้อย่างไร ปลอดภัย ไม่เสพติด

นาทีนี้ เราคงต้องยกให้ กัญชา เป็นเทรนด์สุขภาพของคนทั่วโลก รวมถึงคนไทย ชีวจิตได้นำบทสัมภาษณ์เรื่องกัญชาจากกูรูด้านกัญชาในแง่แพทย์แผนไทย แผนปัจจุบัน

อัพเดท 13 โรงพยาบาล คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย

คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ดีเดย์เปิดบริการ 13 แห่งทุกเขตสุขภาพ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย เปิดแล้ว มีโรงพยาบาลนำร่องบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสุขภาพ จำนวน 13 แห่ง ล่าสุดนายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมการให้บริการของคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยเปิดบริการเป็นวันแรก เบื้องต้นจำนวน 13 แห่ง ในสถานบริการสุขภาพ 13 เขตสุขภาพ  ดังต่อไปนี้ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จ.แพร่ โรงพยาบาลบางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก โรงพยาบาลหนองฉาง จ.อุทัยธานี โรงพยาบาลเสาไห้ จ.สระบุรี โรงพยาบาลดอนตูม จ.นครปฐม โรงพยาบาลพล จ.ขอนแก่น โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จ.สกลนคร โรงพยาบาลคูเมือง จ.บุรีรัมย์ โรงพยาบาลพนา จ.อำนาจเจริญ โรงพยาบาลท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลป่าบอน จ.พัทลุง โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กทม.

กัญชาช่วยบรรเทาอาการทางโรคผิวหนังได้จริงหรือ?

กัญชา รักษาโรคผิวหนัง ได้จริงหรือ? กัญชา รักษาโรคผิวหนัง ได้จริงหรือไม่ เรามีคำตอบจาก พญ. ชินมนัส  ตั้งจาตุรนต์รัศมี  ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย มาช่วยไขคำตอบให้กระจ่าง เพื่อจะได้เลือกใช้กัญชารักษาโรคผิวหนัง ได้อย่างถูกต้อง เพราะถ้าหากเราเข้าใจผิด และใช้กันแบบผิดๆ อาจส่งผลเสียต่อชีวิตเราได้ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยขอนำเรื่องของ “กัญชา” ช่วยบรรเทาอาการทางโรคผิวหนังได้จริงหรือ ?   มาพูดถึงเรื่องของการนำกัญชามาใช้ในการรักษาโรค   ซึ่งเป็นที่กล่าวขานอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับในวงการแพทย์และเภสัชกรรมที่ได้เห็นความสำคัญและพยายามศึกษาค้นคว้าในเรื่องการนำกัญชามาใช้อย่างถูกวิธีในทางการแพทย์ เนื่องจากกัญชาจัดอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง ดังนั้นการศึกษาเพื่อประเมินระหว่างข้อดีและข้อเสีย  จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งก่อนที่จะนำมาใช้ในการรักษาโรคได้โดยไม่มีผลเสียต่อสุขภาพของผู้ใช้รวมทั้งผลกระทบกระเทือนอื่น ๆ ในสังคมด้วย กัญชารักษาโรคผิวหนัง “ กัญชา” มีสารประกอบแคนนาบินอยด์  (Cannabinoids) ที่สามารถใช้ในการรักษาโรคได้ โดยสารที่ออกฤทธิ์คือ Delta-9-Tetrahydrocannabinol (THC) ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและ Cannabidiol (CBD) ที่ไม่มีฤทธิ์เสพติด ในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่เสพกัญชาทั้งหมดนั้นจะมีประมาณ 10 %   ที่ใช้เพื่อเป็นวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ มีการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับการใช้กัญชาสำหรับบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง,  อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ, โรคเบื่ออาหารและคลื่นไส้ ในรอบปีที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาถึงการใช้กัญชาในการบรรเทาอาการทางโรคผิวหนังเพื่อระงับอาการคัน, บวม, อักเสบ และการเกิดมะเร็งผิวหนัง […]

กัญชารักษามะเร็ง ได้หรือไม่

กัญชารักษามะเร็ง หรือผลข้างเคียงโรคมะเร็งกันเเน่ กัญชารักษามะเร็ง ได้จริงหรือไม่ ? เมื่อไม่นานมานี้ ชีวจิตออนไลน์ ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมนา ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย “การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคมะเร็ง”และบทบาทของ”กัญชา”กับโรคมะเร็ง  เพื่อไขข้อกระจ่างและขยายผลจากงานวิจัยที่ถูกต้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ในมุมองของแพทย์แผนปัจจุบัน กัญชารักษามะเร็ง ได้หรือไม่ กัญชารักษามะเร็ง ข้อเท็จจริงเเล้วเป็นอย่างไร เราลองมาฟังคำตอบจากคุณหมอกันครับ รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์  อดีตนายกสมาคมมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยและหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงเรื่องบทบาทของ“กัญชา”กับโรคมะเร็ง ว่า ในปัจจุบันมีแรงผลักดันให้มีการนำกัญชามาใช้ในประเทศไทยอย่างมากจากหลายภาคส่วน เน้นเป้าหมายว่า กัญชาไม่ควรที่จะถูกจัดกลุ่มอยู่ในสารเสพติด และควรเปิดกว้างให้มีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เสียงเรียกร้องที่ออกคล้ายกับว่า กัญชาเป็นพืชที่มีแต่ประโยชน์สูงมาก มีผลเสียน้อย ไม่ควรที่จะถูกปิดกั้นให้อยู่ในกลุ่มสารเสพติด หนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการอ้างอย่างมากคือ ประโยชน์ของกัญชาในการรักษาโรคมะเร็ง สารสำคัญในกัญชา ในกัญชาจะมีสารกลุ่ม Cannabinoid เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและภูมิคุ้มกัน สารเคมีที่ออกฤทธิ์หลักใน Cannabinoid ได้แก่ delta-9-THC ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท และทำให้มีอาการเคลิ้ม (high) อีกชนิดคือ Cannabidiol (CBD) จะลดอาการปวด การอักเสบ และความเครียดกังวล โดยไม่ทำให้เกิดอาการ high มากเท่า delta-9-THC ผลข้างเคียงที่เกิดเมื่อใช้กัญชา […]

9 ตำรับยาไทย จารึกวัดโพธิ์ ผสมกัญชา

 9 ตำรับ ยาไทยผสมกัญชา แห่งจารึกวัดโพธิ์ ยาไทยผสมกัญชา มีอยู่จริง หลายตำรับด้วยนะ เพราะเมื่อไม่นานมานี้ อ่านเพิ่มเติม : กัญชา ยาเสพติด หรือ ยาสมุนไพร เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข  นายเเพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวแถลงข่าวการจัดงานสัปดาห์วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติประจำปี 2561 ว่า วันที่ 29 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ โดยมีการเปิดตำรับยาไทย ที่มีส่วนผสมของกัญชา เป็นตำรับยาของชาติ จำนวน 9 ตำรับ ดังต่อไปนี้ 9 ตำรับ ยาไทยผสมกัญชา ตำรับยาแห่งชาติ นพ.มรุต กล่าวต่อว่า ปีนี้จะมีการเปิดตำรับยาของชาติ จากจารึกวัดโพธิ์ ทั้งกลุ่มยาเด็กและผู้ใหญ่ จำนวน 9 ตำรับ คือ ยาอินทร์ประสิทธิ์ แก้ลมบำรุงหัวใจ ยาแผ้วฟ้า แก้ละอองไอในปากและคอ ยากำลังราชสีห์ บำรุงโลหิต […]

กัญชา ยาเสพติด หรือ ยาสมุนไพร

กัญชา ยาเสพติด หรือ ยาสมุนไพร : การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทย กัญชา เป็นประเด็นถกเถียงกันในวงกว้าง ทั้งโลกออฟไลน์เเละออนไลน์ มีประโยชน์ หรือโทษ(สารเสพติด) ในเเง่การรักษาสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ ควรปลดล็อคกฎหมายหรือเปล่า ? เพราะประเทศไทยจัดกัญชา เป็นสารเสพติดประเภทที่5 ออกฤทธิ์แบบผสมผสาน กดประสาท กระตุ้น หรือหลอนประสาท จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั้งการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ในทางตรงกันข้าม อีกฝั่งของโลก มีจำนวนมากกว่า 16 ประเทศมีการอนุญาติให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนรัฐมากกว่าครึ่งที่อนุญาติ และเห็นว่ากัญชานั้นสามารถช่วยรักษาโรคให้หายเจ็บป่วยได้ เพราะมีงานวิจัยมากมายที่ระบุว่า กัญชาสามารถใช้เป็นยารักษาโรคที่ได้ผลดี  เช่น รักษาอาการปวดเรื้อรังในผู้ใหญ่  รักษาอาการบางอย่างของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส รักษาอาการนอนไม่หลับ และลดผลข้างเคียงจากการรักษาโดยใช้เคมีบำบัด  เช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานวิจัยพบว่า กัญชายังสามารถรักษาโรคชัก ต้อหิน  เอชไอวี/เอดส์  ลดอาการวิตกกังวล โรคซึมเศร้า  โรคความจำเสื่อม  โรคลำไส้เคลื่อนไหวผิดปกติ โรคพากินสัน  และโรคจิตเภท  เป็นต้น […]

keyboard_arrow_up