>> สาเหตุของการเกิดโรคลมหลับ <<
ในทางการแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัด ว่าโรคนี้มีความผิดปกกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น โดยมีการหลับแทรกเข้ามาในขณะที่ยังตื่นอยู่ อาการของโรค เช่น ง่วงนอนตลอดเวลา , แขนขาอ่อนแรงขณะจะตื่น (คล้ายๆ ผีอำ), มองเห็นภาพลวงตาช่วงที่จะหลับ เป็นต้น แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคทางจิตเวชนะคะ พบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยบางรายมีสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า hypocretin ต่ำกว่าปกติ นักวิจัยบางรายได้เสนอว่าโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยภายนอกบางอย่าง
>> อาการของโรคลมหลับ <<
อาการของโรคลมหลับเป็นยังไงมันคือ อาการที่เรายืนอยู่ดีๆ แล้วก็เผลอหลับไปเลยไม่รู้ตัว หรือจะเรียกว่า หลับแบบฉับพลันก็ได้ แต่ในบ้านเรานั้นยังพบได้น้อยและยังไม่มีการวินิจฉัยมากนัก โรคลมหลับเกิดจากสารสื่อประสาทไฮโปคริติน (Hypocretin) ในสมองลดน้อยลง ทำให้ความรู้สึกตัวของเราลดน้อยลงตามไป ก่อให้เกิดอาหารหลับแบบฉับพลันนั่นเองรวมถึงอาการง่วงนอนมากผิดปกติ มักเป็นอาการแรกของผู้ป่วยโรคนี้ ผู้ป่วยจะหลับในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ในที่ทำงาน, ในร้านอาหาร, ใน โรงภาพยนต์, ขณะเขียนหนังสือ หรือแม้แต่ขณะที่กำลังสนทนาพูดคุยกับคนอื่นอยู่ก็หลับได้ และเมื่อได้งีบหลับแม้ในช่วงสั้นๆ ก็จะช่วยให้สดชื่นขึ้นมาได้
ส่วนอาการอื่นๆ ของโรคลมหลับนี้ก็จะมีตั้งแต่ มีพฤติกรรมที่ทำโดยไม่รู้สึกตัว เช่น ขณะหลับอาจทำกิจกรรมต่างๆ ได้ อย่างการขับรถ การทำอาหาร ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ รวมถึงมีอาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน สมองควบคุมการหลับตื่นผิดปกติทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืนได้ ไม่มีสมาธิ, ปวดศีรษะ, ขี้ลืม และซึมเศร้า (ขอบคุณข้อมูลจากคณะแพทย์ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)
การหลับของโรคนี้นั้นไม่ใช่การหลับแบบทำงานอยู่เพลินๆ แล้วเกิดอาการง่วงแล้วหลับ แต่เป็นอาการที่อยู่ดีๆ แล้วหลับลงไปเลย ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า นักการแพทย์บางคนก็มีการสันนิษฐานว่าเกิดจาก พันธุกรรม ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ หรือว่าโรคหลอดเลือดในสมอง แต่ปัจจุบันก็ยังเป็นข้อสันนิษฐานอยู่ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับโรคลมหลับนี้ค่ะ
การรักษา ทำได้โดยต้องมาตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ก่อนเนื่องจากโรคนี้พบได้น้อย ยังไม่มียารักษา และต้องแยกสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการง่วงตลอดได้ เช่น โรคซึมเศร้า การใช้ยาบางตัว เป็นต้น ส่วนการรักษาเบื้องต้น มีดังนี้ เพิ่มการงีบหลับอย่างน้อยวันละ 10-15 นาที, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, จัดตารางการนอนหลับของตัวเองในแต่ละวัน, ออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ตรงเวลาเสมอ, หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน งดการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อันตราย
อย่างไรก็ตามปัญหาการง่วงระหว่างวันนั้นเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายได้หลายสาเหตุอย่างไม่น่าเชื่อ และต้องไม่ลืมนะคะว่าจากจากสถิตพบว่าช่วงเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่อยู่ระหว่างตี 4 ถึง 6 โมงเช้าซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายง่วงมากและอีกระยะคือ บ่ายสองถึงบ่ายสามโมงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง โอกาสเกิดความผิดพลาดสูง โดยเฉพาะงานที่ต้องการความแม่นยำสูง ลองสังเกตตัวเองกันดีๆ ว่าตัวเองมีการการอยากหลับผิดปกติขนาดนี้หรือเปล่า ไม่แน่คุณอาจเสี่ยงเป็น “โรคลมหลับ” เอาก็ได้ เช็คตัวเองแล้วถ้าพบสัญญาณของอาการก็ไปพบแพทย์ด่วนเลยค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ