ซ่อมแซมระบบประสาทให้ทัน…ก่อนเจอภาวะสมองเสื่อม!

จากภาวะความครียดที่เกิดขึ้นจากหลายๆ สิ่ง ทั้งการใช้ชีวิต หน้าที่การงาน ปัญหารอบๆ ตัว ทำให้คนเราคิดมาก คิดหนัก เกิดภาวะเครียด มากขึ้น ทำให้เซลล์ของสมองต้องทำงานหนัก และเริ่มลดประสิทธิภาพลงตั้งแต่อายุประมาณ 30 ปี เท่านั้น หลายคนอายุไม่มาก แต่หลงๆ ลืมๆ จะพูดอะไรแต่ละทีก็ลืม วางของไว้ตรงไหนก็จำไม่ได้ นั่นแหละค่ะ คุณอาจเจอภาวะที่เรียกว่า “สมองเสื่อม” เอาได้ง่ายๆ วันนี้เรามาพูดกันถึงเรื่องราวของระบบสมอง และอาการสมองเสื่อมกันดีกว่า จะได้เอาไว้ดูแลตัวเอง ดูแลคนใกล้ตัว เพราะอย่าลืมว่าไม่มีอะไรทรมานเท่ามีชีวิตอยู่แต่จำเรื่องราวอะไรในชีวิตได้น้อยมาก มันน่าเศร้านะคะ!

สมอของคนเราถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญและลี้ลับมากที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ หากสมองได้รับการกระทบกระเทือนหรือบาดเจ็บก็อาจจะส่งต่อร่างกายได้เช่นกัน ภาวะสมองเสื่อม คือ อาการอันเกิดจากความผิดปกติต่างๆ ของสมอง โดยไม่ใช่โรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ ภาวะสมองเสื่อมส่งผลต่อทั้งความคิด , พฤติกรรม ตลอดจนความสามารถในการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันลักษณะอาการของภาวะสมองเสื่อม คือ ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก ความสามารถในการรู้คิดลดลง

การจะสังเกตดูว่าใครเป็นผู้ที่มีอาการทางสมองเสื่อม อาจดูได้จากการที่คนคนนั้นมีความบกพร่องอย่างรุนแรง เช่น ความทรงจำ , ทักษะทางภาษา , ความรู้ความเข้าใจทางด้านข้อมูลข่าวสาร , ทางด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง , การตัดสินใจ นอกจากนี้บุคคลที่ประกับภาวะสมองเสื่อม จะประสบกับความยากลำบาก ในการแก้ปัญหาตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน และการควบคุมอารมณ์ และพวกเขายังอาจประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพอีกด้วย

>> ใครสามารถเป็นโรคสมองเสื่อมได้บ้าง? <<

อาการสมองเสื่อม เกิดขึ้นกับใครก็ได้ หากแต่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุมากขึ้น โดยคนสวนใหญ่ที่ประสบกับโรคสมองเสื่อม มักเป็นผู้สูงอายุ หากแต่มีจุดสำคัญที่คุณผู้อ่านต้องระลึกไว้ว่า ผู้สูงอายุสวนใหญ่นั้น ไม่ได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการมีอายุมากขึ้น หากแต่มัน คือ โรคทางสมอง ในปัจจุบันนี้มีการค้นพบว่า ผู้คนที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี สามารถป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมได้เช่นกัน โดยเรียกว่า ‘โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว’ ซึ่งภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากพันธุกรรมนั้น มีเกิดน้อยมาก เพราะการกลายพันธุ์ในระดับยีนส่งผลให้เกิดโรคนี้ หากแต่เหตุผลส่วนใหญ่ของภาวะสมองเสื่อมนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเหล่านี้ แต่คนที่มีประวัติว่า บุคคลภายในครอบครัวเคยประสบเกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อม ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นตามไปด้วย

ภาวะสมองเสื่อมอันเกิดจากโรคหลอดเลือด จะนำมาวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อมีร่องรอยของโรคหลอดเลือดปรากฏอยู่ในสมอง ร่วมด้วยส่วนของการรู้คิดบกพร่อง ซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตในประจำวันมาก โดยหลอกเลือดอาจปรากฏเกิดขึ้นคล้ายกับโรคอัลไซเมอร์ และการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็มักจะมาพร้อมกับโรคหลอดเลือดด้วยเช่นกัน

>> ดูแลสมองของคุณวันนี้ <<

แม้ภาวะสมองเสื่อมบางชนิดไม่อาจป้องกันได้แต่การดูแลที่ดีอาจช่วยให้สุขภาพสมองของคุณดีกว่า ในระยะยาว ลองทำตามวิธีดังต้อไปนี้ดูค่ะ จะได้รักษาระบบสมองของคุณให้ยืนยาวมากขึ้น

  • ควบคุมน้ำหนัก เพราะความอ้วนสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อม

ความอ้วนนำพาโรคร้ายสู่ร่างกายมากมาย เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดัน มะเร็ง แล้วยังเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมอีก โดยปัจจุบันนักวิจัยพบว่าความอ้วนมีส่วนสัมพันธ์กับสมองเสื่อม และคนที่อ้วนมากๆ ในวัยกลางคนเพิ่มความเสี่ยงความจำเสื่อมในเวลาต่อมาสูงถึง 2 เท่า คนที่อ้วนปานกลางถึงอ้วนมากจะมีสมองเล็กกว่าผู้ที่ไม่อ้วนถึง 4 – 8 % อีกทั้งความอ้วนยังทำให้มีความดันโลหิตและคอเลสตอรอลสูง สัมพันธ์กับความอ้วน จะเพิ่มความเสี่ยงความจำเสื่อม 6 เท่า

นอกจากนี้ผู้ที่มีไขมันในร่างกายมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนพุง ยังมีความเสี่ยงสมองเสื่อมเกือบ 3 เท่าของคนผอมที่สุด จะเห็นได้ว่ายิ่งระดับไขมันสูงเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การดูแลน้ำหนักตัวให้เหมาะสมจึงเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคสมองเสื่อม

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยต้านโรคสมองเสื่อม

สารอนุมูลอิสระสามารถฆ่าเซลล์สมองทีละน้อยๆ โดยสารต้านอนุมูลอิสระทั้งส่วนที่ร่างกายสร้างเองและส่วนที่จำเป็นต้องกินจากอาหารจะช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกายและสมองได้ อาทิ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ซึ่งพบมาใน แอปเปิ้ล องุ่น บลูเบอร์รี่ พรุน ผักเขียว ผักแดง ผักสีเหลือง ชาเขียว ชาใบหม่อน เป็นต้น, กรดโอเมก้า 3 ก็ช่วยป้องกันอันตรายให้กับไขมันที่หุ้มเซลล์ประสาท กรดโอเมก้า-3 มีมากในปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า ซาร์ดีน ปลาทู ปลากะพง ส่วนในพืชพบมาในถั่ววอทนัท ถั่วเหลือง, คาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี ช่วยเพิ่มสารสื่อประสาท ซีโรโทนิน และช่วยให้หลับสบาย, โปรตีน ช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้อิ่มง่าย  หรือจะเป็นกาแฟเพียงเล็กน้อยก็ช่วยเพิ่มความตื่นตัว พลังงาน และเพิ่มความจำระยะสั้น ทำให้จดจ่อกับการทำงาน มีผลช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคซึมเศร้าได้เล็กน้อย

  • มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ

การได้พูดและคุยเล่นกับเพื่อนบ่อยๆ ช่วยลดอัตาเสี่ยงโรคสมองเสื่อมได้ รวมถึงการเข้าสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ยิ่งเดี๋ยวนี้สามารถทำการรวมกลุ่มอะไรกันไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายมาก จะเห็นว่าปัจุบันมีการสร้างสังคมย่อยๆ มากมายตามความชอบและรสนิยม เราควรเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น รวมกลุ่มออกกำลังกาย วิ่งมาราธอน รวมกลุ่มเป็นอาสาสมัครทำกิจกรรมในสังคม หรือกิจกรรม work shop ต่างๆ ตามความสนใจ ซึ่งการได้พบเพื่อนใหม่ ได้ทำอะไรใหม่ๆ ส่งผลดีต่อสุขภาพสมองเราด้วย

  • นอนหลับให้มากพอในแต่ละวัน

การอดนอนจะมีผลต่อการทำงานของสมองในส่วนต่างๆ ให้ทำงานผิดไป เช่นที่สมองส่วนหน้าสุด (prefrontal cortex) จะทำให้การเรียนรู้จากคำพูด (verbal learning tasks) แย่ลง ส่วนกลีบสมองบริเวณขมับ (Temporal lobe) จะทำให้การเรียนรู้ด้านภาษา (language processing) ช้าลง  เราควรพยายามเลี่ยงการอดนอน นอนดึก นอนไม่เป็นเวลา เพราะจะทำให้สมองเสื่อมเร็วกว่าการนอนหลับที่ได้คุณภาพซึ่งจะช่วยให้สมองแจ่มใส

  • การทำสมาธิพัฒนาเซลล์สมอง

มีอยู่วิธีหนึ่งในการป้องกันโรคสมองเสื่อมซึ่งกำลังเป็นที่สนใจอย่างมากนั่นคือการทำสมาธิ โดยมีผลการวิจัยหนึ่งระบุว่าขณะที่ทำสมาธิ มีการเปลี่ยนแปลง ในสมองที่วัดได้ในทางวิทยาศาสตร์ แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลง คลื่นสมอง คลื่นแห่งความคิด คลื่นแห่งความสงบสบาย เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ และ ความหนาแน่นของเนื้อสมองในคนที่ทำสมาธิ กลุ่มคนที่ทำสมาธิสม่ำเสมอมีสภาวะเสื่อมสภาพของสมอง น้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ทำสมาธิ และการเปลี่ยนแปลง นี้เกิดขึ้นเร็วมาก ภายในเวลาเป็น อาทิตย์ เลยทีเดียว เรามาทำสมาธิเพื่อป้องกันสมองเสื่อมกันเถอะ

แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคสมองเสื่อมให้หายได้ แต่เชื่อเถอะค่ะว่าเราป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากภาวะนี้ได้ แค่หันมาดูแลตัวเองดีๆ ทำตามคำแนะนำที่เราเอามาฝาก หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่จะทำให้กระทบต่อระบบสมอง ไม่เครียด พักผ่อนเยอะๆ เรื่องของความหลงลืมนั้นคนเราเป็นกันได้ เพราะเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากอาการหลงๆ ลืมๆ ที่มากเกินไปนั้นมาจากภาวะสมองเสื่อมอันนี้ห้ามชะล่าใจนะคะ รีบไปพบแพทย์ด่วนๆ หรือคอยสังเกตคนใกล้ตัวถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติ ต้องรีบพาไปตรวจด่วนๆ เลยค๊า

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

วิธีคลายเครียด หลังเลิกงาน เคล็ดลับของคนวัยทำงานตามแบบฉบับญี่ปุ่น

หลายสิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับผู้ป่วย “โรคซึมเศร้า”

เช็คด่วน! สัญญาณอันตรายบอกโรค ที่คุณอาจคาดไม่ถึง

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.