ดูแลตัวเอง วัยใกล้หมดประจำเดือนหมด รักษาสุขภาพ

คำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพ ฉบับคุณผู้หญิงวัย ใกล้หมดประจำเดือน

ผู้หญิงอย่างเราสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหนก็ควรต้องดูแลตัวเอง แต่สำหรับวัย ใกล้หมดประจำเดือน ยิ่งต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่อง

ถ้าเรารู้จักวิธีรับมือกับปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้น ศึกษาวิธีป้องกัน วิธีแก้ไขเอาไว้เนิ่น ๆ เชื่อว่า โรคภัยต่าง ๆ จะไม่สามารถเข้ามากร้ำกรายร่างกายของเรา แม้ในวัย ใกล้หมดประจำเดือน ได้อย่างแน่นอน

วันนี้ เราจึงอยากพูดถึงความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการรักษาสุขภาพอนามัยของคุณผู้หญิง ที่ไม่ได้เน้นเฉพาะเรื่องของความสวยความงามเพียงอย่างเดียว เพราะขึ้นชื่อว่าผู้หญิงแล้ว ไม่ว่าใครก็ย่อมอยากดูสวย และสุขภาพดีไปพร้อม ๆ กัน ไปดูคำแนะนำในการรักษาสุขภาพของคุณผู้หญิงที่เรารวบรวมมาฝากกันดีกว่าค่ะ และที่สำคัญคือต้องไม่ลืมว่าจะอยู่ในวัยไหนก็ต้องใส่ใจ ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี อะไรที่ทำแล้วดีก็ทำตาม อะไรที่ไม่ดีก็เลิกทำนะคะ

ใส่ใจตัวเองตั้งแต่วันนี้ แล้วสิ่งดี ๆ อื่น ๆ จะตามมาค่ะ

>> ทางเลือกสำหรับผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน <<

ผู้หญิงทุกคนสามารถมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ ด้วยการไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งการหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูกของร่างกายด้วยเช่นกัน เคยอ่านเจอบทความจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่บอกเอาไว้ว่าผู้หญิงที่อยากมีสุขภาพดีอยู่เสมอ จำเป็นต้องได้รับแคลเซียม และวิตามินดีเสริม เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน ดังนั้น ควรกินอาหารที่มีแคลเซียมเยอะ ๆ หรืออาหารที่มีวิตามินเยอะ ๆ มารับประทานค่ะ

>> ไม่เครียดและหมั่นหาอาหารเสริมมารับประทาน <<

การที่บุคลิก หน้าตา ผิวพรรณ จะแสดงออกมาภายนอกให้คนรอบข้างเห็น สิ่งที่เป็นตัวกำหนดนั้นต้องออกมาจากภายใน เพราะถ้าเราคิดดี คิดบวกอยู่เสมอก็จะส่งผลให้เราแสดงออกมาในทางที่สดใส แต่ถ้าเราคิดในแง่ลบหรือเครียดอยู่ตลอด ก็จะส่งผลทำให้สุขภาพของคุณไม่ดีตามไปด้วย เพราะฉะนั้นพยายามมีความสุข สนุกในการใช้ชีวิต จะทำให้เกิดเรื่องดี ๆ หลายรูปแบบตามมาโดยเฉพาะสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณ เรียกได้ว่าเป็นการดูแลตัวเองจากภายในอีกทางหนึ่ง

และรู้มั้ยคะว่าตอนนี้ด้วยเวลาที่มีน้อยเหลือเกินในแต่ละวันการรับประทานอาหาร 3 มื้อดูจะไม่เพียงพอสำหรับการดูแลตัวเองอีกต่อไป การทานอาหารเสริมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลตัวเองของสาว ๆ หนุ่ม ๆ สมัยนี้ และยิ่งมีตัวเลือกมากมายไม่ว่าจะในเรื่องของการบำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา วิตามินต่างๆ ที่เราอาจจะกินไม่ครบ อาหารเสริมจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญเลยล่ะค่ะ

>> การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกับรังไข่ <<

สาวๆ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้รังไข่เกิดความผิดปกติขึ้นได้ค่ะ และมีผลทำให้เกิดภาะขาดฮอร์โมน ทำให้เป็นหมัน ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ประจำเดือนมาไม่ปกติ และภาวะหมดประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ เป็นต้น

>> ร้อนวูบวาบในช่วง ใกล้หมดประจำเดือน <<

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้คือคำแนะนำในการบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือนมาฝากค่ะ คุณผู้หญิงควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ และน้ำหนักเบาที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เผ็ดร้อน รวมไปจนถึงอาหารที่มีไขมันมาก ดื่มเครื่องดื่มเย็น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำเย็นๆ และเลี่ยงดื่มน้ำที่ร้อนจัดค่ะ

>> อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ในช่วงวัย ใกล้หมดประจำเดือน <<

อาการอารมณ์ไม่คงที่เป็นอาการของคนวัยใกล้หมดประจำเดือน ที่อาจบรรเทาได้ด้วยการทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ คือ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มพลังและผ่อนคลายความตึงเครียด พูดคุยกับผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนด้วยกัน เพื่อขอคำแนะนำ ปรึกษา และแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่สร้างความตึงเครียดที่มีอยู่ กินอาหารที่มีประโยชน์ ได้สัดส่วน และขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับชนิดและวิตามินเสริมที่เหมาะกับตัวคุณ

>> เผชิญหน้ากับ PMS <<

การกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะจะช่วยป้องกันอาการที่เกิดจากภาวะหลังหมดประจำเดือน (PMS) ได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะอาหารบางชนิดได้รับการวิจัยออกมาแล้วว่ามีส่วนช่วยบรรเทาอาการหลังหมดประจำเดือนได้ดียิ่งขึ้น เช่น พาสต้า ผักใบเขียว ธัญพืชที่ไม่ผ่านการแปรรูป ขนมปัง ซีเรียล หลีกเลี่ยงพวกช็อกโกแลต หรือน้ำอัดลม เพราะพวกนี้จะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นอาการหลังหมดประจำเดือนให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

>> ช่องคลอดแห้งในช่วงวัย ใกล้หมดประจำเดือน <<

เพื่อรักษาอาการช่องคลอดแห้ง คุณสาว ๆ ลองทำตามคำแนะนำนี้คือ หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ดับกลิ่น รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกับบริเวณช่องคลอด หลีกเลี่ยงการใช้สารหล่อลื่นที่ละลายน้ำขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือเลี่ยงการใช้น้ำมันหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

เมื่อทราบคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพของคุณสาว ๆ วัยใกล้หมดประจำเดือนที่เราเอามาฝากแล้ว คุณสาว ๆ ก็อย่าลืมเอาไปดูแลและสังเกตตัวเองดูนะคะ อย่าปล่อยให้ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนมาทำให้เราป่วยก่อนแล้วค่อยไปให้หมอรักษา แบบนั้นไม่ดีแน่ ๆ อย่าลืมว่าป่วยแล้วไม่มีอะไรดีเลย ร่างกายก็ทรุดโทรม ที่สำคัญเราต้องดูแลร่างกายจากภายในออกมาสู่ภายนอก ดูแลมาจากข้างใน ที่สำคัญต้องดูแลไปถึงสุขภาพจิตของเราด้วย เพราะหากเรามีจิตใจที่แจ่มใสก็จะส่งผลให้เราดูดี แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ แบบนี้รับรองว่าสวยแบบสาวสองพันปีกันทุกคนแน่นอน

อาหารลดอาการร้อนวูบวาบของสาววัยทอง

  1. อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เทมเป้ แป้งถั่วเหลือง เพราะในถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavone) ซึ่งคล้ายกับเอสโทรเจน จะช่วยชดเชยการขาดเอสโทรเจน และยังช่วยปรับระดับเอสโทรเจนให้ลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่สมดุลกับโพรเจสเทอโรนด้วย
  2. อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจะช่วยให้กระดูกแข็งแรงและปรับระดับไขมันในเลือดให้สมดุล รวมทั้งช่วยป้องกันการเกิดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน และช่องคลอดแห้งได้
  3. อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันจากพืช เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก เมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชจำพวกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์
  4. ปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาซาบะ ปลาสวาย และ
    พุงปลาช่อน สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มกรดไขมันจำเป็นให้ร่างกายนำไปสร้างความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง ช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
  5. ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม แอ๊ปเปิ้ล เซอร์รี่ พลัม สับปะรด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ
  6. หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น กาแฟ เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ไวน์ ช็อกโกแลต ชีส และเลี่ยงอาหารรสจัด เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการร้อนวูบวาบมากขึ้น

บทความอื่นที่น่าสนใจ

การวิ่ง ไม่ทำให้เข่าเสื่อม!! พร้อมเทคนิควิ่งเสริมข้อแข็งแรง

แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

ติดตามชีวจิตได้ที่
https://www.instagram.com/cheewajitmedia/

https://www.facebook.com/CheewajitMagazine

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.