“ใหลตาย” ภาวะอันตรายที่อาจทำให้ตายโดยที่ไม่รู้สึกตัว
ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า “หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” ความน่ากลัวคือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ที่ผู้ตายไม่มีโอกาสรู้ตัว อาการใหลตาย เกิดจากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงที่สุด ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะสมองได้
เมื่อสมองขาดออกซิเจนอาจแสดงอาการชักเกร็ง หายใจครืดคราดผิดปกติคล้ายนอนละเมอ เรียกไม่รู้ตัว โดยความผิดปกติมักพบในขณะนอนหลับ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถ้าการเต้นผิดจังหวะของหัวใจนั้นเกิดนานพอและไม่ได้รับการรักษา แต่ผู้ป่วยอาจจะรอดชีวิตฟื้นขึ้นมาได้กรณีที่การเต้นผิดจังหวะของหัวใจหยุดเองหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสมอันได้แก่การช็อคหัวใจหรือการปั๊มหัวใจ
ผู้ที่มีความเสี่ยงก็คือ ชายวัยทำงาน (อายุ 25 – 55 ปี) แต่ก็สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงในเด็กหรือในผู้สูงอายุได้เช่นกันสำหรับในประเทศไทย พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และรองลงมาในภาคเหนือ
สาเหตุสำคัญมาจากการที่ร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคมี 2 ประการด้วยกัน ได้แก่
- การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
- การขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดี ๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที
การป้องกันทำได้โดยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
- หลีกเลี่ยงออกกำลังกายหรือทำงานหนักเกินไป
- หลีกเลี่ยงประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลปริมาณมาก
- และที่สำคัญคือควรพักผ่อนให้เพียงพอ
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
-
- เช็กอาการเสี่ยง! “หัวใจล้มเหลว” หอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- ขี้เกียจตื่นเช้า ง่วงตอนบ่าย ชอบของหวาน เสี่ยง “ต่อมหมวกไตล้า”
- อาการปวดแบบนี้ ปวดกระดูก หรือปวดกล้ามเนื้อกันแน่นะ?
- แก้ปวดหัวไมเกรน ด้วยการปรับพฤติกรรมเสี่ยงและเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
- วิธีกินผัก-ผลไม้ ต้องกินอย่างไรถึงจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
- มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า?
- ระวังเอาไว้! “นั่งนาน” เกินไป นอกจากปวดบ่า ไหล่ หลัง แล้วยังทำให้ชีวิตสั้นลง