นิ้วล็อก อย่าเพิ่งช็อก! หายขาดได้ถ้ารีบแก้ไขและรีบไปรักษา
มนุษย์ออฟฟิศไม่ว่ายุคสมัยไหนก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน บางทีนั่งพิมพ์ทั้งวันวนไปอยู่อย่างนั้นจนปวดมือปวดนิ้ว นานวันเข้าก็เริ่มรู้สึกว่านิ้วเริ่มตึง เคลื่อนไหวยาก เวลางอนิ้วจะรู้สึกติดขัด ใครที่มีอาการแบบนี้อย่าเพิ่งตกใจ หรือช็อกจนทำอะไรไม่ถูก แต่ให้คิดและตั้งข้อสงสัยไว้ว่า เราอาจใช้นิ้วหรือใช้ข้อมือมากเกินไปจนเป็นโรค “นิ้วล็อก”
สำหรับสาเหตุของโรคนิ้วล็อกนั้น เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือหรือตรงโคนนิ้ว แม้ว่าก่อนหน้านี้กลุ่มเสี่ยงจะเปลี่ยนหญิงสูงวัยอายุประมาณ 40-50 ปี แต่ตอนนี้โรคนิ้วล็อกเริ่มคืบคลานเข้ามาใกล้วัยทำงานมากขึ้น เนื่องจากวัยทำงานต้องพิมพ์งานผ่านคียบอร์ด โทรศัพท์ และไอแพดแทบจะตลอดเวลา
อาการของโรคนิ้วล็อกจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
เริ่มจากระยะที่ 1 เริ่มปวดบริเวณโคนนิ้วมือ แต่ยังไม่มีอาการติดขัดหรือสะดุด
ต่อด้วยระยะที่ 2 มีอาการติดขัดและสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว หรือเหยียดนิ้ว เนื่องจากปลอกเส้นเอ็นจะตีบแคบลง
และระยะที่ 3 เมื่องอนิ้วจะมีอาการติดขัด ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้ ต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยในการเหยียดนิ้วมือออกมา
สุดท้ายคือระยะที่ 4 อักเสบและบวมบริเวณนิ้ว ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้ ถ้าพยายามใช้อีกมือแกะออกจะปวดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โรคนิ้วล็อก นั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ ข้อที่ค้างอยู่งอไม่ลงอาจจะทำให้มีข้อยึดและส่งผลให้เกิดข้อยึดติดถาวรถึงแม้จะทำการรักษาแล้วก็ตาม จึงไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการในระยะที่ 3 หรือระยะที่ 4 ไว้เป็นเวลานานๆ
สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อกนั้นสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยง การใช้งานนิ้วหรือข้อมือที่หนักเกินไปจนส่งผลกระทบต่อเส้นเอ็น อย่างเช่นการหิ้วของหนัก ส่วนการทำงานที่ต้องใช้มือเป็นระยะเวลานานเช่น พิมพ์งาน ก็ควรเว้นให้มีระยะพักยืดเส้นยืดสายบ้าง
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
- 5 ไม่! ที่จะช่วยให้นั่งทำงานแล้วไม่มีอาการ “ปวดหลัง” ตามมา
- “มะเร็งปากมดลูก” โรคร้ายที่ป้องกันได้
- ปัญหา “ต้นขาใหญ่” ต้องทำยังไง ใช้วิธีลดแบบไหนถึงจะได้ผล?
- 5 เคล็ดลับสวยสุขภาพดี ฉบับรับหน้าฝนกับ “สินค้าตราวัตสัน”
- รู้จัก “แอนโทไซยานิน” Super Food สีม่วง เทรนด์สุขภาพมาแรงล่าสุด
- รู้หรือไม่? “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “แพ้อาหาร” ไม่เหมือนกัน
- เช็กอาการ “มะเร็งสมอง” ภัยร้ายใกล้ตัว อาการแบบไหนที่ควรระวัง