คนโง่-คนฉลาด-อวดฉลาด

“โง่! แต่อวดฉลาด” Dunning-Kruger Effect อคติเชิงการรับรู้ คนไม่เก่ง ชอบคิดว่าตัวเองเก่ง

“โง่! แต่อวดฉลาด” Dunning-Kruger Effect อคติเชิงการรับรู้ คนไม่เก่ง ชอบคิดว่าตัวเองเก่ง

ทำงาน-เพื่อนร่วมงาน-คนฉลาด

“โง่! แต่อวดฉลาด” เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เรานั้นมักตัดสินใจผิดพลาด เพราะคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าที่เป็น

ปรากฎการณ์นี้ในทางทฤษฎีเรียกว่า Dunning-Kruger Effect ซึ่งตั้งชื่อตามเจ้าของผลงานวิจัย เดวิด ดันนิง (David Dunning) เเละ จัสติน ครูเกอร์ (Justin Kruger) ที่ได้รับรางวัลอิกโนเบล (รางวัลที่มอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่ไม่น่าจะเป็นไปได้) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในศาสตร์หนึ่งๆ ระดับความรู้จะมีผลต่อการประเมินตัวเราเองว่าเรารู้มากน้อยแค่ไหน

ยกตัวอย่างเช่น คนที่ไม่รู้อะไรเลย ก็จะบอกว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลยนั่นแหละ (ก็เพราะว่าไม่รู้จริงๆ ไม่มีข้อมูลมาอธิบาย เลยยอมรับความจริงว่าไม่รู้) ส่วนคนที่รู้นิดหน่อย มักจะคิดว่าตัวเองรู้เยอะกว่าที่เป็น และมีความมั่นใจในตัวเองสูง ซึ่งระยะนี้มีชื่อเรียกว่า “ยอดเขาแห่งความโง่”

แต่เมื่อได้ศึกษาและมีความรู้มากขึ้น ก็จะเริ่มเข้าใจแล้วว่ายังมีข้อมูลต่างๆ อีกมากมายที่ยังไม่รู้ จนทำให้เริ่มตระหนักกับตัวเองแล้วว่า เรามีความรู้น้อยกว่าที่เราประเมินตัวเองไว้ ในระยะนี้จะเรียกว่า “แอ่งแห่งความสิ้นหวัง”

ต่อมาเมื่อได้ศึกษาจนรู้ทุกอย่างในศาสตร์นั้นแล้ว ก็จะทำให้รู้ตัวเองว่าเรารู้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งก็คือหมดจริงๆ สิ่งที่เรารู้จริงจะเท่ากับสิ่งที่เราคิดว่าตัวเองรู้ ระยะนี้จึงเรียกว่าระยะของ “ผู้เชี่ยวชาญ”

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงนิสัยส่วนตัวหรือระดับสติปัญญาของใครแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติถ้าหากเราได้พบเจอกับคนที่รู้อะไรไม่มาก แต่คิดว่าตัวเองรู้เยอะกว่าที่เป็นจริง เพราะเมื่อมีตัวตนเข้ามาเกี่ยวกับก็จะทำให้การประเมินคลาดเคลื่อนไปจากความจริง

ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะมีวิธีรับมือกับคนเช่นนี้อย่างไรบ้าง และถึงเวลาที่จะหันกลับมาถามตัวเราเองว่า เรากำลังเป็นแบบนี้โดยที่ไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า

แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เราเปลี่ยนจากคนที่ไม่รู้ กลายเป็นคนที่มีความรู้ก็คือการเปิดรับสิ่งต่างๆ และหมั่นพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

คนโง่-คนทำงาน-ออฟฟิศ

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.