6 พฤติกรรม กินเค็ม เสี่ยงโรคความดัน ไต หัวใจ และอัมพาต

6 พฤติกรรม กินเค็ม เสี่ยงโรคความดัน ไต หัวใจ และอัมพาต

6 พฤติกรรม กินเค็ม เสี่ยงโรคความดัน ไต หัวใจ และอัมพาต

คนไทยกินเค็มกว่าความต้องการของร่างกายถึง 2 เท่า โดย กินเค็ม (โซเดียม) ประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ความต้องการของโซเดียมในร่างกายของคนเราที่ได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตราย คือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ส่งผลทำให้คนไทย โดยส่วนใหญ่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDS เช่น โรคความดัน  ไต  หัวใจ และอัมพาต

 

พบว่าคนไทยที่เป็นวัยรุ่น และมีภาวะความดันโลหิตสูงมีเพิ่มจำนวนมากขึ้นและอายุน้อยลงเรื่อย ๆ  โดยปัจจุบัน พบผู้ป่วยเบาหวานและความดัน  อายุเพียง 20 กว่าปี เพิ่มมากขึ้น  พอเริ่มทำงานอายุประมาณ 30 กว่าปี เริ่มป่วยเป็นโรคไต ทั้งนี้เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง และจากการสำรวจล่าสุดพบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี มีการบริโภคเค็ม เกินปริมาณ 2-5 เท่า  ดังนั้นจึงมีวิธีการลดเค็มง่าย ๆ ด้วยการหยุด !  6 พฤติกรรมติดเค็ม ประกอบด้วย

 

1. ปรุงรสชาติอาหารโดยไม่ชิม

อาหารส่วนใหญ่ที่ปรุงมานั้นมีรสชาติความเค็มอยู่แล้ว หรือมีโซเดียมสูงอยู่แล้ว แต่พอไม่ชิมแล้วปรุงเพิ่มไปอีก ก็ยิ่งทำให้ได้รับโซเดียมเพิ่มมากขึ้น

 

2. ติดการกินอาหารแปรรูป

อาหารแปรรูปนั้นมีโซเดียมในตัวอยู่แล้ว จากการถนอมอาหารและมีโซเดียมแฝงเข้ามาอีกจากการเติมสารปรุงแต่งต่าง ๆ จึงทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมคูณสองเข้าไปอีก

 

3. ราดน้ำจิ้ม แบบไม่บันยะบันยัง

อีกหนึ่งนิสัยของคนไทยคือ ชอบราดน้ำจิ้มแบบเยอะ ๆ ซึ่งตัวอาหารบางอย่างก็มีโซเดียมอยู่แล้ว พอจิ้มน้ำจิ้มเพิ่มเข้าไปก็ยิ่งได้รับโซเดียมเพิ่มเข้าไปอีก

6 พฤติกรรม กินเค็ม เสี่ยงโรคความดัน ไต หัวใจ และอัมพาต

4. ซดน้ำซุปแทบหมดชาม

อาหารกลุ่มก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ สุกี้ต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นมาก เพราะมีการเติมซอสปรุงรส ซุปก้อน ผงปรุงรสต่าง ๆ ลงไป ซึ่งถือว่ามีโซเดียมปริมาณสูง

 

5. เสพติดน้ำยำ ส้มตำต่าง ๆ

ในน้ำยำ  น้ำส้มตำเหล่านี้มีการเติมผงปรุงรสที่มีโซเดียมสูง โดยสารปรุงรสเหล่านี้มักไม่ค่อยเค็ม จึงต้องมีการเติมลงไปมาก ๆ เพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ

 

6. กินอาหารที่มีไตปลา ปลาร้า พริกแกง และกะปิ

เนื่องจากวิธีการทำอาหารทั้ง 4 อย่างนี้ โดยธรรมชาตินั้น มีโซเดียมผสมอยู่แล้วและหากมีการปรุงรสเพิ่มเข้าไปอีก ก็ยิ่งทำให้ผู้ทานได้โซเดียมจากสารปรุงรสเข้าไปอีก

 

ผู้อ่านท่านใดหากเกิดปัญหาในเรื่องของการลดการบริโภคเค็ม หรือต้องการช่วยรณรงค์การลดบริโภคเค็มเพื่อช่วยเหลือหรือแนะนำตัวเอง เพื่อน หรือผู้ใกล้ชิด  สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เพจเว็บไซต์ www.lowsaltthai.com  หรือ @ ไลน์  ได้ที่ @lowsaltthailand

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ อาจารย์สาขาวิชาโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม

 

บทความเพื่อสุขภาพที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน

อาหาร​แก้ท้องผูก​ ช่วยระบาย​ สำหรับคนที่ขับถ่ายยาก​ ถ่ายไ​ม่ออก​ อุจจาระแข็ง​

กินบำรุงผิว ผิวสวย สุขภาพดี สดใสจากภายในสู่ภายนอก ด้วยไฟโตนิวเทรียนท์

ผิวสวย สุขภาพดี สร้างได้ แค่ปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.