เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ภายใน 5 สัปดาห์

วิธีพัฒนาตนเอง เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ภายใน 5 สัปดาห์ สำหรับคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง

วิธีพัฒนาตนเอง เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ภายใน 5 สัปดาห์ สำหรับคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง

บางครั้ง เราอยากพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ก้าวหน้ามากขึ้น แต่รู้สึกกังวล และ กลัวที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตตรงหน้าของเรานั้นจะเป็นเช่นใด เราจึงต้องพยายามรักษาตัวเราให้อยู่ในพื้นที่ที่รู้สึกว่าปลอดภัย เคยชินกับพฤติกรรมเช่นเดิมอยู่เสมอ แต่ถ้าเราต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่างจากเดิม ต้องการการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เราต้อง “กล้าที่จะเปลี่ยน” แต่ วิธีพัฒนาตนเอง ที่เคยอ่านก็ดูเหมือนจะทำได้ยากเหลือเกิน

Goodlifeupdate เข้าใจความรู้สึกของคนที่อยากที่เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังแอบรู้สึกกลัวการเปลี่ยนแปลง วันนี้ Goodlifeupdate จึงขอนำเสนอเทคนิคดีๆ ในการเปลี่ยนแปลงตัวเองภายในเวลา 5 สัปดาห์ เพื่อพาตัวเราก้าวข้ามข้อจำกัดของตัวเราเอง และค่อยๆสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับตัวเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป

เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ภายใน 5 สัปดาห์

 

สัปดาห์ที่ 1 เขียนเกี่ยวกับตัวเองลงในกระดาษ A4

แบ่งหน้ากระดาษ A4 ออกเป็นสามคอลัมน์ในแนวตั้ง ได้แก่

  • ช่องแรก คือ ตัวเราในปัจจุบัน

เขียนอธิบายลักษณะของตัวเองในปัจจุบัน เช่น อ้วน ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ผมชี้ฟูขาดการบำรุง เป็นสิว เป็นต้น นึกอะไรออกก็เขียนลงไปให้หมด

 

  • ช่องที่สอง คือ ตัวเราจากนี้ไป

เขียนสิ่งที่ตรงข้ามกับช่องแรกลงในช่องที่สอง เช่น หากเรารู้สึกว่าเราอ้วนเกินไป ก็เขียนลงไปว่า “หุ่นดี” หากเรารู้สึกว่าเราไม่เก่งภาษาอังกฤษ ก็เขียนลงไปว่า “เก่งภาษาอังกฤษ” หากเรารู้สึกว่าผมของเราชี้ฟู ขาดการบำรุง ก็เขียนลงไปว่า “ผมสวยสุขภาพดี” และหากเราเป็นสิว ก็เขียนลงไปว่า “ผิวเรียบเนียน” เป็นต้น

สิ่งสำคัญของการเขียนช่องที่สองนี้ คือ การได้รับ “ความมั่นใจ” ว่าเราสามารถ “เปลี่ยนแปลง” ได้ และหากเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ในอนาคต ไม่ว่าเราจะอยากเปลี่ยนตัวเองไปในทิศทางไหน ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น โดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนตัวของเราเองเสียก่อน

 

  • ช่องที่สาม คือ วิธีการที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง

เช่น ถ้าเราอยากมีรูปร่างที่ดีขึ้น เราต้องเริ่มออกกำลังกาย หรือ สมัครฟิตเนส

ถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษ ก็ต้องฝึกท่องศัพท์ อ่านข่าวภาษาอังกฤษ เป็นประจำทุกวัน

สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่กำหนดว่า “ตัวเราจากนี้ไป” คืออะไร แต่เราต้องเขียน “พฤติกรรม” ที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นให้ได้ด้วย

พูดง่ายๆคือ พยายามทำให้เป็นรูปธรรม และลงรายละเอียดไปถึงระดับที่ควรเริ่มทำอะไรสักอย่างได้ทันที

โดยวิธีการที่จะนำไปสู่พฤติกรรมนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนบอกว่าต้องทำอะไรแบบคร่าวๆเท่านั้น แต่เราต้องศึกษาอย่างถ่องแท้ถึงวิธีการที่จะทำให้เราทำเป้าหมายให้สำเร็จได้จริงๆ เช่น ถ้าเราอยากมีรูปที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่บอกตัวเองให้ไปออกกำลังกาย แต่เรายังต้องมีการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ในปริมาณที่เหมาะสม อีกด้วย

การค้นคว้า ศึกษา หาข้อมูลว่า “ต้องทำอย่างไร” จึงจะเป็นแบบนั้นได้ ก็เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม

เมื่อเรากรอกรายละเอียดลงในช่องทั้ง 3 ช่องครบแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ “ลงมือทำ”

สมองและร่างกายของมนุษย์เกลียดการเปลี่ยนแปลงถ้าปล่อยไว้แล้วคิดว่า “เอาไว้ค่อยทำ” หรือ “สักวันค่อยเริ่ม” สิ่งที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้นั้นก็จะไม่สำเร็จสักที

หลังจากที่เราระบุช่องที่ 1 และ 2 ได้แล้ว ลองคิดหาวิธีการที่จะทำให้เราเปลี่ยนจากช่องที่ 1 มาเป็นช่องที่ 2

 

สัปดาห์ที่ 2 บันทึกสิ่งใหม่

เมื่อมาถึงสัปดาห์ที่ 2 เราน่าจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตัวเรา ตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาบ้างแล้ว ในสัปดาห์นี้ เราจะสร้างความเปลี่ยนให้กับตัวเราเพิ่มมากขึ้นด้วยการเริ่มทำพฤติกรรม “ใหม่ๆ” ทุกวัน วันละอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น การตื่นให้เช้าขึ้น การลองสั่งเมนูอาหารที่ไม่เคยสั่งมาก่อน และการลองพูดคุยทักทายคนที่ไม่เคยคุยด้วยมาก่อน เป็นต้น

จัดบันทึกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การได้ลงมือทำ ก็ถือเป็นความสำเร็จแล้ว โดยการบันทึกสิ่งใหม่นั้น เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของเราด้วย เพราะเมื่อเราต้องการที่จะจดบันทึกสิ่งใหม่ให้ได้ทุกวัน เราก็ต้องพยายามทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ เป็นเหมือนความท้าทายและเป้าหมายในทุกๆ วันของเรา

 

สัปดาห์ที่ 3 ความยุ่งยาก คือ สัญญาณของการเริ่มลงมือทำ

เห็นบิลค่าใช้จ่ายมากมาย แล้วรู้สึกยุ่งยาก วุ่นวายใจขี้เกียจไปชำระหนี้

เห็นงานกองเป็นตั้ง แล้วรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำ

เห็นงานยากๆแล้วกำลังใจถดถอย ไม่อยากลงมือทำ

เห็นเครื่องออกกำลังกาย แล้วขี้เกียจเกินกว่าจะลุกไปออกกำลัง

หากเราอยากเป้นขึ้นที่ดีขึ้น นอกจากการทำสิ่งที่ดีต่อตัวเราเองแล้ว เราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีเหล่านั้นให้เป็น “นิสัย” อีกด้วย

 

เคล็ดลับคือ เมื่อเรารู้สึก “ยุ่งยาก” เมื่อไหร่ ให้ลงมือแก้ปัญหานั้นทันที!

เปลี่ยน “ความรู้สึกยุ่งยาก” ให้กลายเป็น “สัญญาณ” เริ่มลงมือทำ

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้สึกว่าเรามีบิลค่าใช้จ่ายมากเกินไปแล้ว อย่ารอช้า รีบไปจ่ายทันที

หากเรามีจานชามที่ยังไม่ได้ล้างกองเต็มอ่างล้างจาน รีบทำความสะอาดทันที

หากเรามีงานกองโตที่รอให้ทำ อย่ารอให้ถึงกำหนดส่งแล้วค่อยเร่งทำ รีบทำเสียตั้งแต่ตอนนี้เลย

เมื่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เป็นประจำ เราก็จะติดเป็นนิสัย และช่วยให้เลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่งได้อีกด้วย

 

สัปดาห์ที่ 4 ลองทำเรื่องที่ “น่าอาย” สุดๆ

ลองพาตัวเราออกจาก Comfort Zone ด้วยการลองทำอะไรที่เรารู้สึกว่า “น่าอาย” ดูบ้าง เช่น การพูดทักทายคนแปลกหน้า การทักทายคนที่พบกันในลิฟท์ เป็นต้น เมื่อเราเคยชินกับความอาย ความ “กลัวการเปลี่ยนแปลง” ของเราก็จะหายไป นอกจากนี้การฝึก “ความอดทน” ต่อความรู้สึกเขินอายนั้น ก็ยังสามารถช่วยขัดเกลาจิตใจของเราได้อีกด้วย

 

สัปดาห์ที่ 5 ใช้ประโยชน์จากศัตรู

ที่ผ่านมา เราอาจหลีกเลี่ยงการพูดคุยกับคนที่เราไม่ชอบ คนที่เรารู้สึกไม่สนิทใจ แต่ที่จริงแล้ว หากเราลองคุยกับเราไม่ถูก หรือไม่ชอบดู เราอาจจะพบข้อดี หรือ คุณค่าที่ซ๋อนอยู่ สามารถเรียนรู้จากคนที่เราไม่ชอบ และใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เราได้เรียนรู้นั้นได้

ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมงานที่สนิทกับหัวหน้า และเป็นลูกรักของหัวหน้าจนน่าหมั่นไส้ เราอาจรู้สึกไม่อยากพูดคุยกับเขา เพราะเขาคือคู่แข่งของเรา แต่ถ้าเราลองสังเกตการกระทำของเขาดู เราอาจจะค้นพบวิธีการที่ทำให้เขาเป้นที่รักของหัวหน้า เรียนรู้ จดจำ และนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเราได้ ดังนั้น คนไหนที่ไม่อยากคุย ยิ่งต้องคุย

 

ขอขอบคุณเทคนิคดีๆจากหนังสือ “แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต” – Amarin How-to

แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต
แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต

บทความโดย: พิระดา ธรรมวีระพงษ์

Author: Pirada Tumweerapong

Goodlife Update

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.