วางยาแก้ปวด แล้วมานวดกดจุดคลายเครียดด้วยตนเองอย่างง่ายๆ กันดีกว่า!

การนวด คือธรรมชาติบำบัดที่มีส่วนช่วยให้มีสุขภาพสมบูรณ์ได้ครบถ้วนมากกว่ายาหรือการผ่าตัด1 และเป็นการรักษาในเบื้องต้นที่ประหยัดและเริ่มได้อย่างรวดเร็วที่สุด

ปัญหาสุขภาพยอดฮิตของคนในปัจจุบันคืออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะคอ บ่า และสะบัก อันมีสาเหตุมาจากความเครียดในชีวิตประจำวัน บางคนพักผ่อนหรือหางานอดิเรกทำจะช่วยบรรเทาได้ แต่หลายคนมีอาการเรื้อรังจนลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โต เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือกระดูกทับเส้นประสาท

ก่อนที่คุณจะหยิบยาแก้ปวดมาทาน เราขอแนะนำให้คุณได้ลองใช้วิธีธรรมชาติบำบัดด้วยการนวดกดจุดด้วยตนเองง่ายๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถลดความเครียดและอาการปวดเมื่อยได้อย่างน่าพอใจเลยทีเดียว

 

7 จุดนวดสำคัญเพื่อคลายเครียดและเกร็งของกล้ามเนื้อ2

จุดกลางระหว่างคิ้วใช้ปลายนิ้วชี้หรือนิ้วกลางกด 3-5 ครั้ง

จุดใต้หัวคิ้วใช้ปลายนิ้วชี้ หรือนิ้วกลางกด 3-5 ครั้ง

จุดขอบกระดูกท้ายทอย จุดกลาง ใช้นิ้วหัวแม่มือกด 3-5 ครั้ง จุด 2 จุดด้านข้าง ใช้วิธีประสานมือบริเวณท้ายทอย แล้วใช้หัวแม่มือทั้งสองกดจุด 2 จุดพร้อมๆ กัน 3-5 ครั้ง

บริเวณต้นคอ ประสานมือบริเวณท้ายทอย ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างกดตามแนว 2 ข้างของกระดูกต้นคอ โดยกดไล่จากตีนผมลงมาถึงบริเวณบ่า 3-5 ครั้ง

บริเวณบ่า ใช้ปลายนิ้วมือขวาบีบไหล่ซ้ายไล่จากบ่าเข้าหาท้ายทอย

บริเวณบ่าด้านหน้า ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากดจุดใต้กระดูกไหปลาร้า จุดต้นแขน และจุดเหนือรักแร้ของบ่าซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดจุดเดียวกันที่บ่าขวา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

บริเวณบ่าด้านหลัง ใช้นิ้วที่ถนัดของมือขวาอ้อมไปกดจุดบนและจุดกลางของกระดูกสะบัก และจุดรักแร้ด้านหลังของบ่าซ้าย ใช้นิ้วที่ถนัดของมือซ้ายกดจุดเดียวกันที่บ่าขวา ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเส้นผมบังภูเขาที่ทำให้การนวดไม่เป็นผลคือการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ หากต้องการนวดเพื่อรักษาความปวดเมื่อย คุณควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณตอบโจทย์อาการนั้นเช่นกัน

เภสัชกรหญิงอริษา​ เกมะทายุง ผู้ผลิตรายการเภสัชท่องโลกทางยูทูป แนะนำการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมว่า “ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดทอนประสิทธิภาพการนวด ผลิตภัณฑ์บางชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดเมื่อยแต่มีสารเคมีที่รุนแรงทำให้เกิดอาการระคายเคืองแสบร้อน แถมมาพร้อมกลิ่นที่รุนแรง ขณะที่บางผลิตภัณฑ์เหมาะสำหรับใช้นวดเพื่อผ่อนคลาย แต่ไม่สามารถช่วยรักษาอากาปวดเมื่อยได้

 

ยาหม่องเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่เหมาะสำหรับการนวดเพื่อแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากส่วนผสมจากธรรมชาติและมีการพัฒนาสูตรเฉพาะเพื่อบรรเทาอาการปวด ได้รับการยอมรับและพิสูจน์ในประสิทธิภาพและความปลอดภัย ส่วนผสมสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการรักษา เช่น  การบูร ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย กลิ่นหอมและช่วยให้หายใจสะดวก แก้ไอ คัดจมูก  น้ำมันยูคาลิปตัส ลดความปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ มีกลิ่นหอมและช่วยระบบทางเดินหายใจ กานพลู ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต เนื่องจากอาการปวดเมื่อยเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไม่ดี เป็นต้น”

 

เคล็ดลับสำหรับการนวด

การกด ให้ใช้ปลายนิ้วที่ถนัด ได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้หรือนิ้วกลาง ส่วนการนวดจะใช้การกดและการปล่อยเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้เวลากดแต่ละครั้งประมาณ 10 วินาที และใช้เวลาปล่อยนานกว่าเวลากด ซึ่งการกดให้ค่อยๆ เพิ่มแรงทีละน้อย และเวลาปล่อยให้ค่อย ๆ ปล่อย โดยแต่ละจุดควรนวดซ้ำประมาณ 3-5 ครั้ง

 

ขอบคุณข้อมูลโดย

 


1 อ้างอิง: นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 106: บทบาทของการนวดไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน

1 อ้างอิง: นิตยสารหมอชาวบ้าน  เล่มที่: 274: เครียด ระดับสร้างสรรค์: พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.