พูดให้น้อย ฟังให้มาก เผย 3 เทคนิคเป็นการผู้ฟังที่ดี ใครๆ ก็อยากเข้าหา

พูดให้น้อย ฟังให้มาก เผย 3 เทคนิคเป็นการผู้ฟังที่ดี ใครๆ ก็อยากเข้าหา

มนุษย์เรามีปากเพียงหนึ่งปาก แต่กลับมีหูถึง 2 ข้าง เราอาจตีความได้ว่ามนุษย์เราควรฟังมากกว่าการพูด อันที่จริงแล้ว ถ้าอยากเป็นคนคุยเก่ง อยากเป็นคนที่ใครก็รักอยากพูดคุยด้วย แค่เป็นคนพูดเก่งเป็นคนสื่อสารเก่งอย่างเดียวคงไม่พอ จะต้องเป็นคนที่รับฟังคนอื่นและเข้าใจคนอื่นได้ดีด้วย

3 เทคนิคเพื่อเป็นผู้ฟังที่ดี

เราอาจบอกได้ว่า การฟังคือคำพูดที่ดีที่สุดในการโต้ตอบอีกฝ่าย การเป็นผู้ฟังที่ดี แสดงให้เห็นว่าเราเป็นคนอ่อนโยน ใส่ใจและเข้าอกเข้าใจคนอื่นได้ดี ดังนั้น ลองมาดู 3 เทคนิคเพื่อเป็นผู้ฟังที่ดี ทำให้ใครๆ ก็รัก ใครๆ ก็ชอบ

 

แสดงออกให้เห็นว่าตั้งใจฟังจริงๆ

บางครั้งแม้เราตั้งใจฟัง แต่อีกฝ่ายก็ยังคิดว่าเราไม่ใส่ใจตั้งใจฟังเขา นั่นหมายความว่า เราอาจจะแสดงออกไม่ชัดเจนว่ากำลังตั้งใจฟังอยู่

หากเราฟังอย่างเงียบๆ หลับตา หรือมองไปทางอื่นแม้หูฟังอยู่ คนอื่นจะรู้ได้ไงว่าเราตั้งใจฟังเพราะอาการเหล่านั้นดูไม่บ่งบอกเลยสักนิด

ดังนั้น เราควรแสดงออกให้อีกฝ่ายเห็นอย่างตรงไปตรงมาว่าเราตั้งใจฟังอยู่ เช่น มองหน้าคนพูดด้วยสาตาจริงจัง ไม่ขยับมือไปมาให้อีกฝ่ายเสียสมาธิ แต่ไม่จำเป็นต้องพยักหน้าทุกครั้งหากเราไม่เห็นด้วย เพียงแต่ไม่ควรพูดแทรกในขณะนะ ควรรอให้อีกฝ่ายพูดจบเสียก่อน หรือหากอีกฝ่ายขอความคิดเห็นจึงค่อยตอบกลับ โดยอาจทวนคำถามก่อนจึงตอบก็ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราได้ฟังอยู่จริงๆ

 

เป็นผู้ฟังที่ดี แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ

แสดงอารมณ์ร่วมกับคนพูด

ถ้าอยากรู้ว่าเราเป็นคนที่ใครๆ ก็อยากคุยด้วยหรือไม่ ให้ลองสังเกตว่า เมื่อเราพูดจบแล้ว อีกฝ่ายชวนคุยต่อหรืออีกฝ่ายรีบผละตัวหนีไป

แม้ให้ตั้งใจฟังอยากที่บอกข้างต้นแล้ว อาจจะยังไม่พอ เราจะต้องมีการแสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ต่อผู้พูดด้วย จึงจะทำให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ว่าเราฟังเขาอยู่จริงๆ

บางครั้งการแสดงอารมณ์ร่วมขณะฟังนั้น สำคัญกว่าการแสดงความคิดเห็นเสียอีก เช่น “ข้าวกลางวันร้านนี้อร่อยมากๆ เลยเนอะ” ถ้าเราตอบไปว่า ‘ใช่ค่ะ นั่นสินะคะ จริงด้วยค่ะ’ เพียงแค่นี้คนพูดอาจจะรู้สึกว่าเราพูดไปงั้นๆ ไม่ได้รู้สึกอร่อยไปด้วย แต่ถ้าเราแสดงอารมณ์ร่วม ตอบกลับไปด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม พยักหน้า พูดว่า

“จริงด้วยค่ะ โดยเฉพาะหมูทอดจานนี้ อร่อยสุดๆ  กรุบกรอบแล้วก็เข้าน้ำจิ้มได้ดีเลยล่ะค่ะ”

“อร่อยมากค่ะ จริงๆ แถวนี้ มีอีกร้านหนึ่งที่อร่อยไม่แพ้กันเลย ไว้วันหลังไปด้วยกันนะคะ”

พูดแบบนี้ผู้ฟังจะรู้สึกได้เลยว่าเราเป็นคนใส่ใจ และยังมีอารมณ์อร่อยร่วมกัน หาหัวข้อคุยกันต่อไปได้อีก เมื่อได้คุยกันมากขึ้น ก็จะยิ่งเข้าใจกันได้มากขึ้นอีกด้วย

 

ฟังด้วยความเป็นกลาง ไม่อคติ

หากจะรับฟังคนอื่น เราควรทำตัวให้เหมือนแก้วเปล่าหนึ่งใบ เพื่อรองรับน้ำที่พร้อมจะเติมเข้ามา หากเราไม่ปล่อยให้ความคิดและจิตใจว่างขณะรับฟัง เราอาจรับฟังได้ไม่ดีเท่าที่ควร อาจเหม่อลอยหรือมัวแต่คิดเรื่องอื่นๆ จนไม่ได้ตั้งใจฟัง ผลสุดท้ายแล้ว คนพูดก็จะไม่รู้สึกว่าเราใส่ใจฟัง และอาจไม่อยากพูดกับเราครั้งต่อไป

เราจำเป็นต้องรับฟังทุกเรื่องด้วยใจกว้าง ไม่อคติและพร้อมเปิดรับได้ทุกเรื่อง แม้บางเรื่องอาจจะขัดกับสิ่งที่เราคิด แต่ก็ควรเก็บอารมณ์และคำพูดไว้ก่อน รับฟังอีกฝ่ายและเปิดใจมองตามเนื้อหาคำพูดที่เขานำเสนอด้วยการพยักหน้า พูดเออออตาม พูดเพียงแค่ว่า เข้าใจ แต่ไม่ต้องบอกว่า เห็นด้วย โดยอาจบอกเมื่อคนพูดพูดจบแล้วด้วยเหตุผลของตน หรือถ้าหากเห็นด้วยก็ควรพูดเสริมสนับสนุนอีกฝ่ายให้ได้รับรู้ถึงความรู้สึกเรา

 

 

 

 

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.