โรค ซึมเศร้า

ดร.ณติกา ไชยานุพงศ์ เผยเคล็ดลับกำราบโรคซึมเศร้าให้อยู่หมัดไม่ใช่เรื่องยาก

ดร.ณติกา ไชยานุพงศ์ เผยเคล็ดลับกำราบ โรค ซึมเศร้า ให้อยู่หมัดไม่ใช่เรื่องยาก

โรค ซึมเศร้า โรคยอดฮิตในปัจจุบัน หลายคนที่ตกเป็นเหยื่อของโรคนี้ มีน้อยคนนักที่จะหายจากโรคนี้โดยไม่ใช้ยารักษา แต่มีผู้หญิงคนหนึ่งต่อสู้กับโรคนี้จนสามารถจัดการได้ในที่สุด เธอเอาชนะมันอย่างไร ลองมาทำความรู้จักกับเธอกันดีกว่า

ดร.ณติกา ไชยานุพงศ์ เป็นอาจารย์สาวอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้แชร์ประสบการณ์การเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงที่กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ต่างประเทศ หลังจากเห็นข่าวคนฆ่าตัวตายเพราะป่วยเป็นโรคนี้ เธอจึงอยากบอกเล่าประสบการณ์เพื่อให้เป็นอุทาหรณ์ พร้อมแนะนำวิธีดึงตัวเองออกมาจากอาการนี้อีกด้วย

อาจารย์สาวเริ่มเท้าความย้อนไปในช่วงเวลานั้นว่า ตอนที่เริ่มเรียนปริญญาเอกใหม่ ๆ ซึ่งเพิ่งผ่านมาได้เพียง 1 ปี การเรียนทำให้เกิดคำถามวนเวียนอยู่หัวว่า

“ฉันจะเรียนได้ไหม” ,  “ถ้าฉันเรียนไม่จบจะเป็นยังไง”  และ “พ่อกับแม่จะเสียใจไหม”

พอหนักเข้าเริ่มไม่อยากออกไปไหน ไม่อยากทำอะไร ได้แต่ถามตัวเองว่า “ฉันมาทำอะไรอยู่ที่นี่” มีอาการนอนจ้องเพดานทั้งวัน และร้องไห้ คำถามเดิม ๆ วนไปวนมาอยู่ในหัว

ความเครียดส่งผลให้ซูบผอม จึงทำให้ช่วงนั้นหุ่นดีเป็นพิเศษ (อาจารย์สาวเล่าอย่างมีอารมณ์ขัน) เพราะกินอะไรไม่ลง สิ่งที่อยากทำอย่างเดียวในตอนนั้นคืออยากนอนเพื่อให้วันเวลาผ่านไปไวไว

ตอนแรกที่มีอาการเหล่านี้เป็นอาการของโรคซึมเศร้า เพราะบ้านเราเมื่อ 8 ปีก่อน โรคนี้แทบไม่เป็นที่รู้จักเลย อาจารย์สาวเป็นนักกีฬา ชอบออกกำลังกาย และมีเพื่อนฝูง เลยไม่เอะใจเลยสักนิดว่าเธอกำลังป่วยเป็นโรคยอดฮิตนี้

ตอนที่มีอาการเหล่านี้ เธอพยายามฝืนและบอกตนเองว่าเราเป็นปกติ ในตอนที่คุณพ่อคุณแม่โทร.มาหาก็ไม่ได้บอกว่าตอนนี้กำลังแย่ เพราะไม่อยากให้ท่านไม่สบายใจ แต่พออาการหนักขึ้น จึงจำใจต้องบอกท่าน อาจารย์สาวอยู่ในสภาพแบบนี้นานถึง 2 สัปดาห์ แต่นับเป็นความโชคดีที่เธอมีสติและสังเกตเห็นถึงอาการผิดปกตินี้ เมื่อมีสติแล้วจึงพยายามลุกขึ้นจากเตียง ทั้งที่ตอนนั้นมีความรู้สึกหดหู่ เธอตัดสินใจออกไปวิ่ง และหากิจกรรมต่าง ๆ ทำ เช่น วิ่งออกกำลังกายในตอนเย็นของทุกวัน หากิจกรรมในมหาวิทยาลัยทำ จึงทำให้ได้รู้จักกับเพื่อนชาวต่างชาติที่เรียนอยู่สาขาจิตวิทยา เธอเลยบอกอาการที่เป็นอยู่ให้เขาฟัง จึงได้ทราบว่าอาการผิดปกติเหล่านี้ เป็นกลุ่มอาการภาวะซึมเศร้า เพื่อนคนนี้จึงบอกว่า ถ้ามีอาการแบบนี้อีก สามารถมาระบายคุยกับเขาได้เสมอ

 

คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.