หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

พอลร์ ผู้พิชิตไพร หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด สู้ชีวิตปลุกปั้นโรงงานเนยถั่วเพื่อเด็กด้อยโอกาส

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด สู้ชีวิตปลุกปั้นโรงงานเนยถั่วเพื่อเด็กด้อยโอกาส

พอลร์ ผู้พิชิตไพร เป็นชื่อของ หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด ชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ วัย 40 ปี ซึ่งพิการตาบอดสนิททั้งสองข้าง แต่ไม่ท้อถอย ตัดสินใจลุกขึ้นสู้ โดยยึดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.๙ และต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ มากมาย จนในที่สุดสามารถตั้งโรงงานผลิตเนยถั่ว น้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากถั่วงา ส่งผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด
ภาพ@ryt9.com

 

ย้อนไปในปี 2544 บอสใหญ่แห่ง หจก.พีเอยูแอล เทรดดิ้ง ผู้นี้เริ่มป่วยเป็นโรคเบเซ็ต (Behcet’s) ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนกระทั่งปี 2544 ดวงตาก็บอดสนิท ในเวลานั้นเขากำลังเรียนระดับปริญญาตรี ปี 3 ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

ในวันที่หมอบอกให้ไปอยู่โรงเรียนสอนคนตาบอดเพื่อฝึกการใช้ชีวิต พอลร์ตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัย กลับมาอยู่บ้านที่ตำบลสบเปิง จังหวัดเชียงใหม่ เขาเก็บตัวอยู่แต่ในห้องนานกว่า 2 ปีเพราะทำใจไม่ได้ มีแต่ความกลัว เฝ้าแต่ถามตัวเองว่าทำไมต้องเป็นเรา อนาคตที่เคยหวังก็พังทลาย แต่โชคดีที่ได้กำลังใจจากพ่อแม่และเด็กชาวเขาในมูลนิธิการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ที่พ่อของเขาซึ่งเป็นมิชชันนารีเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อได้เตือนสติลูกชายว่า “คนเราถ้าจะอยู่ ก็ต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์” ทำให้เขาได้สติและคิดได้ว่าความมืดบอดไม่ใช่อุปสรรคที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด
ภาพ@hunsa.com

 

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

 

เมื่อได้กำลังใจเต็มเปี่ยม พอลร์จึงหันมาดูแลช่วยเหลือตัวเอง และมุ่งมั่นเรียนจนจบปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นอกจากนั้นเขายังมองออกไปไกลตัว เห็นว่าเด็กชาวเขาในมูลนิธิฯ ของพ่ออีกกว่า 30 คนยังต้องการโอกาสในสังคม ยังรอคอยทุนการศึกษาเพื่อให้ช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งเด็ก ๆ เหล่านี้ควรมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำคือมัธยมศึกษาตอนปลาย

ดังนั้นพอลร์จึงมองหาอาชีพที่สามารถดูแลครอบครัวและเด็ก ๆ คิดไปคิดมาเขาก็นึกถึงเนยถั่วรสชาติอร่อยถูกปากฝีมือพ่อ พอลร์จึงเรียนรู้ด้วยตัวเอง เริ่มคิดค้นสูตรและวิธีการทำ ลองผิดลองถูก และให้เพื่อนต่างชาติช่วยชิมช่วยติ ปรับปรุงไปเรื่อย ๆ จนรสชาติลงตัวตั้งแต่ปี 2550 มาถึงปัจจุบัน

จากเริ่มแรกที่เปิดโรงงานเล็กๆ ภายในบ้าน มีผู้ช่วยหนึ่งคนเป็นเสมือนดวงตาให้พอลร์ ด้วยความที่มีทุนไม่มาก เขาจึงต้องทำทุกอย่างเอง แม้แต่เครื่องจักรเสียพอลร์ก็ต้องซ่อมเองโดยใช้มือคลำนอตทีละตัว เรียนรู้ว่าอยู่ตำแหน่งไหนอย่างไร โดยมีผู้ช่วยเป็นคนบอก

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

 

ส่วนวัตถุดิบหลักคือถั่ว ก็รับซื้อจากชุมชน โดยรวบรวมกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ประมาณ 45 ราย ที่ปลูกถั่วลิสงส่งเป็นวัตถุดิบมาให้ และช่วยผลิตสินค้า เรียกว่าเป็นผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน

ณ วันนี้กิจการผลิตเนยถั่วของพอลร์กลายเป็นโรงงานทันสมัยลงทุนหลักล้าน พนักงานประจำ 40 คน สินค้าภายใต้แบรนด์ Paul Food วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต จับตลาดกลุ่มผู้รักษาสุขภาพ โดยสถานประกอบการตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตและจำหน่าย เนยถั่ว , เนยอัลมอนด์  มีทั้งชนิดหยาบ (รสจืดและรสหวาน), นํ้ามันงาดำ ผลิตด้วยกรรมวิธีสกัดเย็น , น้ำมันรำข้าวจมูกข้าว และน้ำมันถั่วลิสง

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

 

หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด

 

นอกจากช่วยสร้างอาชีพให้คนในชุมชนแล้ว รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายพอลร์ได้มอบให้มูลนิธิการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและฝึกอาชีพให้เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาตามความถนัดของตนเอง เป็นการคืนกำไรกลับสู่ชุมชนนั่นเอง

“ตาบอดแต่ใจไม่บอด” หัวใจของ พอลร์ ผู้พิชิตไพร นั้นช่างสว่างไสวเหลือเกิน

ช่วยกันอุดหนุนผลิตภัณฑ์คุณภาพดีฝีมือคนไทยนะคะ

 

ที่มา  naewna.com, sentangsedtee.com, mgronline.com

ภาพ  เฟซบุ๊ก Paul Foods Brandpaultrading.com, workpointnews.com

สนใจสินค้าและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่   Paul Foods Brandpaultrading.com

Secret Magazine (Thailand)

IG @Secretmagazine

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.