ตัวอิจฉา

“ อิจฉา !” อย่างไร ไม่กลายเป็น “ ตัวอิจฉา ”

“ อิจฉา !” อย่างไร ไม่กลายเป็น “ ตัวอิจฉา ”

ใครไม่อยากกลายเป็น ตัวอิจฉา เรามีคำแนะนำเรื่อง การทำความรู้จักและรับมือกับความอิจฉา จาก นายแพทย์อนันต์ ธนาประเสริฐกรณ์ อดีตเจ้าของคอลัมน์ดีท็อกซ์หัวใจของนิตยสารชีวจิตมาฝากค่ะ

  1. “ความอิจฉา” มีได้ เพราะมันคือการเห็นข้อดีของคนอื่น และเห็นเราอยากมีอยากเป็น จนอาจเป็นพลังผลักดันให้เราเราเปลี่ยนชีวิตเพื่อเดินสู่ชีวิตใหม่ได้
  2. แต่หากอิจฉาจนถึงขั้นอยากให้คนอื่นแย่ลง อันนั้นเป็นความรู้สึกลบที่ต้องระวังไว้
  3. ยอมรับกับตัวเองอย่างซื่อสัตย์ว่าเราอิจฉา ไม่ต้องละอาย เพราะมันไม่ได้ทำให้เราเป็นตัวอิจฉาในละคร
  4. เข้าใจเสียใหม่ว่า “ความรู้สึกด้อยกว่า” ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรือชั่วร้าย แต่ต้องหาวิธีชดเชยที่ สร้างสรรค์มากกว่าทำลาย
  5. หากทำแล้วยังไม่พอใจ แสดงว่าปัญหาอยู่ที่การรู้สึกต่อคุณค่าของตนเอง ดังนั้นคุณต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเองก่อน และรัก-เมตตาต่อตัวเองให้มาก เข้าใจข้อจำกัดของตัวเอง จะดีกว่า

…แล้วคุณจะพบความสุขที่แท้จริง ^^

Posted in MIND
BACK
TO TOP
Riya
Writer

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.