ความสมานฉันท์ในครอบครัว

7 เคล็ดลับเพิ่มความ“สมานฉันท์”ในครอบครัว (ฉบับคุณลูกฝากถึงคุณพ่อคุณแม่)

5. เข้าใจและเอาอกเอาใจคนในครอบครัว

ถ้าลูกของคุณพ่อคุณแม่มีอาการต่อต้านคุณพ่อคุณแม่สุดๆ ให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มตีความอาการนั้นได้เลยว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เอาใจใส่ลูกเพียงพอ บางท่านอาจจะให้เวลากับเขาแล้ว แต่สิ่งเหล่านั้นจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราไม่รู้จักการชื่นชมกันและกัน การชื่นชมกันและกันทำให้บรรยากาศในบ้านดีขึ้นได้ เช่น ลูกกลับบ้านเร็วอาจจะชมเขาว่า “โอ้โห ลูกวันนี้กลับบ้านเร็ว น่าภูมิใจจริงๆทานอะไรมาหรือยังจ๊ะ” ฯลฯ

การพูดอ่อนหวานเป็นอีกวิธีที่ดีในการเอาอกเอาใจลูก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพยายามเก็บอารมณ์โมโหไว้บ้าง และสอนเขาอย่างใจเย็นด้วยคำพูดที่อ่อนหวานแทน

 

 

6. วันเกิดลูก คุณพ่อคุณแม่อยู่ที่ไหน

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจลืมวันเกิดหรือติดงาน ทำให้คนที่รอคุณอยู่ที่บ้านน้อยใจได้ เพราะฉะนั้นแนะนำว่า หากในวันเกิดลูกถ้าไม่ว่างจริงๆ สามารถเขียนบัตรอวยพรให้เขาก็ได้ แต่ทางที่ดี เสียสละเวลาสัก 10 – 20 นาทีมาอวยพรให้ลูกดีกว่า

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจคิดว่าวันเกิดไม่มีอะไรมากหรอกทำงานหาเงินมาเลี้ยงเขาดีกว่า แต่เชื่อเถอะค่ะว่า ลูกบางคนมองว่าเงินไม่สำคัญเท่าความอบอุ่นของคุณพ่อคุณแม่หรอกค่ะ แค่ซื้อของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ให้เขา เขาก็ดีใจแล้ว

 

7. ไม่ตำหนิหรือซ้ำเติมกับความผิดที่ผ่านไปแล้ว

บางครั้งลูกอาจมีปัญหาเรื่องการเรียน เกรดของเขาอาจไม่สวยนัก คุณพ่อคุณแม่อย่าไปต่อว่าเขาเลย สู้เอาเวลามาช่วยกันติวในสิ่งที่ลูกขาดไปดีกว่าค่ะ ทุกคนบนโลกนี้ล้วนแต่ไม่อยากให้ใครตำหนิหรือกล่าวซ้ำเติมกันทั้งนั้น เวลาลูกทำอะไรหกหรือทำถ้วยจานแตก คุณพ่อคุณแม่อาจบอกแค่ว่า “ไม่เป็นไร เก็บซะนะลูก” เท่านี้ก็เพียงพอ

 

 

ช่วงวัยรุ่นตอนต้นเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อและคุณแม่ควรให้ความรักแก่ลูกๆ ให้มากๆ เพราะทั้งเขาและเราจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันแค่ช่วงนี้ ถ้าเขาเริ่มโตกว่านี้โดยที่เราไม่เคยเอาใจใส่เขาเลย เขาจะเริ่มมีโลกของตัวเอง และ คุณพ่อคุณแม่อาจกลายเป็นแค่โลกที่สามของเขา โลกแรกคือตัวเขาเอง โลกที่สองคือเพื่อนและอินเทอร์เน็ต

            คุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากให้ตัวเองกลายเป็นแค่โลกที่สาม โลกที่เขาไม่ใส่ใจและไม่สนใจใช่ไหมคะ

 

เรื่อง : ธันยชนก กสิผล

เรียบเรียง :  ณัฐนภ ตระกลธนภาส

ภาพ : https://pixabay.com


บทความน่าสนใจ

Dhamma Daily : ควรทำอย่างไร เมื่ออยาก เปลี่ยนศาสนา แต่เกรงใจครอบครัว

นุ่น วรนุช – ต๊อด ปิติ และครอบครัวภิรมย์ภักดี สร้างศาลาปฏิบัติธรรม วัดป่าธรรมคีรี (จันดีอนุสรณ์)

คุณลุงหลังค่อม คนสู้ชีวิต หาเลี้ยงครอบครัวด้วยการรับจ้างปีนตัดแต่งต้นไม้

ท่านพุทธทาสภิกขุสอนเรื่องครอบครัวในแง่มุมที่คิดไม่ถึงสำหรับ คนเกลียดวัด

วิธีใช้หนี้พ่อแม่ คำสอนดีๆ ที่ลูกๆ ทุกคนควรอ่าน – คำสอนหลวงพ่อจรัญ

Dhamma Daily: ชอบหงุดหงิดพ่อแม่ ต้องแก้อย่างไร ธรรมะดีๆ จาก ท่าน ว.วชิรเมธี

Posted in MIND
BACK
TO TOP
A Cuisine
Writer

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.