เศรษฐีใจบุญ

แอนดรูว์ คาร์เนกี้ เศรษฐีใจบุญ ที่โลกไม่ (ควร )ลืม

แอนดรูว์ คาร์เนกี้ เศรษฐีใจบุญ ที่โลกไม่ (ควร) ลืม

“ผมขอรับรายได้ปีละไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์ และแม้จะมีเงินเกินจากนี้ ผมก็จะไม่พยายามใช้เพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง แต่จะขอใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านมนุษยธรรมเท่านั้น” แอนดรูว์ คาร์เนกี้ เศรษฐีใจบุญ กล่าว

0

ขณะที่ แอนดูรท์ คาร์เนกี้ (Andrew Carnegie) ประกาศเจตนารมณ์นี้ เขาเป็นมหาเศรษฐีที่ประสบความสำเร็จสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของสหรัฐอเมริกา ตอนที่ได้ฟัง หลายคนไม่เชื่อว่าเขาจะทำได้ตามที่พูด

0

0

แต่ในเวลาต่อมา แอนดูรว์ได้บริจาคเงินจำนวนมหาศาลเพื่อองค์กรสาธารณกุศล จนผู้คนเลิกสงสัยในตัวเขา ที่สำคัญคือ แม้เขาจะเสียชีวิตไปแล้วเกือบร้อยปี แต่มหาเศรษฐีในยุคแรก ๆ ต่างก็หันมาทำการกุศลตามเขากันยกใหญ่

0

กระนั้นก็ใช่ว่าจะต้องเป็นมหาเศรษฐี คนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถนำวิธีคิดของแอนดรูว์ คาร์เนกี้ มาเป็นแบบอย่างได้เช่นกัน เพราะชีวิตของเขาเป็นเรื่องร่วของการสู้ชีวิตเพื่อเปลี่ยนตัวเองจากก้อนดินสู่ดวงดาวที่ใคร ๆ ก็ดำเนินตามได้

0

แอนดูรว์เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1835 ที่เมืองดันเฟิร์มลิน (Dunfermline) สกอตแลนด์ ขณะอายุ 12 ปี เขาได้อพยพตามครอบครัวที่หนีภัยแล้งไปอยู่ที่เมืองพิตส์เบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา แอนดรูว์เริ่มทำงานครั้งแรกด้วยการเป็นเด็กส่งของ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นเด็กส่งโทรเลข ซึ่งไม่ว่าจะทำงานอะไร เด็กชายจะขยันและใส่ใจกับการทำงาน จนได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้างานอย่างรวดเร็ว

0

0

จุดเปลี่ยนที่สำคัญของแอนดรูว์คือ การได้เป็นเลขานุการของ โทมัส เอ. สกอตต์ (Thomas A. Scott) ตั้งแต่อายุยังน้อย โทมัสเป็นผู้บริหารของบริษัทการรถไฟเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania Railroad Company) บริษัทสร้างรางรถไฟและสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับรถไฟที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ เขาสอนหลักการบริหารเงิน งาน และคนให้เด็กหนุ่มอย่างไม่ปิดบัง ทำให้แอนดรูว์สร้างเนื้อสร้างตัวได้ และสามารถเปิดบริษัทคาร์เนกี้สติส (Carnegie Steel Company) ของตัวเองขึ้นใน ค.ศ. 1892

0

ในห้วงเวลาที่สหรัฐอเมริกากำลังพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เหล็กเป็นสินค้าที่คนต้องการมาก บริษัทของแอนดรูว์จึงเติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและทำกำไรมากที่สุดในโลก

0

ทว่าในปี ค.ศ. 1901 แอนดูรว์ได้ตกลงขายบริษัทให้ เจ.พี. มอร์แกน (John Pierpont Morgan) นายธนาคารผู้ทรงอิทธิพลในยุคนั้น ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น United States Steel Corporation หลังจากนั้นแอนดูรว์ก็หันมาทำงานการกุศล เขียนหนังสือ และแสดงปาฏกถา เพื่อชักจูงให้นักธุรกิจหันมาใช้เงินเพื่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก

0

00

แม้ว่าเราจะไม่ได้ยินชื่อคาร์เนกี้สตีลอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรอีกในปัจจุบัน แต่ “คาร์เนกี้” กลับกลายเป็นชื่อของโรงเรียน มูลนิธิ หน่วยงานวิจัย หอประชุม และสวนสาธารณะหลายแห่ง ส่วนสถานที่ที่มีจำนวนมากที่สุดและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เห็นจะเป็น “ห้องสมุดคาร์เนกี้” นั่นเอง

0

แม้แอนดูรว์จะไม่เคยเรียนหนังสือในโรงเรียน แต่เขากลับได้ความรู้และความรื่นรมย์อย่างมหาศาลจากการอ่าน เขาจึงชอบสนับสนุนให้ผู้คนหันมาอ่านหนังสือกันมาก ๆ คนที่แอนดูรว์นับถือและเป็นผู้มีพระคุณ นอกจากโทมัสแล้วก็น่าจะเป็น ผู้พันเจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) นายทหารเกษียณอายุที่เปิดห้องสมุดให้คนภายนอกเข้าไปอ่านหนังสือได้ทุกเย็นวันเสาร์ ซึ่งเด็กชายแอนดรูว์เคยเป็นสมาชิกที่เหนียวแน่นของห้องสมุดเล็ก ๆ แห่งนี้

0

ความใจดีของผู้พันแอนเดอร์สันทำให้เขารู้ซึ้งถึงความสำคัญของการช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ และตกลงใจอุทิศรายได้ทั้งหมดของตนเพื่อคนที่ด้อยโอกาส จวบถึงวันที่เขาเสียชีวิต เขาใช้เงินก้อนสุดท้ายซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 30 ล้านดอลลาร์บริจาคให้แก่มูลนิธิ องค์กรสาธารณกุศล และกองทุนชดเชยต่าง ๆ สมกับที่เขาได้ฝากเคล็ดลับในการใช้ชีวิตไว้ว่า

0

“จงใช้เวลาสามส่วนแรกของชีวิตเพื่อศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด ใช้สามส่วนถัดมาเพื่อหาเงินให้ได้มากที่สุด และจงใช้เวลาสามส่วนสุดท้ายเพื่อใช้เงินทั้งหมดช่วยเหลือผู้อื่น”

0

0

ที่มา : นิตยสาร Secret ฉบับที่ 44

ผู้เขียน/แต่ง : Violet

ภาพ : https://en.wikipedia.org

https://www.theodysseyonline.com

https://pittsburghquarterly.com

https://www.forbes.com

http://www.thenational.scot


บทความน่าสนใจ

จากคนไร้บ้าน สู่มหาเศรษฐีพันล้านจากคนไร้บ้าน สู่มหาเศรษฐีพันล้าน คริสโตเฟอร์ พอล การ์ด เนอร์

ความเรียบง่าย สมถะ และมัธยัสถ์ ของมหาเศรษฐี วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทเบิร์กเซีบร์ แฮธาเวย์

รักวัวให้ผูก รักลูกต้องสอนให้รู้จัก “ให้” บทเรียนสำคัญจาก สุดยอดมหาเศรษฐีใจบุญของโลก

พระอาจารย์สิริปันโน ลูกชายมหาเศรษฐีมาเลเซีย ไม่ยึดติดสมบัติ บวชตลอดชีวิต

จากศูนย์เป็นมหาเศรษฐี ” ลี กา ชิง ” ซูเปอร์แมนแห่งเมืองฮ่องกง

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.