มากไปคือไม่รับ! บุคคล 3 จำพวกที่หันหลังให้ พระพุทธเจ้า เช็คเลยว่าใช่คุณไหม?

3. พระเทวทัตผู้มีความ “อหังการมากไป”

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ในหมู่ชาวพุทธ เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า พระเทวทัตนั้นเป็นราชนิกุลฝ่ายโกลิยวงศ์ ออกผนวชพร้อมกับเจ้านายในศากยวงศ์ แต่ครั้นผนวชแล้วกลับถือทิฏฐิมานะ ทำตัวตีเสมอพระพุทธองค์ โดยถือว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นเจ้า ตัวท่านก็เป็นเจ้าเหมือนกัน นอกจากท่านจะถือทิฏฐิมานะแล้ว ยังริษยาในลาภสักการะที่เกิดแก่พระพุทธองค์และพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆ ด้วยกิเลสที่ชื่อ “อหังการ” คือการป่วยด้วยโรค “ข้าก็หนึ่งในตองอู” จึงฟังใครไม่เป็น ยอมใครไม่ได้ ทั้งยังติดอยู่ในลาภสักการะผลประโยชน์ สุดท้ายแทนที่จะได้เป็นพระอรหันต์ ท่านก็เลยเสียคน

โดยเหตุแห่งการเสียคนก็เกิดมาจากการตั้งตัวเทียมพระพุทธเจ้า แยกออกไปตั้งสำนักต่างหาก ทั้งยังส่งคนมาปลงพระชนม์พระพุทธองค์หลายต่อหลายครั้ง ทว่าไม่สำเร็จ กระทั่งวาระสุดท้ายท่านอาพาธหนักเพราะตรอมใจที่ทำอย่างไรก็ไม่อาจบดบังพุทธรัศมีได้ พอรู้ว่าตนจะตายจึงสำนึกผิด ให้สาวกหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอขมาเป็นครั้งสุดท้าย แต่ไม่ทันเข้าเฝ้า เพราะเมื่อมาถึงสระท้ายวัด พระเทวทัตเกิดอยากอาบน้ำ พอหย่อนเท้าลงเหยียบพื้นสระโบกขรณี ก็ถูกแผ่นดินสูบจนมรณภาพก่อนจะได้เฝ้าพระพุทธองค์เพียงไม่กี่นาที

พระเทวทัต ตามประวัติเป็นคนฉลาด แต่หมดโอกาสบรรลุธรรมก็เพราะท่านใช้ความฉลาดไปในทางที่ผิด ทั้งยังถูกทิฏฐิมานะของกษัตริย์ (ตัวกู ของกู) มาบดบัง บวกกับความริษยาอาฆาตและผลประโยชน์ครอบงำ สุดท้ายก็เลยพลาดจากมรรคผลนิพพาน ทั้งๆ ที่มีชีวิตอยู่ร่วมพุทธสมัยแท้ๆ

สามคน สามตัวอย่างที่กล่าวมาคืออุทาหรณ์สอนว่า  “การเป็นคนมีปัญญานั้นก็ดีอยู่ แต่หากใช้ปัญญาจนขาดสติ คือไม่มีความยั้งคิดก็ไม่ดี”

ในทางธรรมปฏิบัติ พระพุทธองค์ท่านจึงสอนหลัก “สมดุล” เอาไว้โดยเตือนว่า สมาธิต้องเข้าคู่กับความเพียร ศรัทธาต้องเข้าคู่กับปัญญา และสมาธิ ความเพียร ศรัทธา ปัญญา ต้องอยู่ในสายตาของ “สติ” เพราะ “สติ” คือตัวจัดปรับให้องค์ธรรมทุกข้อเกิด “ดุลยภาพ”

ศรัทธามากไปก็กลายเป็นงมงาย

ปัญญามากไปก็กลายเป็นหยิ่งทะนง หลงตัว หยาบกระด้าง อหังการ

เพียรมากไปก็กลายเป็นเคร่งเครียด ฟุ้งซ่าน

สมาธิมากไปก็กลายเป็นดำดิ่งนิ่งลึก ติดอยู่ในความสุขจากความสงบ

ต่อเมื่อองค์ธรรมทุกข้อถูกปรับให้พอดี โดยมีสติเป็นพี่เลี้ยง ดุลยภาพทางกาย ทางจิต ทางปัญญาจึงจะเกิดขึ้น และนั่นก็คือจุดเริ่มของการรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมหรือต้นทางของมรรคผลนิพพานนั่นเอง

 

เรื่อง : ว.วชิรเมธี

ขอบคุณ : เหม เวชกร และเจ้าของภาพวาดทุกภาพ

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.