รักษาใจตัวเอง

รักษาคนเจ็บไข้พร้อม รักษาใจตัวเอง บทความดี ๆ จาก นายแพทย์ชวโรจน์ เกียรติกำพล

สิ่งแรกที่จะทำให้เราตอบปัญหานี้ได้คือควรเข้าใจสภาพโดยรวมของผู้ป่วยคนหนึ่งเสียก่อน ร่างกายและจิตใจของคนเรานั้นตามปกติย่อมทำงานสัมพันธ์กัน ฉะนั้นจึงเป็นธรรมดาที่เมื่อใดร่างกายเกิดการแปรปรวน ทำงานไม่เป็นปกติ หรือที่เราเรียกว่าเจ็บป่วยนั้นก็จะพาให้จิตใจแปรปรวนตามไปด้วย เรามักสังเกตเห็นว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า วิตกกังวล และหวาดกลัวไปต่าง ๆ นานา ความรู้สึกเหล่านี้เป็นผลพวงมาจากความทุกข์ที่เกิดจากความเจ็บปวดทุรนทุรายทางกายนั่นเอง เมื่อผู้ป่วยปล่อยให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกในทางลบเช่นนี้ขึ้นมา อารมณ์เหล่านี้ก็มักย้อนกลับมาซ้ำเติมเขาอีกรอบ บางคนเกิดความหดหู่ท้อแท้ สิ้นหวังจากการปรุงแต่งของตัวเองมากไปกว่าความเป็นจริงเสียอีก นี่คือสภาพความจริงที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุก ๆ คน แต่เรามักลืมเรื่องนี้กันเสียสนิทว่า พวกเขากำลังต้องการความช่วยเหลือเรื่องสภาพจิตใจเช่นกัน ไม่ต่างอะไรจากความเจ็บป่วยทางร่างกายเลย

นอกจากความเข้าใจเรื่องสภาพโดยรวมเบื้องต้นของผู้ป่วยที่ผมได้เล่าให้เธอฟังแล้วนั้น เมื่อเห็นว่าเธอทำงานกับพระสงฆ์มานานจึงถามเธอว่า เคยได้ยินประโยคที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า “ถ้าใครพึงหวังจะอุปัฏฐากตถาคต ก็พึงอุปัฏฐากดูแลภิกษุเจ็บไข้เถิด”หรือเปล่า

ในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่าพระปูติคัตตะ อาพาธเป็นโรคผิวหนังชนิดรุนแรง ช่วงแรกนั้นอาการไม่มาก แต่เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจึงเกิดตุ่มคันขึ้นเต็มตัว พอเกามากก็แตกออกเป็นหนองและติดเชื้อไปทั่วร่างกาย บรรดาพระภิกษุที่เป็นสหธรรมิกอยู่ด้วยกันต่างพากันรังเกียจ ปล่อยให้ท่านดูแลตัวเองไปตามยถากรรม สุดท้ายจึงได้แต่นอนรอความตาย พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ด้วยพระญาณจึงเสด็จไปยังที่อยู่ของพระภิกษุรูปนี้ แล้วทรงก่อไฟตั้งน้ำ ผสมน้ำอุ่น และเช็ดตัวให้พระรูปนี้ด้วยพระองค์เอง โดยมิได้ทรงรังเกียจในกลิ่นเน่าเหม็นนี้แต่ประการใด เมื่อพระรูปนี้สบายตัวขึ้น พระองค์จึงทรงเทศน์ให้ท่านปล่อยวางและไม่ยึดติดในขันธ์ 5สุดท้ายพระภิกษุท่านนี้ได้สิ้นชีวิตลงและบรรลุอรหันต์ในคราวเดียวกัน ส่วนพระภิกษุรูปอื่น ๆ ที่ได้แต่รู้สึกผิดและยืนมองอยู่รอบ ๆ นั้น พระองค์ตรัสด้วยว่า…

 

คลิกเลข 3 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.