พระไม่ได้ฉันอาหาร

Dhamma Daily : พระไม่ได้ฉันอาหารที่เราใส่บาตร จะได้บุญไหม

Dhamma Daily : หากพระไม่ได้ฉันอาหารที่เราใส่บาตร จะได้บุญไหม

ถาม: ดิฉันมีข้อสงสัยค่ะ บางครั้งพระรับบิณฑบาต แล้วมีอาหารเยอะมาก ดิฉันคิดว่าพระคงฉันไม่หมดแน่ จึงสงสัยว่าหากเราใส่บาตรแล้ว พระไม่ได้ฉันอาหาร เราจะได้บุญไหมคะ

หลวงตาญาณภาวัน (พระวิชิต ธัมมชิโต) ตอบปัญหาธรรมข้อนี้ไว้ว่า

ตอบ: บางคิดว่าใส่บาตรไปแล้วพระไม่ฉันอาหารที่ตนใส่ก็คงไม่ได้บุญ กลับกัน ถ้าพระฉันก็คงได้บุญมาก จนทำให้บางคนถึงกับบอกกับพระว่า “ท่านฉันให้โยมหน่อยนะ” หรือบอกว่าอาหารของตนดีอย่างนั้น อย่างนี้ เพื่อให้พระฉันของตัวเอง

จริงๆ ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะ ยิ่งถ้านิมนต์ไปฉันแล้วให้พระระบุชื่ออาหาร พระจะอาบัติ ก็ถือว่าน่าเห็นใจคนเหล่านั้น เพราะเขายังเข้าใจเรื่องบุญไม่ชัดเจน ความจริงแค่ตั้งใจใส่บาตรเพื่อให้ท่านได้อยู่สืบทอดพระศาสนา ศึกษา ปฏิบัติได้ตามควร เราก็ได้บุญเต็มที่แล้ว ท่าจะฉันหรือไม่ หรือจะให้ใครก็เป็นเรื่องของท่าน เราสละไปแล้วก็ถือว่าจบ

แต่บางครั้ง อาหารมีส่วนผสมแปลกๆ ก็ต้องแนะนำพระว่าทำมาจากอะำรบ้าง เพราะอาหารบางอย่าง พระก็ฉันไม่ได้

สิ่งที่พระห้ามฉันมีหลายชนิด เช่น อาหารสด อาหารดิบ เนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง ประกอบด้วย เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อหมา เนื้อหมี เนื้องู เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว ราชสีห์

หรือหลังเวลาเพลแล้วห้ามฉันน้ำผลไม้ที่เป็นมหาผล หมายถึง ลักษณะที่ผลโตเกินกำปั้นหรือโตเกินลูกมะตูม อย่างเช่น มะพร้าว ส้มโอ แตงโม สับปะรด เป็นต้น

ทั้งนี้พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ) กล่าวไว้ในบทความ การตักบาตร มีความสำคัญอย่างไร ว่า

การตักบาตร เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญมาก พระอาจารย์มองว่า วิถีชีวิตชาวพุทธที่เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการให้เป็นวิถีชีวิตที่มีคุณค่ามาก เริ่มต้นชีวิตวันใหม่ด้วยการให้ เหมือนพระอาทิตย์ทอแสงขึ้นมาแล้วให้แสงสว่าง  คนไทยเป็นคนชอบให้ แต่ไม่ชอบรักษาศีล ไม่มีชนชาติใดให้ทานเก่งเท่ากับคนไทย  จนก็ให้ รวยก็ให้ ให้เป็นเรื่องใหญ่มาก การทำบุญ คือการให้ทานก ารทำบุญเหมือนเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ การทำบุญมีอยู่ 3 วิธี คือ ทาน ศีล เจริญ สมาธิภาวนา

เราทำขั้นพื้นฐานกันอยู่บันไดขั้นแรก แสดงว่าใจเราเป็นกุศล การให้เป็นเรื่องที่ดี ใจคนไทยเป็นบุญเป็นกุศลมาก ชอบให้ ทำให้เราผ่อนคลาย บางคนเครียดแล้วทำบุญ  การทำบุญเป็นวิธีคลายเครียดอย่างหนึ่ง เหมือนกับจิตตสปา คุณค่าของมนุษย์ เริ่มต้นที่รู้สึกภูมิใจ พอถึงจุดหนึ่งก็จะต่อไปอีกว่า เป็นผู้ให้ที่ทำให้ คนอื่นภูมิใจ เหมือนกับเราตักข้าวใส่บาตรพระ เราภูมิใจที่มีชีวิตสังขารทุก วันนี้เราเป็นผู้ให้ พระเป็นผู้รับ

สังเกตไหมว่า การทำบุญตักบาตรต่างจากการทำบุญอย่างอื่น เพราะเวลาที่เราให้ปกติ ผู้ให้จะสูงกว่าผู้รับ  โดยธรรมชาติของผู้รับเป็นหนี้บุญคุณของผู้ให้ ทีนี้พอเราถวายอะไรแด่พระสงฆ์  เราจะมีความรู้สึกว่าขอบคุณ ที่ท่านมารับถึงหน้าบ้าน ถ้าท่านไม่เดินผ่านบ้านเรา เราจะถวายได้อย่างไร  และเราไม่ได้เจาะจงด้วยว่าพระที่เดินมาชื่ออะไรไม่มีใครถาม

ที่มา : นิตยสารซีเคร็ต

ภาพ : https://pixabay.com

หากผู้อ่านมีปัญหาหนักใจ ต้องการคำแนะนำแฝงด้วยแนวคิดทางธรรม สามารถส่งคำถามมาได้ที่

Secret Magazine (Thailand)


บทความน่าสนใจ

เช็คแคลอรี่ 10 อันดับอาหารใส่บาตรยอดนิยม คุณกำลังทำพระอ้วนอยู่หรือไม่

ปัญหาธรรมประจำวันนี้: ถ้าสวมรองเท้า ใส่บาตร จะบาปหรือเปล่า

True Story: แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว ตาบอด ไฟไหม้ ถูกโกงเงิน แต่ฉันก็ยังอยู่ได้ !

Dhamma Daily : ถ้าสวมรองเท้า ใส่บาตร จะบาปหรือเปล่า

ใส่บาตรด้วย 10 เมนูอาหารไทยเพื่อสุขภาพ

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.