ลมหายใจสุดท้าย

ความสุขในลมหายใจสุดท้าย…ปรารถนาที่ถูกมองข้าม บทความจาก พระไพศาล วิสาโล

วิธีการหลังนั้นเป็นการให้ทางเลือกแก่ผู้ป่วย เพราะแทนที่จะอยู่ห้องไอซียูจนสิ้นลม ก็อาจกลับมาอยู่บ้านก็ได้ ในหลายประเทศมีการสร้างสถานดูแลผู้ป่วยระยะท้าย (Hospice) ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างบ้านกับโรงพยาบาล แม้ใช้เทคโนโลยีไม่มาก ทุนรอนก็น้อยกว่า แต่ปรากฏว่าผู้ป่วยที่เลือกวิธีการหลังได้รับผลดีอย่างเห็นได้ชัด

ในสหรัฐอเมริกามีการวิจัยพบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่อยู่ได้ด้วยเครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ รวมถึงผู้ป่วยที่ถูกปั๊มหัวใจหรืออยู่ในห้องไอซียูนั้น มีคุณภาพชีวิตในช่วงอาทิตย์สุดท้ายย่ำแย่กว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีการดังกล่าวเลย ยิ่งกว่านั้นยังพบว่า ผู้ป่วยที่เลือกอยู่ในสถานดูแลระยะท้ายทุกข์ทรมานน้อยกว่า ช่วยตัวเองได้มากกว่า สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นดีกว่า และมีชีวิตยืนยาวกว่า

ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ การวิจัยเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะท้ายจำนวน 151 คนของโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ เมื่อปี 2553 พบว่า ผู้ป่วยที่เลิกรับเคมีบำบัด (คือไม่คิดยื้อชีวิตให้ยืนยาวขึ้น) แล้วหันมาใช้วิธีแบบประคับประคองในสถานดูแลระยะท้าย นอกจากจะมีความทุกข์ทรมานน้อยกว่าผู้ป่วยที่ใช้เคมีบำบัดแล้ว ยังมีชีวิตยืนยาวกว่าคนกลุ่มหลังถึงร้อยละ 25 ด้วย

การดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะระยะสุดท้าย เราจะคำนึงแต่การเยียวยาทางกายหาได้ไม่ การดูแลจิตใจก็สำคัญอย่างยิ่ง การยื้ออวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่นานขึ้น ยืดลมหายใจให้ยืนยาวขึ้น ไม่ควรเป็นจุดหมายสำคัญของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สิ่งสำคัญกว่าคือ การช่วยให้เขาสุขสบายทั้งกายและใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ไม่พึงคำนึงถึงแต่ปริมาณหรือตัวเลขของสัญญาณชีพ แต่ควรให้ความสำคัญแก่คุณภาพชีวิตของเขาด้วย

ช่หรือไม่ว่าประการหลังคือสิ่งดีที่สุดที่เราควรมอบให้แก่คนรักก่อนที่เขาจะสิ้นลม 

การยืดชีวิตของผู้ป่วยให้นานที่สุดเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในความรู้สึกของลูกหลานและญาติ แต่นั่นอาจไม่ใช่ความต้องการสูงสุดในความนึกคิดของผู้ป่วย

 

เรื่อง  พระไพศาล วิสาโล

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.