อัตตา

Dhamma Daily : เหตุใดพุทธศาสนาจึงสอนให้คนไม่ควรมี ” อัตตา “

Dhamma Daily : เหตุใดพุทธศาสนาจึงสอนให้คนไม่ควรมี ” อัตตา “

อัตตา ในพระพุทธศาสนา คงเป็นหลักธรรมหรือทรรศนะของพระพุทธเจ้า ที่ทำให้ชาวพุทธอย่างเรา ๆ สงสัย คราวนี้มีผู้สงสัยส่งคำถามเข้ามา พระอาจารย์จะตอบประเด็นให้กระจ่าง

ถาม:

มนุษย์ที่มีอัตตา มักจะไม่ยอมแพ้ใคร และทะเยอทะยานกระทั่งประสบความสำเร็จในชีวิต หากมันก่อให้เกิดสิ่งที่ดีขนาดนั้น เพราะเหตุใดพุทธศาสนาจึงสอนให้คนไม่ควรมีล่ะคะ

 

ตอบ:

มนุษย์ที่อยู่ในโลกียะยังคงมีอัตตาได้ เพื่อจะไปสู่จุดมุ่งหมายในชีวิตโดยการใช้กิเลส ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ แต่ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง ไม่มีสิ่งใดอยู่คงทนถาวร คลื่นลูกใหม่ย่อมเร็วและแรงกว่าคลื่นลูกเก่าเสมอ ถ้าคนที่มีอัตตาสูงแล้วรับไม่ได้ที่ถูกคลื่นลูกใหม่เบียดเข้ามาแทนที่ เขาจะทุกข์ทรมานมาก บางรายอาจถึงขั้นฆ่าตัวตายก็เป็นได้

ในท้ายที่สุดแล้ว อัตตาคือตัวปัญหาที่ทำให้มนุษย์เกิดความทุกข์ ยิ่งขนาดของอัตตาใหญ่ขึ้นเท่าไร ความทุกข์ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เขาจะรู้สึกใจหนักๆ เหมือนมีมวลมาถ่วง เกิดความหวาดระแวง ดิ้นรน ร้อนรุ่ม ไม่มีความสงบภายในจิตใจ แม้จะประสบความสำเร็จหรือมีเงินทองมากมายเพียงใดก็ไม่เพียงพอ เพราะยังมีความต้องการให้เป็นดังเดิมตลอดไป

ธรรมะจากพระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ : พระอาจารย์ผู้ไขปัญหา

Photo by h heyerlein on Unsplash

หากผู้อ่านมีปัญหาหนักใจ ต้องการคำแนะนำแฝงด้วยแนวคิดทางธรรม สามารถส่งคำถามมาได้ที่

นิตยสาร Secret คอลัมน์ Dhamma Daily หรือ dhammadaily2015@gmail.com

 

บทความน่าสนใจ

งามแท้ เพราะ “ไม่แน่นอน” ปรัชญาธรรมจากแดนอาทิตย์อุทัย โดย ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร

ศรัทธาในหัวใจ และการเริ่มต้นใหม่อีกครั้งของ อ่ำ – อัมรินทร์ นิติพน

นางร้ายหัวใจนางเอก กิ๊ก – มยุริญ ผ่องผุดพันธ์

พระไพศาล วิสาโล กับการจาริกสู่ความสุขอันประเสริฐ

สุกัญญา มิเกล ความสุขในวันนี้ กับตัวตนที่แท้จริง

“ผมถวายตัวเป็น ศิษย์พระพุทธเจ้า” ธรรมทายาทรุ่นเยาว์ ณัฐวัตร ครองชนม์

8 อุบายระงับอาการ ง่วงนอนขณะนั่งสมาธิ คิดค้นโดยพระพุทธเจ้า

การพัฒนาจิต 2 วิธี ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน บทความธรรมะจากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ    

วักกลี ผู้หลงใหลในพระพุทธเจ้า

 

Posted in MIND
BACK
TO TOP
A Cuisine
Writer

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.