วจีทุจริต

วิบากกรรมแห่งวจีทุจริต เราเผลอกันไปมากน้อยแค่ไหนแล้วกับบาปนี้

วิบากกรรมแห่ง วจีทุจริต เราเผลอกันไปมากน้อยแค่ไหนแล้วกับบาปนี้

วจีทุจริต ได้แก่ การพูดที่ไม่ดี โกหก นินทา ใส่ความ และพูดจาไร้สาระ การพูดเหล่านี้มีผลกรรมอย่าไรต่อผู้พูดบ้าง ซีเคร็ตได้หาคำตอบมาให้ค่ะ เพื่อที่จะได้เปิดประตูอบายทันก่อนที่จะสายเกินไป

การพูดจาสนทนาเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน เมื่อจิตลงสู่ฐานที่ตั้งแห่งจิต (มหาภูตรูป หรือร่างกาย) ประสาทสัมผัส (อายตนะ) ย่อมทำงาน จิตเคลื่อนไปที่ดวงตา ย่อมมองเห็น จิตเคลื่อนไปที่ปาก ย่อมลิ้มรส หรือสนทนา จิตเคลื่อนไปที่หู ย่อมได้ยิน จิตเคลื่อนไปที่จมูก ย่อมได้กลิ่น จิตเคลื่อนไปส่วนไหนของกาย ในส่วนนั้นย่อมมีความรู้สึก นี้คือการทำงานของจิตที่ประสานกับกาย

 

 

จิตแปรเปลี่ยนได้เป็น 2 สถานะคือ กุศลจิต (จิตดี) และ อกุศลจิต (จิตไม่ดี) การแปรเปลี่ยนเกิดขึ้นจากเจตนา คือสิ่งที่เข้ามาปรุงแต่ง (สังขาร หรือ คิด) การกระทำ (กรรม) สะท้อนมาจากเจตนาของจิต จิตมีเจตนาที่ดี การกระทำย่อมดี (กุศลกรรม) จิตมีเจตนาที่ไม่ดี การกระทำย่อมไม่ดี (อกุศลกรรม) ตามไปด้วย

ดังที่ท่าน ส.ชิโนรสกล่าวว่า กรรมเกิดขึ้นจากความคิด หากจะเปลี่ยนกรรมต้องเปลี่ยนความคิด (เจตนา) นั่นเอง (ติดตามอ่านบทความเรื่องนี้เพิ่มเติมเพื่อเข้าเรื่องเจตนายิ่งขึ้นได้ที่ >>> เปลี่ยนความคิดเท่ากับเปลี่ยนกรรม ธรรมะไขข้อข้องใจเรื่องกฎแห่งกรรม โดย ส.ชิโนรส

การพูดจาที่ไม่เป็นปิยวาจา ย่อมนำมาสู่การผิดศีล (มุสาวาทาฯ) เช่น พูดปด มดเท็จ พูดจาไร้สาระ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ทำให้ผู้พูดหาความสุขไม่ได้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เพราะพระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องปิยวาจาไว้ในหลักธรรมที่มีชื่อว่า “สังคหวัตถุ 4” หมายถึงองค์ธรรม 4 ประการที่ต้องสงเคราะห์ หรือเกื้อกูลต่อกัน การพูดที่ไม่เป็นปิยวาจาก็คือวจีทุริต การพูดที่เกิดจากอุปนิสัยที่ไม่ดี

 

 

เหตุที่มาของวจีทุจริต (การพูดที่ไม่ดี) มาจากจิตที่เป็นโมหะ ขาดสติหลงไปกับความสนุกคึกคะนองปาก เช่น นินทา ใส่ความผู้อื่น เพื่อต้องการให้เขาเดือดร้อน ผลกรรมที่ตามสนองคือการเกิดในทุคติภูมิ ได้แก่ เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต และนรก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสัพพลหุสสูตรว่า

 

คลิกเลข 2 ด้านล่างเพื่ออ่าน วิบากกรรมของวจีทุจริตจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า  

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.