การทำงานของไตรสิกขา

การทำงานของไตรสิกขา โดย พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)

การทำงานของไตรสิกขา โดย พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)

ไตรสิกขา ประกอบด้วยองค์ธรรม 3 ประการคือ ศีล สมาธิ และปัญญา การปฏิบัติตามคำสอนนี้ต้องเริ่มต้นจากศีล ไปสมาธิ และปัญญาหรือไม่ วันนี้พระราชญาณกวีจะมาไขความกระจ่างเรื่อง การทำงานของไตรสิกขา

ปุจฉา : ไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา องค์ธรรมที่ 2 และ 3 (สมาธิและปัญญา) เป็นองค์ธรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพราะทำสมาธิย่อมทำให้เกิดปัญญา แต่ทำไมศีลจึงเป็นองค์ธรรมแรก หรือบันไดขั้นแรกของไตรสิกขา ซึ่งศีลไม่น่าจะทำให้เกิดสมาธิและปัญญาได้เลย

วิสัชชนา : สังคมไทยเป็นเมืองพุทธ ศึกษาและรู้จักไตรสิกขามาอย่างยาวนาน พระพุทธศาสนายกย่องไตรสิกขาว่าเป็นคำสอนที่มีความสำคัญมาก ไตรสิกขาเริ่มต้นที่ ศีล สมาธิ และปัญญา จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าไตรสิกขานี้ทำงานแบบขั้นบันได เริ่มจากศีล กลายเป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดปัญญาตามมา

 

แต่ที่จริงแล้วองค์ธรรมทั้ง 3 นี้ทำงานพร้อมกัน ไม่มีอะไรเริ่มก่อนกัน แต่เป็นการทำงานที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ขาดอันใดอันหนึ่งไปก็จะทำงานไม่ได้ จะเปรียบก็เหมือนคอมพิวเตอร์ที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ หรือโทรศัพท์มือถือที่ต้องมีซิมการ์ด

 

ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นธรรมะที่สำคัญหรือเป็นหัวใจของมนุษย์เลยก็ว่าได้ ขอยกตัวอย่าง เช่น ถ้ามีคน ๆ หนึ่งบอกว่าเขารวย เขามีสติปัญญา มีวิชา มีความรู้ และยังร่ำรวยอีก แต่ทำผิดละเมิดกฎหมาย หรือละเมิดศีล สมมติว่าเป็นศีลข้อที่ 3 ในพระพุทธศาสนา ไปประพฤติผิดในกามกับลูกและภรรยาของผู้อื่น ถามว่าสิ่งที่เขามี เช่น ชื่อเสียง เกียรติภูมิ จะช่วยอะไรเขาได้ไหม ตอบได้เลยว่าช่วยไม่ได้ มีหลายคนที่มีชื่อเสียง มีทรัพย์ มียศและอำนาจ แต่พอทำพลาดขาดศีล ศีลก็กลับมาทำร้ายตัวเขาเอง ศีลเปรียบเหมือนอันตี้ไวรัสโปรแกรม ถ้าเปรียบร่างกายของมนุษย์เหมือนกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไตรสิกขาก็เท่ากับอุปกรณ์ที่อยู่ภายในของคอมพิวเตอร์ ช่วยให้คอมพิวเตอร์นั้นทำงานได้

 

การทำงานของไตรสิกขา

 

ศีล คือ อันตี้ไวรัสโปรแกรม ไวรัสคือการประพฤติผิดในศีล 5 ถ้าเรามีสติและรักษาศีลได้ไม่ด่างพร้อยเท่ากับว่าอันตี้ไวรัสทำงาน สิ่งที่ขับเคลื่อนก็คือจิตใจ จิตใจเปรียบเหมือนฮาร์ดแวร์ ร่างกายของคนเราก็เหมือนซอฟแวร์

 

คลิกเลข 2 ด้านล่างเพื่ออ่านหน้าถัดไป >>>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.