Rub & Stub

“Rub & Stub” ร้านอาหารกู้โลก

“Rub & Stub” ร้านอาหารกู้โลก

“ Rub & Stub ” ร้านอาหารร้านนี้กู้โลก ช่วยลดปริมาณขยะอาหาร แนวคิดเล็ก ๆ แต่สร้างสรรค์แบบนี้ ในไม่ช้าปริมาณขยะอาหารก็จะค่อย ๆ ลดลง

0

ยูนิเซฟ (UNICEF) เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่าปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรผู้อดอยากหิวโหย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่รวมกันมากกว่าหนึ่งพันล้านคน! ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าเด็กอายุต่ํากว่า 5 ปีมีสถิติการเสียชีวิตจากภาวะนี้สูงสุดคือปีละไม่ต่ํากว่า 10 ล้านคน หรือทุก ๆ 5 วินาทีจะมีเด็กเสียชีวิต 1 คน
0
ขณะที่สถานการณ์อาหารในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในโซนอเมริกาและยุโรปกลับ “ตรงกันข้าม” อย่างเห็นได้ชัด เพราะประเทศเหล่านี้มีอาหารที่ปรุงสําเร็จและผลผลิตทางการเกษตรอย่างล้นเหลือเกินความต้องการ จนต้อง “ทิ้ง” เป็นขยะอาหารจํานวนหลายร้อยล้านตันต่อปี!
0
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว “ขยะอาหาร” เหล่านั้นยังสามารถกินได้ตามปกติ เพียงแต่รสชาติอาจจะไม่อร่อยถูกใจ รูปลักษณ์อาจจะไม่สวยสะดุดตาเพราะเริ่มเหี่ยว มีตําหนิ มีรอยดํา หรือบางชนิดก็ส่อแววใกล้หมดอายุแล้ว ฯลฯ
0

โซฟี เซลส์ (Sophie Sales) เป็นคนหนึ่งที่ตระหนักถึงปัญหาขยะอาหารล้นโลกนี้ดี เพราะตลอดหลายปีที่ทํางานคลุกคลีกับร้านอาหารและซูเปอร์มาร์เก็ตในเดนมาร์ก เธอได้รับรู้เรื่องการทิ้งอาหารดี ๆ ให้เป็นขยะมานักต่อนัก ดังนั้นเมื่อทางการเดนมาร์กวัดปริมาณขยะอาหารในประเทศได้มากถึง 300,000 ตันต่อปี เธอจึงแทบจะไม่ตกใจกับสถิตินี้เลย

0
โชคดีว่าความตกใจที่เกิดขึ้นในวันนั้น ไม่ได้จางหายไปแบบกลุ่มควัน เพราะมันกลับผลักดันให้โซฟีเริ่มหารือกับเพื่อน ๆ เพื่อระดมความคิดช่วยโลกทํานองเดียวกับพวกFreegan (ฟรีแกน) เพียงแต่กลุ่มของโซฟีคิดต่างไปจากนั้นอีกนิดคือไม่จําเป็นต้องออกไปคุ้ยเขี่ยขยะอาหารยามค่ําคืน เพื่อนํามารับประทานกันเป็นมื้อ ๆ แบบที่พวกฟรีแกนทําด้วยเหตุผลว่า แม้วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณขยะอาหารได้จริง แต่ก็ทําได้ในปริมาณไม่มาก และไม่ได้แพร่หลายเป็นที่รู้จักในสังคมมากนัก…คงจะสู้ “การเปิดร้านอาหาร” เพื่อรองรับขยะอาหารเหล่านี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้
0
เมื่อคิดวิเคราะห์อย่างถ้วนถี่แล้ว กลุ่มของโซฟีก็ตัดสินใจเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ ชื่อ “Spisehuset Rub & Stub” ขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
0
Rub & Stub
0
กลุ่มของโซฟีเริ่มต้นด้วยการติดต่อกับซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านมินิมาร์ท และร้านของชํา หลายแห่งในกรุงโคเปนเฮเกน เพื่อขอบริจาคผัก ผลไม้ นมเนย อาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่เข้าข่ายใกล้ “ถูกโละ” จากชั้นวางขายให้กลายเป็นขยะอาหารในอีกวันสองวันข้างหน้า…นํามาเป็นวัตถุดิบในร้านแทน
0
ไม่เพียงเท่านั้นเพื่อให้ Spisehuset Rub & Stub เป็นร้านที่เกิดขึ้นเพื่อลดขยะอาหารในกรุงโคเปนเฮเกนให้มากที่สุด และเป็นร้านที่ทําเพื่อโลก เพื่อสังคม และเพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ ด้วยกลุ่มของโซฟีจึงประกาศแนวทางของร้านอย่างชัดเจนว่า “เป็นร้านอาหารที่ไม่แสวงหาผลกําไร” เพราะนอกจากราคาค่าอาหารและเครื่องดื่มจะ “ถูกกว่า” ร้านทั่ว ๆ ไป 2 – 3 เท่า แล้วลูกค้ายังสามารถสั่ง “ไซส์อาหาร” เพิ่ม–ลดตามความต้องการได้โดยไม่คิดมูลค่าเพิ่ม
0
วิธีการนี้นอกจากจะทําให้ลูกค้าอิ่มท้องในราคาประหยัดแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดคือทางร้านไม่ต้องการให้ลูกค้ากินอาหารเหลือ เพราะอยากให้ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง
0
Rub & Stub
0
ส่วนรายได้ของร้านทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทางร้านมีความตั้งใจที่จะนําเงินส่วนนี้ไปร่วมสมทบกับองค์กรเรโทร (RETRO association) องค์กรการกุศลที่ทํางานด้านมนุษยธรรมในแอฟริกา เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในทวีปแอฟริกา ดินแดนที่ขึ้นชื่อเรื่องวิกฤตการณ์อาหารอีกด้วย
0
เป็นธรรมดาที่ร้านอาหารต้องมีไฮไลต์ หรือซิกเนเจอร์ (Signature) ซึ่งร้าน Spisehuset Rub & Stubก็ไม่พลาดที่จะจัดเตรียมในส่วนนี้เหมือนกัน นั่นก็คือ “ความสดใหม่และการสร้างสรรค์ไม่มีวันหยุด” เนื่องจากเชฟของร้านต้องสร้างสรรค์เมนูอาหารขึ้นใหม่ทุกวัน ให้สอดคล้องกับชนิดและปริมาณของวัตถุดิบที่ได้รับบริจาคมาในแต่ละครั้ง นอกจากรสชาติของอาหารจะต้องได้มาตรฐานทุกจานแล้วเชฟยังต้องใส่สุดยอดของส่วนผสม อย่าง “ความกล้าหาญ” ลงไปด้วย
0
โซฟีให้นิยามความกล้าหาญที่ว่านี้ว่า การกล้าคิดนอกกรอบ กล้าสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ และกล้าที่จะรับผิดชอบต่อหน้าตา และรสชาติของอาหารที่เกิดขึ้นนั่นเอง
0
Rub & Stub
0

การมาเยือนร้าน Spisehuset Rub & Stub ไม่เพียงจะทําให้อิ่มท้องและสบายกระเป๋าเท่านั้น แต่ที่นี่ยังเปรียบเสมือนศูนย์การเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่ทุกคนจะได้เข้าใจคุณค่าของอาหาร แนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดจนความเสียสละ เพราะเชื่อหรือไม่ว่าพนักงานในร้านล้วนแล้วแต่เป็น

0

“อาสาสมัคร” ที่มาช่วยทํางานด้วยใจ ไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมร้านอย่างใกล้ชิดได้ที่ http://spisrubogstub.dk/
0
แนวคิดเล็ก ๆ แต่สร้างสรรค์แบบนี้ หากมีการส่งต่อไปยังเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก หรือแม้แต่เริ่มต้นง่าย ๆ ในครอบครัวของเราเอง ในไม่ช้าปริมาณขยะอาหารก็จะค่อย ๆ ลดลง และเราก็จะกู้โลกสวยคืนกลับมาได้ในที่สุด
0
ที่มา : นิตยสาร Secret ปี 2557 ฉบับที่ 146 (26 ก.ค. 57) หน้า 74-75
คอลัมน์ : INSPIRATION
ผู้เขียน/แต่ง : ปาปิรัส
ภาพ : http://spisrubogstub.dk/
0

0
บทความน่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.