ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ความหวังใหม่เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ไทย

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ความหวังใหม่เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ไทย

ภาครัฐและพระสงฆ์ร่วมกันผลัดดันจนเกิด ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ขึ้นมา พูดได้ว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ นับถือศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน ได้ทำโครงการที่ดีมีประโยชน์แก่พระภิกษุสามเณรได้ขนาดนี้แล้ว ทำให้มีความปีติที่พระท่านจะได้รับการใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ และชาวพุทธเองจะได้หันมาใส่ใจ สนใจในเรื่องนี้มากขึ้น

 

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ
พระมงคลวชิรกร

 

สาเหตุของปัญหาสุขภาพพระสงฆ์

พระมงคลวชิรากร กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ว่า

“ ปัญหาจริง ๆ เกิดขึ้นจากทั้งพระสงฆ์เองและฆราวาส ต่างมองปัญหาไม่เหมือนกัน ทางพระก็ไม่ขัดศรัทธาตามที่โยมได้อุปัฏฐากและอุปถัมภ์ ทั้ง ๆ ที่พระสงฆ์เองมีข้อจำกัดในการดำรงชีวิต แต่พระสงฆ์โดยส่วนมากก็ไม่รู้ว่าข้อจำกัดนั้นคืออะไร ก็รับข้าวของจากญาติโยมตามกำลังศรัทธา ญาติโยมเมื่อเห็นพระท่านฉันอยู่ดีมีสุขดีก็อุปัฏฐากบำรุง อย่างคนตายชอบอะไรต้องถวายอุปัฏฐากอาหารอย่างที่คนตายชอบ พระสงฆ์ก็รับแล้วอาหารที่ญาติโยมถวายนั้นก็เป็นอาหารเบา ก็คืออาหารเบาหวานนั้นล่ะ

“ ปัญหาที่เจอกันบ่อยคือการรักษาพยาบาล แต่ทีนี้ขึ้นอยู่ที่บริบทจริง ๆ ของพระสงฆ์เอง ตามหลักพระธรรมวินัยแล้ว พระสงฆ์อาพาธก็อนุโลมให้นางพยาบาลอุปัฏฐาก ดูแล และรักษาเต็มที่ แต่ทีนี้ภาพที่ออกไปจะเป็นภาพที่ไม่สมควร คนที่ไม่เข้าใจพระธรรมวินัย กลายเป็นว่าพยาบาลที่เป็นผู้หญิงถูกต้องกายพระภิกษุสามเณร ที่ว่าจริง ๆ แล้ว พระภิกษุสามเณรอาพาธมีข้อยกเว้น ”

 

 

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป

 

ความสำคัญของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ

นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป กล่าวถึงความสำคัญของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติว่า

“ กระทรวงสาธารณสุขเอง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ด้วย ได้เห็นความสำคัญต่อบทบาทในการดูแลพระสงฆ์ มีการสำรวจ หรืองานวิจัยพบว่าพระสงฆ์ประมาณ 45 % มีปัญหาเรื่องอ้วน น้ำหนักเกิน  ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และไขข้อเสื่อม

“ งานเกี่ยวกับสุขภาพของพระสงฆ์ที่มุ่งว่าจะทำอย่างไรถึงจะดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ได้เป็นอย่างดี แต่ยังหาทางแก้ปัญหาไม่ได้ จนกระทั่งมาถึงปี 2555 ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีต่าง ๆ  รวมทั้งพระสงฆ์ด้วย ก็พร้อมใจกันเสนอเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติในครั้งนั้น ว่าทำอย่างไรถึงจะดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ได้

“ พอมีมติสมัชชาสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข  กรมอนามัยและกรมควบคุมโรคเป็นแม่งานในการขับเคลื่อนโครงการนี้ แล้วมีการสานต่อมาจนถึงปี 2558 ในสามปีแรกยังคำทางกันไม่ถูก แต่ในที่สุดพระสงฆ์ทั้งฝ่ายปกครองและสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติเข้ามาช่วยเหลือ ประจวบเหมาะกับทางสำนักกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำลังทำการทบทวนธรรมนูญสุขภาพเป็นฉบับที่สอง เลยเกิดความคิดว่า จะเอาธรรมนูญเข้ามาช่วยได้ไหม เพราะธรรมนูญยังไม่มีกฎหมายบังคับ แต่เป็นเพียงข้อตกลงร่วม ทางพระสงฆ์ท่านก็รับความเห็นนี้ จึงกลายเป็นที่มาของการค่อย ๆ พัฒนาจากมติสมัชชาสุขภาพมาเป็น ธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์”

 

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ  

สิทธิ์ของพระสงฆ์ที่จะได้จากธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์

นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป กล่าวถึงสิทธิของพระสงฆ์จะได้จากธรรมนูญสุขภาพว่า

“ พระสงฆ์ในฐานะที่เป็นประชาชนไทย สามารถเข้าถึงสิทธิ์ อย่างน้อยก็เรื่องของสิทธิ์ในการรักษา แต่ที่ผ่านมาอุปสรรคสำคัญคือ ‘บัตรประจำตัวพระสงฆ์’ หรือ ‘ใบสุทธิ’ เพราะไม่มีเลขสิบสามหลักอย่างบัตรประจำตัวประชาชน ทีนี้เมื่อไม่มีเลขสิบสามหลักก็ไม่สามารถใช้สิทธิ์เรื่องของหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าได้ แต่ผลจากการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ คือเรื่องของทะเบียน การทำทะเบียน และสำรวจ แล้วก็ให้ใช้บัตรประชาชนเลขสิบสามหลักเป็นหลัก และใช้ใบสุทธิมาเป็นตัวประกอบด้วย นอกจากนี้จะทำให้รู้ข้อมูลทั้งหมดเลยว่ามีพระสงฆ์จริง ๆ เท่าไร แล้วทราบถึงคนปลอมมาบวชด้วย ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายปกครองสงฆ์และฝ่ายพัฒนา”

 

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ

 

เชื่อว่า จะมีโครงการที่ทำเพื่อพระสงฆ์อีกมาก ที่จะดูแลและส่งเสริมพระภิกษุสามเณร ผู้เป็นเนื้อนาบุญของเรา ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาตินี้ เห็นว่าจะปฏิรูปให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดีขึ้นภายในสิบปี จะสำเร็จได้นอกจาพระสงฆ์ที่จะต้องเป็นผู้ดูแลตัวท่านเองแล้ว ญาติโยมก็เป็นอีกแรงสำคัญที่จะช่วยให้โครงการนี้สำเร็จ 

 

เรื่องและภาพจาก ch7 และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

 


บทความน่าสนใจ

เตือนชาวพุทธลดโซเดียมใส่บาตรพระสงฆ์ วันวิสาขบูชา

ใส่บาตรด้วย 10 เมนูอาหารไทยเพื่อสุขภาพ

Dhamma Daily : ถ้าสวมรองเท้า ใส่บาตร จะบาปหรือเปล่า

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.