6 วิธีการปฏิเสธ ที่จะไม่ทำให้ผู้ถูกปฏิเสธเสียความรู้สึก

6 วิธีการปฏิเสธ ที่จะไม่ทำให้ผู้ถูกปฏิเสธเสียความรู้สึก

0
บางทีการมีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่่นโดยไม่ปฏิเสธก็เป็นสิ่งที่ดี แต่การที่เราทำความดีเพื่อคนอื่นจนเราลำบากก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับเราเหมือนกัน เรามีทางออกมาให้ด้วยการพูดเหมือนตอบรับ แต่จริง ๆ มันคือ วิธีการปฏิเสธ แล้วทำอย่างไรไม่ให้การปฏิเสธของเรา ทำให้ผู้ถูกปฏิเสธเสียความรู้สึก ลองมาปฏิบัติตาม 6 วิธีการปฏิเสธ ที่จะไม่ทำให้ผู้ถูกปฏิเสธเสียความรู้สึกกัน
0
คาร์ล อัลเลน พนักงานสินเชื่อในภาพยนตร์เรื่อง Yes Man เคยต่อต้านคํากล่าวนี้ และยิ่งหลังจากที่หย่าขาดกับภรรยา เขาก็ยิ่งกลายเป็นคนที่ชอบปิดกั้นตัวเอง และคําว่า “ไม่” ก็ได้ กลายมาเป็นคําประจําตัวของเขา จนกระทั่งวันหนึ่งมีเหตุการณ์ที่ทําให้เขาต้องเปลี่ยนชีวิตจาก “คุณไม่” มาเป็น “คุณได้” แล้วหลังจากนั้นชีวิตของเขาก็เริ่มเปิดรับเรื่องดีๆ และพลิกจากทุกข์เป็นสุขได้ในที่สุด
0
อย่างไรก็ตาม ชีวิตจริงย่อมไม่เหมือนในภาพยนตร์ไปเสียทั้งหมด การเป็นคนขี้เกรงใจที่มักเอ่ยคําว่า “ได้” หรือ “ใช่” ไปเสียทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ อาจนําพาความทุกข์มาสู่เราได้
0
สํารวจทางจิตวิทยาระบุว่าการตอบรับในขณะที่จิตใจของเราอยู่ในสภาวะที่อยากปฏิเสธนั้น ส่งผลให้เกิดภาวะเครียด ปวดหัว ปวดไหล่ ไปจนถึงขั้นนอนไม่หลับสําหรับบางคน ในขณะที่อาจารย์พอใจ พุกกะคุปต์ เคยกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “ทฤษฎีว่าด้วยความเกรงใจ” ว่า
0
ความเกรงใจคนอื่นทําให้ ‘คนอื่นสุขมาก – ตัวเรา สุขน้อย’ ความเกรงใจตัวเองทําให้ ‘ตัวเราสุขมาก – คนอื่น สุขน้อย’ถ้าอยากให้ทุกคนทุกฝ่ายมี ‘ความสุขร่วมกัน’ ได้จริง ๆ จะต้องหาจุดสมดุลหรือพื้นที่ ‘ทับซ้อน’ (overlap) แห่งความพอเหมาะ – พอดีตรงนี้ให้ได้”
0
พอทราบเช่นนี้แล้ว มาร่วมกันค้นหาพื้นที่ทับซ้อนที่ว่า ในแบบที่ไม่ทําให้บัวช้ำน้ำขุ่นกันดีกว่า
0
6 เทคนิคเพื่อการปฏิเสธอย่างฉลาด
0
1) ตอบปฏิเสธตรง ๆ โดยเน้นคําว่า “ไม่” 2 ครั้ง เพื่อสื่อว่าคุณทําไม่ได้จริงๆ พร้อมเอ่ย “ขอบคุณ” ปิดท้าย
ตัวอย่าง : “ไม่ได้ครับผมไปไม่ได้จริงๆ ขอบคุณที่ชวน ”
 0
2) สะท้อนถึงคําว่า “ไม่” ก่อนปฏิเสธ เพื่อให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณเข้าใจในสิ่งที่คนชวน ต้องการเพียงแต่ทําให้ไม่ได้จริงๆ
ตัวอย่าง : “ผมรู้ดีว่า คุณแค่ขอข้อมูลใช้เวลาไม่นาน แต่ผมต้องรีบไปจริงๆ”
 0
3) บอกเหตุผลที่ทําให้ต้องปฏิเสธเพื่อให้ได้ผลดี เหตุผลที่ใช้ต้องสั้นกระชับชัดเจน เพื่อให้ไม่ดูเป็นข้ออ้าง
ตัวอย่าง : “ฉันคงไปกับคุณไม่ได้ เพราะมีงานที่ต้องทําให้เสร็จภายในคืนนี้”
 0
4) ปฏิเสธพร้อมต่อรอง หากทําในครั้งนี้ไม่ได้ลองยื่นข้อเสนอไปว่าเป็นคราวหน้าได้หรือไม่
ตัวอย่าง : “ผมไปเลี้ยงรุ่นไม่ได้จริง ๆ เดี๋ยววันหลังค่อยไปนอกรอบกันนะ”
 0
5) ปฏิเสธแล้วถามกลับ หลังจากปฏิเสธแล้ว ให้ถามกลับไปทันที เพื่อสื่อถึงความใส่ใจและไม่ดูดายในเรื่องนั้นๆ
ตัวอย่าง : “ ครั้งนี้ฉันคงไปเที่ยวด้วยไม่ได้จริง ๆ ว่าแต่เราจะมีโอกาสได้เจอกันอีกครั้งเมื่อไหร่เนี่ย”
 0
6) ทวนคําปฎิเสธ เทคนิคข้อนี้แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของเรา และสื่อว่าที่ต้องปฏิเสธเพราะมีเหตุจําเป็นจริงๆ
ตัวอย่าง : “ เราอยากไปด้วยแต่ไปไม่ได้ ถ้าไปได้วันนี้กะจะเลี้ยงเธอซะหน่อย น่าเสียดายที่ไปไม่ได้จริงๆ”
 0
การรู้จักให้เป็นเรื่องที่ดี แต่การรู้จักปฏิเสธอย่างเหมาะสมก็เป็นเรื่องจําเป็นสําหรับชีวิตเช่นเดียวกัน ก่อนตอบรับหรือปฏิเสธครั้งต่อไป ลองพิจารณาถึงข้อดี – ข้อเสียให้ถ้วนถี่ก่อนตัดสินใจ เพื่อการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ทุกข์ทั้งเขาและเรา
 0
เรื่อง นิทาน สรรพสิริ
ที่มา : นิตยสาร Secret ปี 2555 ฉบับที่ 102 หน้า 66-67
คอลัมน์ : Life management
0

บทความน่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.