วิธีวิจารณ์คน

7 วิธีวิจารณ์คนอย่างมีชั้นเชิง รับประกัน! ไม่โดนโกรธ

7 วิธีวิจารณ์คน อย่างมีชั้นเชิง

หลายครั้งเราคงอยากวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นตรงๆ อย่าง “ตรงไปตรงมา” แต่บางทีคำพูดหรือความหวังดีของเราอาจกระทบกระเทือนใจผู้ฟังได้ Secret จึงขอนำเสน วิธีวิจารณ์คน แบบที่มั่นใจได้ว่าจะไม่ทำให้เขาโกรธมาให้ท่านผู้อ่านได้ลองนำไปใช้กัน

 

  1. ไม่รัก (จริง) ไม่พูด

ควรทำให้คนที่คุณกำลังวิจารณ์รู้สึกว่าคุณใส่ใจในตัวเขา  ไม่อยากให้คนอื่นเข้าใจในตัวเขาผิดอีกต่อไป

สถานการณ์  คนหนึ่งทำหน้าเศร้าอีกคนกุมมือปลอบใจ

A: มีคนบอกว่าฉันหยิ่ง  ไม่แคร์ใคร

B: ฉันรู้ว่าจริง ๆ แล้วเธอเป็นคนน่ารักและจิตใจดีมาก  รับรองว่าคนอื่นจะเห็นเหมือนฉันถ้าเธอยิ้มให้มากกว่านี้  เพราะเวลาไม่ยิ้ม  หน้าเธอจะดูเฉยมาก จนใคร ๆ อาจคิดว่าเธอเป็นคนหยิ่ง

 

2 อย่าเอาเรื่องลับมาเผยในที่แจ้ง

ทุกครั้งที่จะวิจารณ์ใคร  ควรพูดกันแบบส่วนตัวบางเรื่องแม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับคุณ  แต่สำหรับบางคน  การที่มีคนอื่นได้ยินเวลาเขาถูกวิจารณ์อาจทำให้เขารู้สึกเสียหน้าอย่างมาก

สถานการณ์  ภาพในห้องประชุม  คนอยู่เยอะ

เจ้านาย: คุณทำงานแย่มากผมต้องเสียลูกค้าก็เพราะคุณ!

ลูกน้อง: (ก้มหน้า รู้สึกอับอาย)

 

  1. ชมก่อน  วิจารณ์ทีหลัง

การขึ้นต้นบทสนทนาด้วยคำชมจะช่วยให้อีกฝ่ายยอมเปิดใจรับฟังคำวิจารณ์ง่ายขึ้น

สถานการณ์ เพื่อนแสดงกิริยาก้าวร้าวในที่ประชุม เช่น ทุบโต๊ะ โยนแฟ้มเพื่อแสดงความไม่พอใจ

(เตือน) จริง ๆ แล้วเธอเป็นเพื่อนร่วมงานที่น่ารักมาก  ฉันทำงานด้วยแล้วสบายใจที่สุด  (วิจารณ์) แต่สิ่งที่เธอทำเมื่อกี้อาจทำให้คนอื่นมองเธอไม่ดีได้นะ  ฉันเป็นห่วงจังเลย…

 

  1. วิจารณ์การกระทำ  ไม่ใช่ตัวบุคคล

การที่ใครสักคนทำอะไรแย่ ๆ ลงไปนั้นเขาอาจไม่ได้ตั้งใจเสมอไป  เราควรคิดเสมอว่า เขาอาจทำโดยไม่รู้ตัวก็ได้  ดังนั้นจึงควรวิจารณ์ที่การกระทำมากกว่าตัวบุคคล

สถานการณ์ 

คิดในหัว: ยัยนี่ปากเสียสุดๆ!

สิ่งที่พูด: คุณเป็นคนตรงไปตรงมาดี  แต่มีหลายครั้งที่เวลาคุณพูดมันทำให้ฉันและคนอื่นรู้สึกเสียใจนะคะ

 

  1. เอามือปิดปาก (ตัวเอง) ไว้

ถ้ายังไม่มีทางออก การวิจารณ์สิ่งใดเราควรมีทางออกมานำเสนอด้วยเพราะการวิจารณ์คนอื่นโดยไม่มีทางออกให้เขานั้น  ไม่เกิดประโยชน์อันใดทั้งกับตัวผู้วิจารณ์เองและผู้ฟัง  หนำซ้ำยังอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงอีก

สถานการณ์

คิดในหัว: ยัยนี่พูดอะไรไม่เห็นเข้าท่า  ไร้สาระ น่ารำคาญที่สุด

สิ่งที่พูด: คราวหน้าเธอลองหาข้อมูลของบริษัทคู่แข่งมานำเสนอด้วยสิ  รับรองว่าที่ประชุมจะต้องสนใจมากแน่ ๆ

 

  1. ช้าๆ…ได้พร้าเล่มงาม

เวลาที่ดีที่สุดเมื่อคุณต้องการจะวิจารณ์ใครคือ เมื่อคุณไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ แล้ว  ดังนั้น  ถ้าจะให้ดีควรทิ้งระยะสัก 2 - 3 วันค่อยพูด

Don’t สถานการณ์ 1.  คนสองคนนั่งกินอาหารด้วยกัน

A: (กินอาหารอยู่) เค็มชะมัดใส่เกลือลงไปทั้งขวดหรือเปล่าเนี่ย

B: งั้นไม่ต้องกิน (เดินไปเทอาหารทิ้ง)

Do สถานการณ์ 2. สองวันถัดมา…ภายในรถ

A: ไข่ตุ๋นที่คุณทำเมื่อวันก่อนอร่อยนะ  แต่เค็มไปนิดหนึ่ง

B: ว้าย!  จริงเหรอ  งั้นคราวหน้าจะใส่เกลือให้น้อยลงนะจ๊ะ

 

  1. ไม่ใช่แค่คุณที่มีปัญหาแบบนี้

เวลาจะวิจารณ์ใคร  ให้พยายามบอกว่าสิ่งที่เขาทำลงไปเป็นเรื่องธรรมดาที่คุณหรือทุกคนก็เป็นกัน  การพูดเช่นนี้จะช่วยลดอัตตาหรือการต่อต้านจากเขาได้

สถานการณ์  เพื่อนชอบใส่น้ำหอมมากเกินไปจนกลิ่นฉุนไปทั้งออฟฟิศ

Don’t สถานการณ์ 1.

A: เธอใส่น้ำหอมเยอะจนเหม็นไปทั้งออฟฟิศแล้ว  รู้ตัวไหม

B: เชอะ  น้ำหอมกลิ่นนี้ใคร ๆ ก็ว่าหอมกันทั้งนั้น  คนอะไร  ไม่มีรสนิยม!

Do สถานการณ์ 2.

A: น้ำหอมกลิ่นนี้หอมดี ฉันเองก็เคยใช้  แต่เธอต้องแตะตามตัวนิดหน่อยเท่านั้นนะ  สมัยก่อนวันไหนฉันใส่เยอะ  เพื่อน ๆ จะบอกว่าฉุนไป  ไม่หอมเหมือนเวลาแต้มน้อย ๆ  วันนี้เธอคงพรมมาซะเยอะแน่เลย  ใช่ไหม

B: ใช่ ฉุนไปงั้นเหรอ  งั้นพรุ่งนี้ฉันจะแต้มมาน้อย ๆ ตามที่เธอแนะนำก็แล้วกัน

 

ลองทำตาม 7 วิธีนี้ รับรองว่าคุณจะไม่ทำให้ใครต้องขุ่นข้องหมองใจเพราะการวิจารณ์ของคุณอีกต่อไปแน่นอน

ที่มา : นิตยสารซีเคร็ต

ภาพ : Photo by Ben White on Unsplash


บทความน่าสนใจ

10 วิธีปรับออฟฟิศเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน

อย่าพูดว่าทำไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ลองทำ เบสท์ – ปรัชญ์วรกิตติ์ ฆฤตภูริภาคย์ นักบินผู้ช่วย สายการบินนกสกู๊ต

รัชเขต วีสเพ็ญ-จากนักเลงหัวไม้สู่ นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ

ปู – ยุวดี เรืองฉาย ไม่เพี้ยน ไม่บ้า แค่กล้าพูดความจริง (1)

ปู – ยุวดี เรืองฉาย ไม่เพี้ยน ไม่บ้า แค่กล้าพูดความจริง (จบ)

ปู่เย็น ผู้เป็นต้นแบบของชีวิตพอเพียง

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.