ทุกข์-สุขเกิดขึ้นจากอะไร

ทุกข์-สุขเกิดขึ้นจากอะไร ธรรมะคลายใจจาก พระอาจารย์มานพ อุปสโม

ทุกข์-สุขเกิดขึ้นจากอะไร ธรรมะคลายใจจาก พระอาจารย์มานพ อุปสโม

ไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับความทุกข์และความสุข แต่เหมือนว่าคนเราเลือกที่มีความสุขมากกว่าความทุกข์ หากเรารู้ว่า ทุกข์-สุขเกิดขึ้นจากอะไร เราอาจจะรู้วิธีการกำจัดความทุกข์ก็เป็นได้ พระอาจารย์มานพ อุปสโมได้แสดงธรรมเรื่องนี้ไว้ว่า

สุขที่บอกว่ามันเป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาหนึ่งขณะจิต แล้วมันดับลงทันที สุขตรงนี้มันเกิดมาจากอะไร สุขหรือทุกข์ก็ได้ สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ แต่ที่เกิดมันมีสาเหตุ เกิดมาจากอะไร เกิดมาจากความรู้สึก ความสุขมาจากความรู้สึก ความทุกข์ก็เหมือนกัน มันมาจากความรู้สึก คือมันเกิดจากการรับรู้ รับรู้เรื่อง

การรับรู้เรื่องของคนเรามันมีกระบวนการรับรู้เรื่อง หรือมันมีทางรับรู้เรื่อง รับรู้เรื่องทางไหนบ้าง การรับรู้เรื่องก็คือ รับรู้เรื่องทางตา รับรู้เรื่องทางหู รับรู้เรื่องทางจมูก รับรู้เรื่องทางลิ้น รับรู้เรื่องทางกาย และรับรู้เรื่องทางใจ พอเข้าไปรับรู้เรื่องแล้ว คราวนี้ก็จะเกิดก็จะเกิดความรู้สึกตามมา อย่างใดอย่างหนึ่ง ในความรู้สึกสามประการ เป็นความรู้สึกสบายใจ หรือบางครั้งรับรู้เรื่องแล้วก็ไม่สบายใจ แต่บางครั้งไปรับรู้เรื่องแล้วเกิดความรู้สึกเฉย ๆ ตัวรู้สึกสบายใจ รู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกเฉย ๆ ตรงนี้เขาเรียกว่า “เวทนา”

สุขก็คือเวทนาตัวหนึ่ง ทุกข์ก็เป็นเวทนาตัวหนึ่ง ถ้าเฉย ๆ เขาก็เรียกว่า “อุเบกขาเวทนา” ฉะนั้นเมื่อเราเข้าไปรับรู้ เจ้าไปรู้สึก รู้สึกทางตา รู้สึกทางหู รู้สึกทางจมูก รู้สึกทางลิ้น รู้สึกทางกาย แล้วก็รู้สึกทางใจ พอเราเข้าไปรู้สึกแล้ว มันจะเกิดความรู้สึกตามมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในความรู้สึกสามประการ บางครั้งก็รู้สึกสบาย เขาเรียกว่าสุข บางครั้งก็รู้สึกไม่สบาย เขาเรียกว่าทุกข์ แต่บางครั้งสบาย หรือไม่สบาย ไม่มี เขาก็เรียกว่าอุเบกขา เฉย ๆ เป็นอุเบกขา แล้วก็ถ้าอุเบกขาคือในบรรดาความรู้สึกสามประการ

ถามว่า บุคคลทั่วไป ชอบอะไร รู้สึกสบาย รู้สึกไม่สบาย แล้วรู้สึกเฉย ๆ ปุถุชนคนเราก็ชอบสิ่งเดียวกัน เหมือนกันหมด ชอบความรู้สึกสบาย ความรู้สึกไม่สบาย ไม่เอา เฉย เฉยก็ยังไม่เอา แต่ว่าความรู้สึกที่ไม่เกิดปัญหา คือความเฉย เฉยแล้วไม่สร้างปัญหา เฉยแล้วไม่มีการยึดติด แต่ถ้ารู้สึกสบาย มันทำให้เราพอใจ อยากได้ พอใจอยากได้ เขาเรียกว่า “ตัณหา” ตัวสุขนี้มันสร้างตัณหา สุขทำให้เกิดตัณหา พอตัณหาเกิด คราวนี้ก็เกิดการยึดถือ ยึดถือก็เลยขาดไม่ได้

 

ถอดความ : ในทางธรรม ไม่ได้สอนให้เราละทิ้ง แต่สอนให้เรารู้เท่าทัน | สุขทุกวัน 7 วัน 7 กูรู | 12 ธ.ค. 61

ภาพ : www.pexels.com


บทความน่าสนใจ

Dhamma Daily : พระอาจารย์มานพ อุปสโม ตอบปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติธรรม

มองใจให้ถูก ใจจึงจะดับทุกข์ได้ ธรรมะโดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

ปวดกาย แต่ไม่ปวดใจ ธรรมะให้ใจวางเฉย โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

วิธีสังเกตลมหายใจ โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

จงเห็นทุกข์แต่อย่าเป็นทุกข์ ธรรมะโดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.