ความโกรธ

ความโกรธมีเสน่ห์ เพราะเป็นความอร่อยของคนโง่ : ท่านพุทธทาสภิกขุ

ความโกรธ มีเสน่ห์ เพราะเป็นความอร่อยของคนโง่ : ท่านพุทธทาสภิกขุ

ทำไมท่านพุทธทาสภิกขุจึงกล่าวว่า ” ความโกรธ มีเสน่ห์ เพราะเป็นความอร่อยของคนโง่” ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในเรื่อง เสน่ห์ของความโกรธ ว่า

“เอ้า ทีนี้ดูคต่อไปถึงเสน่ห์ของความโกรธ ผมพูดคำอย่างนี้ ด้วยความมุ่งหมาย 2 อย่าง คือให้รู้จักคำที่ท่านใช้ภาษาธรรมะ หรือภาษาบาลี ว่าท่านใช้กันอย่างไร และให้รู้จักจำเอาไปใช้ คือเพิ่มคำที่เรารู้นั้นมากขึ้น ให้รู้ว่าท่านใช้คำที่มันมีความหมายลึก ฉะนั้นจึงเรียกว่าเสน่ห์…อัสสาทะ โดยบาลีเรียกอัสสาทะ ทุกสิ่งมันมีอัสสาทะไม่มากก็น้อย นั่นคือเสน่ห์ที่จะดึงเราไปเป็นทาส เป็นบ่าว หรือว่าเป็นผู้กระทำ

” ทีนี้ความโกรธมีเสน่ห์ ก็เพราะว่ามันเป็นความอร่อยของคนโง่ เป็นของอร่อยชอบอกชอบใจของคนด้อยปัญญา มีบาลีว่า ความโกรธเป็นโคจรของคนด้อยปัญญา

” ทุมฺเมธ แปลว่า มีปัญญาชั่ว มีปัญญทราม มันด้อยปัญญา โคจร แปลว่า ที่อร่อย ที่พอใจ ที่อยากจะไปหาอยากไปกิน อยากไปอยู่ อยากไปอะไร…ก็เรียกว่าโคจรเหมือนกะว่าทุ่งนา แล้วมันได้กินหญ้า แล้วมันอร่อยนี้คำว่าโคจร มันมีความหมายอย่างนั้น ใช้ได้ในกรณีทั้งหลายที่ชอบไปหา ชอบไปกิน ชอบไปเสพคบนี้ ความโกรธมันเป็นโคจรของคนด้อยปัญญา

 

ความโกรธ
ภาพจาก www.pexels.com

 

” นี่ก็พูดได้อีกทีหนึ่งว่า คนโง่เท่านั้นที่จะชอบโกรธ ถ้าคนที่มีปัญญาเขาไม่ชอบโกรธ ที่ชอบโกรธเพราะว่ามันอร่อย เมื่อกำลังอร่อยอยู่นั้นมันรู้สึกรสอร่อย อย่างนี้เรียกว่าอัสสาทะของความโกรธ

” คนเขาโกรธบ่อย ๆ เขาก็รู้สึกอร่อย แล้วเขาก็ติดในรสอร่อยของการได้โกรธ ได้ด่า ได้ตี ฉะนั้น คนจึงชอบด่าคน ชอบตีคน หรือในสมัยที่มีทาสก็ทำแก่คนที่เป็นทาสได้ตามต้องการ การตี การด่า กับพวกทาสน่ะมันอร่อยแก่จิตใจของนาย นี่เรียกว่าอัสสาทะของความโกรธ คือเสน่ห์ของความโกรธ

” ทีนี้โกรธเสร็จแล้วมันจึงแผดเผา เมื่อขณะที่โกรธอยู่นั้นเหมือนกับน้ำตาลหวานอร่อย พอโกรธเสร็จแล้วกลายเป็นยาพิษ ฉะนั้นจึงมีอาการเหมือนกับอร่อยเบื้องต้นแล้วก็ขมขื่นทีหลัง ก็มีบาลีว่า ปัจฺฉาโส วิคเต โกเธ ภายหลังเมื่อความโกรธหมดไปแล้ว อคฺคิทฑฺโตว ตปฺปติ เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้

 

ความโกรธ
ภาพจาก www.pexels.com

 

” เมื่อโกรธนั้นสบาย สนุก อร่อย พอความโกรธไปหมดแล้ว นึกขึ้นมาได้ ทีนี้จะเหมือนกับถูกไฟไหม้ ไฟเผาทีเดียว มีความร้อนใจ นี้ที่แสดงว่าความโกรธนั้นมันมีของอร่อย มีรสอร่อยในตอนต้น เป็นอัสสาทะนั่นเอง

” จำคำว่า เสน่ห์ หรือคำว่า อัสสาทะ ไว้ สำหรับศึกษาตลอดเวลา ระวังว่าทุกอย่างมันมีอัสสาทะ แม้แต่ความชั่ว ความเลว หรืออะไรก็ตาม มันมีอัสสาทะ แม้แต่ความชั่ว ความเลว หรืออะไรก็ตาม มันมีอัสสาทะที่จะดึงคนไปหา ดึงคนไปทำ จึงเรียกว่าเหมือนกับเหยื่อ เหยื่อล่ออัสสาทะนี้ทำหน้าที่เหมือนกันกับเหยื่อล่อ แต่ตัวมันแปลว่าความอร่อย ฉะนั้นจึงต้องระวัง เพราะว่าความโกรธมันก็มีเสน่ห์ แล้วเราไปหลงเสน่ห์มันเข้า ก็กลายเป็นความชอบโกรธ พอไปโกรธเข้าบ่อย ๆ มันก็เป็นนิสัยที่โกรธง่าย และโกรธเร็วแล้วก็แก้ยาก ”

 

ที่มา :

การเก็บความโกรธใส่ยุ้งฉาง โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

ภาพ :

www.pexels.com


บทความน่าสนใจ

พุทธมนต์ บรรเทาความโกรธ ปรับใจให้ เป็นกลาง เพื่อชีวิต มีสุข

พระโกกาลิกะ ผู้ไปสู่ ขุมนรก เพราะ อาฆาต พระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า

นางมาคันทิยา สตรีผู้ ตามจองล้าง จองผลาญ พระพุทธเจ้า

5 บุคคล บาปหนา จน หนักแผ่นดิน ใน สมัยพุทธกาล

ท่านพุทธทาสภิกขุ สอนเรื่อง ครอบครัว ใน แง่มุม ที่ คิดไม่ถึง สำหรับ คนเกลียดวัด

ความสุข ที่แท้จริง ตามหลัก ท่านพุทธทาส

โลกนี้มีแต่ คนบ้า บ้าบอ กันไปหมด แล้วใครคือ คนที่ไม่บ้า ในมุมมองของ ท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุระงับ โรคหัวใจวาย และ น้ำท่วมปอด ด้วย ธรรมโอสถ ของพระพุทธเจ้า

“ พุทธทาส จักไม่ตาย ” ตามรอยพระอรหันต์ พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

ทำไม พุทธทาสภิกขุถึงปฏิเสธ นรก – สวรรค์ และ การเวียนว่าย ตายเกิด

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.