โยนิโสมนสิการ

เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนคิดบวกด้วยโยนิโสมนสิการ

การหยุดคิดแล้วอยู่กับปัจจุบันขณะ คือการดึงตัวเองออกมาจากการคิดลบ ด้วยการย้ายจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ เช่น กำหนดรู้อยู่กับลมหายใจ (อานาปานสติ) กำหนดรู้อยู่กับความรู้สึก (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) เป็นวิธีคิดแบบเป็นอยู่ปัจจุบัน และสุดท้าย วิธีคิดแบบวิภัชชวาท อันนี้ไม่ได้คิดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้หลักคิดทั้ง 9 ประการ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด ผศ.ชาตรี ชุมแสนเสนอว่า พระพุทธเจ้าทรงมีอีกพระนามว่า “วิภัชชวาที” แปลว่า ผู้พูดแยกแยะเป็นส่วน ๆ จะสังเกตได้ว่าคำสอนของพระองค์จะจำแนกแบ่งเป็นข้อ ๆ เช่น ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ 4 และอื่น ๆ การสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์จะทรงคิด (โยนิโสมนสิการ) แล้วตรัส (วิภัชชวาท)  สอน

ทำอย่างไรให้กลายเป็นคนคิดบวกด้วยโยนิโสมนสิการ ประการแรกต้องแยกแยะก่อนว่าคำพูด หรือสิ่งที่เข้ามากระทบจิตใจของเรา ทำให้รู้สึกทุกข์นั้น มีที่มาจากอะไร เช่น คำติของหัวหน้าที่ใส่อารมณ์ อาจมาจากการที่เราทำงานผิดพลาดบ่อยครั้ง หรือภาระงานที่หัวหน้ารับผิดชอบทำให้เขาเครียดอยู่แล้ว จึงเพ้อใช้อารมณ์กับเรา คนเรามีจิตใจและความรู้สึกจึงไม่แปลกที่จะคิดมากว่า หัวหน้าเกลียด หรือหัวหน้าโกรธ ทั้งที่คำตำหนิก็มาจากความหวังดี แต่แค่มีปัจจัยอื่นทำให้เป็นอย่างนี้ จะสังเกตว่าหากคิดได้อย่างนี้ จัดเป็นวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย และ วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ หัวหน้าก็เป็นคนธรรมดา มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหมือนเรา เรารู้สึกอย่างไรเขาก็รู้สึกเหมือนเรา เวลาแฟนทำอะไรไม่ถูกใจ เรายังต่อว่าแฟนเลยจริงไหม เป็นอย่างนี้เพราะมีเหตุปัจจัยอย่างนี้นั่นเอง 

 

 

เมื่อรู้ว่าการคิดลบส่งผลไม่ดีต่อร่างกายและจิตใจ ก็หาทางแก้ไข เช่น ปล่อยวาง หรือทำความเข้าใจ หัวหน้าก็มีลักษณะอย่างนี้ มีอุปนิสัยอย่างนี้ เมื่อแก้ไขใครไม่ได้ก็แก้ที่ตัวเรา เป็นวิธีคิดแบบอริยสัจ 4 เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ คิดว่าไม่มีอะไรแน่นอนวันนี้ทำงานถูกใจก็ได้รับคำชื่นชม วันหน้าทำไม่ถูกใจก็โดนตำหนิเป็นเรื่องธรรมดาของโลก เป็นวิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ เพราะชีวิตเป็นอนิจจัง แม้กระทั่งเรายังทำงานดีบ้าง ไม่ดีบ้างเลย

สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเลย เป็นเพียงรูปและนามมากระทบกัน ยกตัวอย่างเช่น เจ้านายอ่านรายงานประจำเดือนของลูกน้อง จิต (วิญญาณ) วิ่งไปที่จักษุทวาร (ดวงตา) รายการแจ้งว่ายอดของเดือนนี้ทำไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ เกิดความไม่พอใจ ก็เกิดความไม่พอใจเพราะไม่สามารถทำตามที่ตนต้องการได้ เมื่อจำได้ (สัญญา) ว่าลูกน้องคนนี้เคยทำผิดพลาดแบบนี้มาครั้งหนึ่งแล้วในอดีต ก็ขุดเรื่องเก่าขึ้นมาต่อว่า แต่เมื่อเราเข้าใจว่า ถ้าแยกรูป (ขันธ์) และนาม (จิต) ออกจากกันก็ไม่มีอะไร กลายเป็นสุญญตา (ว่างเปล่า) การคิดได้แบบนี้เป็นวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ 

 

 

เราจะคิดมาก คิดเยอะ คิดแยะ คิดลบไปทำไม เปลี่ยนมาคิดบวก หรือยึดหลักโยนิโสมนสิการที่ 6-9 กันดีกว่า เพื่อที่จะได้ประคับประคองจิตให้เป็นกุศลอยู่เสมอ หนทางแห่งกุศลที่แท้จริงคือการที่เราสามารถตักเตือนเพื่อนร่วมทุกข์ด้วยโยนิโสมนสิการได้อย่างชำนาญ นอกจากจะเป็นการช่วยให้เขาคิดบวกแล้ว ยังเป็นธรรมทานอีกด้วย

 

ที่มา 

ศึกษาวิเคราะห์วิภัชชวาทในพุทธปรัชญา

โยนิโสมนสิการ วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม

ภาพ 

https://pixabay.com


บทความน่าสนใจ

อยากจะสุขแบบ คริส หอวัง ต้องคิดแบบบวกๆ

Dhamma Daily : วิธีฝึกนั่งสมาธิ เบื้องต้น สำหรับคนคิดมาก ฟุ้งซ่าน ท้อแท้ง่าย

ทำอย่างไรถึงจะเป็นคนคิดบวก เผยเคล็ดลับการตั้งเป้าหมายให้เป็นคนคิดบวก

วิธีคิดบวกแบบชาวพุทธ เพื่อสุขภาพใจที่ดี

ทุกข์มีคุณได้ ใช้เป็นก็ได้ประโยชน์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.