โยนิโสมนสิการ

เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนคิดบวกด้วยโยนิโสมนสิการ

6. วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก เป็นการมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการยอมรับความจริงตามที่สิ่งนั้น ๆ เป็นอยู่ทุกแง่ทุกด้านทั้งด้านดีและด้านเสีย และเป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องกับการปฏิบัติมาก เช่น บอกว่าก่อนจะแก้ปัญหาต้องเข้าใจปัญหาให้ชัด และรู้ที่ไปให้ดีก่อน หรือก่อนจะละสิ่งหนึ่งไปหาอีกสิ่งหนึ่ง ต้องรู้จักทั้งสองฝ่ายดีพอ ที่จะให้เห็นได้ว่าการละและไปหานั้น หรือการทิ้งอยู่อย่างหนึ่งไปเอาอีกอย่างหนึ่งนั้น เป็นการกระทำที่รอบคอบ สมควร และดีจริงแล้วหรือไม่

7.  วิธีคิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม หรือการพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนา คือ การใช้สอย หรือบริโภค เป็นวิธีคิดแบบสกัด หรือบรรเทาตัณหาเป็นขั้นฝึกหัดขัดเกลากิเลส หรือตัดทางไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิตใจ แล้วชักจูงพฤติกรรมต่อ ๆ ไป

8.  วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม อาจเรียกง่าย ๆ ว่า วิธีคิดแบบเร้ากุศล หรือคิดแบบกุศลภาวนา เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือบรรเทาและขัดเกลาตัณหา จึงจัดได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติระดับต้น ๆ สำหรับส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม

 

 

9.  วิธีคิดแบบเป็นอยู่ปัจจุบัน หรือวิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่าวิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน อันจัดเป็นวิธีคิดแบบที่ 9 นี้เป็นเพียงการมองอีกด้านหนึ่งของการคิดแบบอื่น ๆ จะว่าแทรกหรือคลุมคิดแบบก่อน ๆ ที่กล่าวมาแล้วก็ได้ แต่ที่แยกออกมาแสดงเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหาก ก็เพราะมีแง่ที่ควรทำความเข้าใจพิเศษ และมีความสำคัญโดยลำพังตัวของมันเอง

10.  วิธีคิดแบบวิภัชชวาท ความจริงวิภัชชวาท ไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นวิธีพูด หรือการแสดงหลักการแห่งความคำสอนแบบหนึ่ง

เมื่อทำความรู้จักกับโยนิโสมนสิการมาทั้ง 10 ประการแล้ว จะเห็นว่าโยนิโสมนสิการบางอันเกี่ยวข้องกับหลักธรรมต่าง ๆ เช่น ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจัยตา (วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย ) อริยสัจ 4 (วิธีคิดแบบอริยสัจ ) ไตรลักษณ์ (วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ ) ขันธ์ 5 (วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ) รูป-นาม ( วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์  )

 

 

บางโยนิโสฯเป็นวิธีการทำให้หยุดคิดลบ เช่น วิธีคิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม คือการพิจารณาไตร่ตรองดีแล้วว่าเป็นเรื่องที่ควรคิดหรือไม่ควรคิด หากมีปัญญาแยกแยะได้ ความคิดลบจะถูกตัดออกไป เมื่อเกิดปัญญาเห็นโทษของความคิดแบบนี้ว่าส่งผลให้บั่นทอนจิตใจ สุขภาพร่างกายย่ำแย่ จะสามารถตัดหรือปล่อยว่างจากความคิดนี้ได้ทันที เป็นวิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก บางครั้งการคิดลบก็ส่งผลให้กลายเป็นอกุศลจิต เช่น คิดไม่ดี คิดไม่ซื่อ คิดลามกต่อคนอื่น เมื่อเกิดความเป็นหิริโอตัปปะ (ความละอายใจว่าเป็นบาป)  เป็นวิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม เข้าใจว่าการคิดแบบนี้ไม่ถูกต้อง

 

คลิกเลข 3 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป >>> 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.