พระบรมธาตุไชยา

ซีเคร็ตทริป : พระบรมธาตุไชยา สถูปแห่งศรัทธา

ได้สอบถามคุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งศึกษาเรื่องพระบรมธาตุไชยา และเรื่องวัดในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มาร่วมทริปกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญว่า ท่านพุทธทาสภิกขุเริ่มมีความสนใจด้านโบราณคดีตั้งแต่เมื่อไร

“ที่จริงท่านสนใจมานานแล้ว แต่ที่มาชัดเจนคือตอนที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดแห่งนี้ แล้วเริ่มมีการดูแลวัตถุโบราณ และกลายเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา อย่างในปัจจุบัน “

 

พระบรมธาตุไชยา

 

จึงได้ความว่า ในสมัยพระครูโสภณเจตสิการาม เป็นเจ้าอาวาสได้นำวัตถุโบราณมาเก็บรักษาไว้ในพระวิหารหลวง ต่อมากรมศิลปากรรับเป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยท่านพระครูอินทปัญญาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เข้ามารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ด้วย

 

พระบรมธาตุไชยา

 

เมื่อก้าวเข้ามาภายในวัดพระบรมธาตุไชยา จะเห็นกลุ่มอาคารวางตัวเรียงกันตามทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกดังนี้คือ วิหารหลวงขนาดใหญ่ โดยมีเจดีย์ขนาดใหญ่สร้างครอบพระพุทธรูปหินทรายแดงอยู่ฝั่งหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ และพระพุทธรูปหินทรายแดงขนาดใหญ่สามองค์ ท้ายของวิหารหลวงยาวล้ำเข้าไปในระเบียงคด หรือที่ชาวไชยาเรียกว่า พระเวียน ซึ่งล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเอาไว้ ภายในพระเวียนนอกจากองค์พระบรมธาตุแล้วยังมีเจดีย์ขนาดเล็ก 4 องค์ตั้งอยู่มุมทั้ง 4  ของสระที่ขุดเพื่อเปิดให้เห็นฐานทั้งหมดขององค์พระบรมธาตุที่บางส่วนเคยจมอยู่ใต้ดินเนื่องจากการค่อย ๆ ทับถมของดินตะกอนตลอดระยะเวลานับพันปีที่ผ่านมา และด้านหลังของระเบียงคดคือโบสถ์

องค์พระบรมธาตุหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สีขาวตระหง่าน ตามหน้าบัน และซุ้มเล็ก ๆ บนองค์พระบรมธาตุมีลายปูนปั้นลงรักปิดทองงดงามน่าชมเป็นอย่างยิ่ง ลายเหล่านี้ผ่านการทำนุบำรุงซ่อมแซม และเปลี่ยนแปลงมานับครั้งไม่ถ้วนตลอดระยะเวลานับพันปีหลังจากองค์พระบรมธาตุถูกสร้างขึ้น จึงเป็นการยากยิ่งที่จะบอกได้ว่าลายตรงจุดใด คือลายสมัยแรกเริ่ม และลายทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างไร

 

คลิกเลข 3 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.