โรค ซึมเศร้า

ดร.ณติกา ไชยานุพงศ์ เผยเคล็ดลับกำราบโรคซึมเศร้าให้อยู่หมัดไม่ใช่เรื่องยาก

การวิ่งกลายเป็นยาวิเศษที่ช่วยให้อาจารย์สาวรู้สึกดีขึ้น เมื่อวิ่งบ่อยครั้งเข้า เลยลงแข่งวิ่งตามรายการต่าง ๆ เสียเลย อาการซึมเศร้าเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ระหว่างที่วิ่งจะทำให้ลืมเรื่องตึงเครียดไป ซึ่งเธอยืนยันว่ามีรายงานผลการวิจัยว่าการออกกำลังกายช่วยลดความเครียดได้จริง

ลองมาดูเคล็ดลับของ ดร.ณติกา ไชยานุพงศ์ กันว่า เธอกำราบเจ้าโรคร้ายนี้ได้อย่างไร เธอเริ่มจากการสังเกตตนเองก่อน ดังนี้

  1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงกะทันหัน ถ้าคุณเคยเป็นคนร่าเริงสดใส ไม่มีปัญหาในการอยู่คนเดียว ไม่เคยย่อท้อเมื่อเจอปัญหา อยู่มาวันหนึ่ง คุณรู้สึกว่า คุณไร้สมรรถภาพ เริ่มสงสัยในความสามารถของตัวเอง หมดความมั่นใจ นั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า
  2. เริ่มเก็บตัวอยู่คนเดียว ถ้าคุณชอบที่จะออกไปข้างนอก เพื่อทำกิจกรรมกลางแจ้ง แต่เลือกที่จะอยู่แต่ในห้อง ไม่อยากเจอใคร นี่คืออีกหนึ่งสัญญาณ
  3. วัน ๆ ไม่อยากทำอะไรนอกจากนอน เพื่อให้เวลามันผ่านไป หรือเพราะไม่อยากตื่นขึ้นมารับสภาพความเป็นจริง นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิต ด้วยการรับประทานยานอนหลับเกินขนาด เนื่องจากเมื่อกินยานอนหลับมาก ๆ จะเกิดอาการดื้อยา ต้องเพิ่มจำนวนเรื่อย ๆ สุดท้ายรับประทานยาเกินขนาด
  4. ประเมินศักยภาพตัวเองต่ำในทุกเรื่อง ขาดความมั่นใจ ท้อแท้ หดหู่ วิตก คิดมาก อันนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยนำเข้าของแต่ละบุคคล ว่าสาเหตุที่ทำให้เป็นภาวะซึมเศร้าเกิดมาจากอะไร

หลังจากสังเกตแล้ว ถ้าป่วยเป็นโรคนี้จริงก็เข้าสู่กระบวนการพาตัวเองออกจากภาวะซึมเศร้า

  1. หาที่ระบาย ไม่ใช่สีไม้ระบายน้ำ แต่เป็นที่ปรึกษาหรือคนที่เรารู้สึกว่า ปลอดภัยพอที่เราจะเล่า หรือระบายสิ่งที่อัดอั้นในใจเราได้ แนนต้องขอแนะนำนะคะว่า ที่ระบายเท่านั้นเราไม่ได้ต้องการคนแนะนำ ในบางครั้งเราแค่ต้องการผู้รับฟังที่ดีที่เข้าใจเรา และเปิดอกฟังเรื่องที่เราพูด โดยไม่วิจารณ์ด่าว่า นอกเหนือไปจากนั้น คือสามารถให้กำลังใจ หรือส่งพลังงานทางบวกให้เราได้
  2. กีฬา กีฬาเป็นยาวิเศษ…ใช่ค่ะ ออกกำลังเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าดีขึ้น แม้มันจะยาก ที่จะเอาตัวเองออกจากห้อง หรือภาวะที่คุณเป็น แต่เมื่อไรที่คุณได้เริ่มออกกำลังกายและมีเหงื่อออก เมื่อนั้น คุณจะรู้สึกดีขึ้น เหมือนที่แนนบอกค่ะ สำหรับแนน วิ่งสามารถทำให้แนนลดความเครียดและหดหู่ได้ ลองหากีฬาที่คุณรักแล้วชวนเพื่อนไปเล่นค่ะ อย่าไปคนเดียวนะคะ พยายามไปที่ที่มีคนเยอะ ๆ
  3. สำหรับนักเรียน นักศึกษาทุกท่าน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาที่คุณสามารถเดินเข้าไปพูดคุยได้ โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาทเดียว โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย อย่าอายที่จะเข้าไปคุยกับผู้เชี่ยวชาญค่ะ เพราะผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นสามารถช่วยหาทางออกให้คุณได้ หรืออย่างน้อยก็สามารถรับฟังคุณได้ ในกรณีที่คุณไม่มีใครให้ปรึกษา

วิธีการของอาจารย์สาวไม่จำเป็นต้องพึ่งยาเลย แต่เป็นการพึ่งใจตนเองล้วน ๆ ถ้าใจสู้ ก็กำราบโรคนี้ได้ไม่ยาก ดร.ณติกา ไชยานุพงศ์กล่าวปิดท้ายว่า ” สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องการ ไม่ใช่กำลังใจ ไม่ใช่คำพูดว่าสู้ ๆ หรือคำปลอบใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเขาสู้มามากพอแล้ว จนมาถึงจุดที่ตัวเขา หมดกำลังจะสู้ต่อ แต่เขาแค่ต้องการคนที่ “เข้าใจ” สภาพของเขา ณ ขณะนั้น เท่านั้นเอง ดังนั้น การรับฟังจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับผู้ที่กำลังเจ็บปวดกับภาวะซึมเศร้าค่ะ “

 

ที่มาและภาพ 

https://justaphdblog.com


บทความน่าสนใจ

ลุงพูน พ่อค้าขายไอศกรีมกะทิสด ผู้กำจัดโรคซึมเศร้าด้วยงานที่ตนรัก

เสียงด่า คือเสียงธรรมที่ซาบซึ้งใจ บทความจาก พระไพศาล วิสาโล

อุบายคุณแม่ วาดรูปหัวใจดวงเล็กบนข้อมือ ช่วยลูกไม่ให้ซึมเศร้า

พุทธธรรมบรรเทาผู้ป่วย โรคซึมเศร้า

สภาวะจิตของคนคิดสั้น บทความที่อ่านแล้ว จะทำให้เข้าใจคนจิตตก

เปลี่ยน จิตตก  เป็น จิตฟู ลดอาการ โรคซึมเศร้า ข้อคิดจากท่าน ว.วชิรเมธี

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.