สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง

ชีวิตอันน่าเสียดาย (?) ของสตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

ก่อนหน้านั้นราวหนึ่งปี สตีเฟ่นมักจะหกล้มบ่อย ๆ และต้องใช้เวลานานกว่าจะผูกเชือกรองเท้าได้ ฯลฯ แต่เขาพยายามไม่ใส่ใจ แต่เมื่อมาเรียนที่เคมบริดจ์ อาการดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งตกบันได หกล้ม และเดินชนนั่นชนนี่อยู่เสมอ

ปลายปี ค.ศ.1963 สตีเฟ่นเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดในโรงพยาบาลนานถึง 2 สัปดาห์ หมอวินิจฉัยว่าเขาป่วยเป็น โรคกลไกประสาทเสื่อม (Motor Neurone Disease) ซึ่งประสาทส่วนกลางจะค่อย ๆ สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดร่างกายทุกส่วนจะเป็นอัมพาต เว้นแต่เพียงสมองเท่านั้น และหมอยังบอกว่าโรคนี้ยังไม่มีทางรักษา เขาคงจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 2 – 3 ปีเท่านั้น

คําวินิจฉัยดั งกล่าวทําให้สตีเฟ่นช็อกไปช่วงหนึ่ง แต่เขาก็ตั้งตัวได้ในเวลาต่อมา สตีเฟ่นกล่าวว่า

“โรคร้ายทําให้ผมเข้าใจความหมายของชีวิตเป็นครั้งแรก เมื่อก่อนผมรู้สึกว่าชีวิตของผมช่างน่าเบื่อหน่ายจนไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร จนเมื่อความตายมารออยู่ตรงหน้า ผมจึงมองเห็นความฝันของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น  ผมรู้แล้วว่าผมสามารถสร้างผลงานอันมีคุณค่าได้มากมายมหาศาล ถ้าเพียงแต่ผมไม่ตายเท่านั้น”

คนสําคัญอีกคนหนึ่งที่ช่วยเรียกขวัญและกําลังใจของสตีเฟ่นให้กลับคืนมาได้ก็คือ เจน ไวลด์ (Jane Wilde) แฟนสาวที่ตกลงหมั้นหมายกับเขาเกือบจะทันทีที่ได้รู้ข่าวนี้ และนั่นทําให้สตีเฟ่นหันกลับมาทํางานอย่างมุ่งมั่นจนจบปริญญาเอก และได้เป็นอาจารย์ประจําคณะคณิตศาสตร์ประยุกต์และฟิสิกส์ทฤษฎีที่เคมบริดจ์ ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาสร้างทีมค้นคว้าด้านจักรวาลวิทยาต่อไป เพราะสิ่งที่นักฟิสิกส์จําเป็นต้องใช้จริง ๆ ก็คือ “สมอง” เท่านั้น

สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง

โรคร้ายทําให้สตีเฟ่นต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง และอีกราวสี่ปีต่อมา อาการของเขาก็ทรุดลงจนทําให้เขาต้องเปลี่ยนมาใช้ไม้ค้ำรักแร้ทั้งสองข้าง ต่อมาการออกเสียงของเขาก็แย่ลงจนเกือบจะไม่มีใครเข่าใจคําพูดของเขาได้ ในเวลาต่อมาร่างกายของเขาก็ทรุดหนักจนต้องเปลี่ยนมานั่งเก้าอี้ติดล้อ

สมัยนั้นภาพของสตีเฟ่นกับเก้าอี้ติดล้อพลังไฟฟ้ากลายเป็นภาพที่ชินตาของนักศึกษาและชาวเมืองเคมบริดจ์ เพราะสตีเฟ่นจะบังคับพาหนะประจําตัวเดินทางไปกลับจากบ้านถึงห้องพักอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 90 เมตร โดยใช้ความเร็วสูงสุดอย่างมีชีวิตชีวา

ครั้นเมื่อถึงปี ค.ศ.1970 สตีเฟ่นก็สูญเสียความสามารถในการควบคุมมือทั้งสองข้าง และหลังจากการผ่าตัดช่วยชีวิตในปี ค.ศ.1985 หมอต้องเจาะคอ ซึ่งทําให้เขาพูดไม่ได้และเป็นอัมพาตตลอดทั้งร่างโดยสิ้นเชิง

 

กดเลข 3 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป>>>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.