อาการเหนื่อยล้าสะสม

ลองลาพักร้อนสักหนึ่งสัปดาห์ดูสิ แล้วอาการเหนื่อยล้าสะสมของคุณจะหายไป 

คณฮิเดกิยกเคสหนึ่งขึ้นมาว่า ชายวัย 30 ปี ซึ่งที่จริงอายุประมาณนี้กำลังเป็นวัยทำงานที่ยังมีไฟและผ่านประสบการณ์สมรภูมิมาระดับหนึ่ง ได้ก้าวเข้ามาขอคำแนะนำในการทำงานของเขา พอประเมินแล้วอาการของชายคนนี้เข้าข่ายความเหนื่อยล้าสะสม คุณฮิเดกิแนะนำให้เขาลาพักร้อน 1 สัปดาห์ และให้ใช้เวลาที่มีทำในสิ่งที่อยากทำ เช่น ทำงานอดิเรก อ่านหนังสือ วาดภาพ ทำสวน หรือจะนอนกลิ้งอยู่ใต้ผ้าห่มก็ได้แล้วแต่ชอบ

ตอนแรกเหมือนเขาจะรับคำแนะนำนี้ไม่ได้เหมือนหลายคนที่ผ่านมา เพราะรู้สึกเกรงใจเพื่อนที่บริษัทและหัวหน้า แต่ทว่าเขาก็เห็นเป็นจริงว่า อาการเหนื่อยล้าสะสมไม่ได้ทำให้เขาทำงานได้ดีขึ้นเลย จึงตัดสินใจลาพักร้อน 1 สัปดาห์

วันแรกเขาอาจจะงง ๆ หน่อย เพราะทุกทีจะต้องรีบออกจากบ้านไปทำงาน วันแรกอาจตื่นเช้าตามเวลาที่เคยชิน เขาตัดสินใจนอนเล่นอยู่บนที่นอน และมองท้องฟ้าจากหน้าต่าง แต่พอเข้าวันที่ 3 เริ่มปรับตัวได้ และร่างกายก็สัมผัสถึงความสบาย ไม่ตึงเครียด เขาก็เริ่มออกจากห้องแต่เช้า อาบน้ำแต่งตัวแบบไม่เร่งรีบ เขาคุยกับภรรยาระหว่างที่กำลังชมรายการโทรทัศน์ เขาทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พอจะถนัด เขาออกไปเดินนอกบ้าน กวาดใบไม้ เปลี่ยนกระถางต้นไม้ เขาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เขาอยากทำ ซึ่งไม่ใช่กองงานที่ถูกบังคับให้ทำ และเขาก็ไปเที่ยวนอกบ้านกับภรรยาในเมืองใกล้ ๆ 1 คืน อาบออนเซนกลางแจ้ง เมื่อร่างกายได้รับการผ่อนคลาย จิตใจได้อยู่กับสิ่งที่ตนอยากทำ เขาก็กลับไปบริษัทอย่างชุ่มชื่น พัฒนากองงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

เคสต่าง ๆ ที่จิตแพทย์ฮิเดกิ วาดะนำมาพูดถึงในงานเขียนของเขาส่วนใหญ่มาจากบรรดาพนักงานออฟฟิศที่เข้ามาขอคำปรึกษา ทำให้เห็นว่าสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีความรับผิดชอบ เกรงอกเกรงใจผู้อื่น เห็นอกเห็นใจและห่วงใยคนอื่นก่อนตนเองเสมอ สังเกตจากการที่ผู้ป่วยหลายคนมีปฏิกิริยาปฏิเสธคำแนะนำด้วยการพักร้อนบำบัดของเขา แต่เมื่อทำแล้ว เหมือนจิตใจได้รับการชาร์จแบตเตอรี่ พอได้กลับมาทำงานจึงมีพลังใจที่จะต่อสู้กับภาระหน้าที่อย่างทุ่มเทและมีความสุข

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้ ทำให้เห็นว่า ความพอดีเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อทำบางสิ่งอย่างสุดโต่งเกินไป ก็ไม่มีผลดีต่อตัวเราเอง คุณฮิเดกิ วาดะกล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ว่า การทำงานโต้รุ่ง ไม่ได้มีผลดีต่อเนื้องานและตนเองเลย งานออกมาอย่างไม่มีจิตวิญญาณ คนทำก็อดหลับอดนอน ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการซ่อมแซมในขณะที่นอนหลับ

ละตัวเองออกมาจากกองงาน และหน้าจอบ้างในวันหยุด ถ้าไม่หนักหนาเหลือบ่ากว่าแรงอะไรนัก อย่าเป็นคนดีที่ซื่อตรงต่องานจนกลายเป็นคนที่ร้ายต่อตนเอง

 

ที่มา 9 พฤติกรรม เพื่อเลิกเป็นคนคิดแล้วไม่ทำ โดย ฮฺเดกิ วาดะ

ภาพ https://pixabay.com


บทความน่าสนใจ

สาวยาคูลท์ อดีตสาวออฟฟิศ รักอาชีพสุจริต ปลดหนี้สินจนหมดแล้ว

เคล็ดลับแก้อาการ เบื่องาน เบื่อออฟฟิศ

4 สิ่งที่ชาวออฟฟิศไม่ควรทำ เพื่อให้ ทำงานมีศักยภาพ มากขึ้น

ฉันทะในการทำงาน โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

Dhamma Daily : ลูกน้องดื้อ ไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ควรทำอย่างไรดี

วิธีเลิกผัดวันประกันพรุ่งแบบง่าย ๆ เพียงรู้เท่าทัน 7 ข้ออ้างอันตราย

แค่ รับโทรศัพท์ ที่ออฟฟิศก็ฝึกสติได้ : วิธีฝึกสติในที่ทำงาน สำหรับคนยุคใหม่

5 ขั้นตอนสู่ การเจริญสติ วิถีเซน ที่คุณเองก็ทำได้ทุกวัน

9 เทคนิค การทำงานกับคนต่างวัย ร่วมงานกันได้แบบ ไม่ต้องทะเลาะ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.