การทำงานของไตรสิกขา

การทำงานของไตรสิกขา โดย พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)

สมาธิ คือ ระบบความจำ หรือ เมมโมรี่ ถามว่ามีสิ่งนี้ในคอมพิวเตอร์ไหม บอกเลยว่ามี สิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ก็คือความจำ จำด้วยสมองก็มี หรือจำด้วยจิตก็มี ถ้าจำด้วยสมองจะเป็นการจำเรื่องทางวัตถุ แต่ถ้าเป็นการจำเรื่องทางนามธรรมจะจำด้วยจิต เช่น การจำข้ามภพข้ามชาติ ได้แก่ การจำบุญกุศลที่เคยทำมา สิ่งนี้เป็นนามธรรม จะจำด้วยสมองไม่ได้ เวลาเผาศพ สมองก็ถูกเผาไปด้วย คุณงามความดีที่จดจำมาถูกเผาไหม้หายไปกับสมองด้วยสิ เขาจึงจำเรื่องนี้ด้วยจิต การจำด้วยจิตก็เหมือนกับเราใช้ซิมการ์ดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในฮาร์ดแวร์ก็มีนะ อยู่ในซอฟแวร์ก็มี แต่ทำงานด้วยกัน

 

การทำงานของไตรสิกขา

 

ปัญญา คือ ระบบฟอร์แมตข้อมูล สมมติว่าระบบนี้เกิดรวนขึ้นมา ไวรัสเลยแก้ไขอะไรไม่ได้ ก็เอาไปให้ที่ร้านซ่อม เพื่อให้เขาฟอร์แมตข้อมูลทิ้ง การฟอร์แมตทิ้งในทางพระพุทธศาสนาก็คือการพิจารณาไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เขาฟอร์แมตกัน 3 ครั้ง ไวรัสถึงจะหมด รอบที่ 1 ก็เท่ากับพิจารณาอนิจจัง รอบที่ 2 เท่ากับพิจารณาทุกขัง และรอบที่ 3 เท่ากับพิจารณาอนัตตา จิตที่ผ่านการฟอร์แมต 3 ครั้งอย่างสมบูรณ์แล้วก็จะไม่มีโลภะ โทสะ และโมหะ (กิเลส 3) เมื่อไม่มีกิเลส 3 แล้ว ภาษาพระท่านเรียกว่า “นิพพาน” ไม่ต้องลงโปรแกรมใหม่อีกด้วย คือไม่ต้องไปข้องเกี่ยวกับภพชาติ และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

แต่ถ้าใครอธิษฐานขอให้ชาติหน้าเกิดเป็นลูกของคุณพ่อคุณแม่ เป็นสามี-ภรรยากันอีก ด้วยแรงอธิษฐานนั้นก็กลายเป็นการลงโปรแกรมให้เรากลับมาอีก ดังนั้นไตรสิกขาก็คือระบบคอมพิวเตอร์ชีวิตของเรานั่นเอง เจริญพร

 

เรื่อง : พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)

ภาพ : https://pixabay.com


บทความน่าสนใจ

ไตรสิกขา-พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)

มา วิ่งสมาธิ กันเถอะ เพื่อการมีสติ และสุขภาพที่ดี

บ้านจิตสบาย แหล่งเรียนรู้ และภาวนาด้วย การเจริญสติ

เทคโนโลยีของจิต บทความให้แง่คิด จาก พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)

3 สถานปฏิบัติธรรม ไม่จำกัดแนวทางในกรุงเทพฯ ที่ Secret ขอแนะนำ

วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร แหล่งปฏิบัติธรรม ชำระจิตใจ กลางกรุง

พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องใดมากที่สุด

พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ ทรงสอนเหมือนกัน โดย พระกรภพ กิตติปญฺโญ

วิธีรักษา โรคทางกาย จากพระไตรปิฎก

เห็นไตรลักษณ์ = เห็นโทษ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
ไตรลักษณ์ ประตูสู่หนทางแห่ง ความหลุดพ้น

เพราะ ปล่อยวาง  ได้จึงจากโลกไปด้วย ใจที่ดี เรื่องเล่าจาก พระไพศาล วิสาโล

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.