ตัดสินใจทิ้งของในบ้าน

ไม่เห็นยากเลย ตัดสินใจทิ้งของในบ้าน เคลียร์บ้านได้ ง่ายนิดเดียวเอง

 

เมื่อคุณสะสางเคลียร์สมบัติพระศุลีออกจากบ้านได้แล้ว คุณจะเห็นร่องรอยของฝุนและคราบสกปรกที่จะก่อโรคร้ายให้กับสมาชิกในบ้าน ทีนี้คุณก็จะปราบสิ่งสกปรกเหล่านี้เพื่อสุขภาพที่ดีของสมาชิกในบ้าน (ยกนิ้ว)

สำหรับคนที่อยู่คอนโดฯ ไม่ได้อยู่บ้านร่วมกับคนอื่นในครอบครัว แต่ก็นักช้อป ขอให้คิดว่าการกำจัดข้าวของที่ไม่จำเป็น ก็เป็นการเพิ่มพื้นที่ของห้องชุด หรือได้พื้นที่ ๆ เราได้ทำกิจกรรมอื่นที่มีประโยชน์เพิ่ม เช่น พื้นที่เล่นโยคะ พื้นที่สำหรับนั่งสมาธิ หรือที่วางโต๊ะกินข้าวเล็ก ๆ สำหรับเราคนเดียว (ในกรณีที่ห้องเล็ก) หรือโต๊ะทำงานพร้อมเก้าอี้ ที่เราไม่จำเป็นต้องนั่งโต๊ะญี่ปุ่นให้บั่นทอนสุขภาพของหัวเข่า เป็นต้น

 

เลิกผลัดวันประกันพรุ่ง

หลายอาจคิดมาตลอดว่าต้องทิ้ง ๆ แต่ด้วยปริมาณสมบัติที่มากมายขนาดนี้ คิดแล้วแอบรู้สึกเหนื่อย ทั้งที่ยังไม่ได้ลงมือทำ การกำจัดออกไปทีละนิด ทีละหน่อย เช่น ค่อย ๆ เก็บ ไปเรื่อย ๆ ก็ยังดี สมกับสุภาษิตที่ว่า กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว หรือคิดเสียว่า แปรสมบัติให้กลายเป็นเงิน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ อาจได้ค่าขนมเค้กสักปอนด์ให้ลูก ๆ กิน หรือทำสุกี้เป็นมื้อเย็น อาจทำให้มีแรงบันดาลใจที่กล้าจะทิ้งข้าวของมากขึ้น

 

ถ้ามีของซ้ำ ๆ ก็ต้องทิ้งส่วนเกินที่เหลือ

มีซ้ำแล้วซ้ำอีก บางคนชอบซื้อสมุดทั้งที่มีสมุดอยู่แล้วหลายเล่ม และก็ใช้ไม่ทัน พอไปเดินร้านขายเครื่องเขียนในห้างสรรพสินค้าก็อดใจไม่ไหวกับภาพปกสวย ๆ ซื้อมาอีกเล่มสองเล่ม และสิ่งที่สำคัญมาก ๆ คุณต้องกล้าที่จะตอบคำถามนี้ให้ได้ เพราะเป็นคำถามชี้ขาดว่าของชิ้นนี้ควรอยู่หรือควรไปคือ “ทำไมเราต้องมีของชิ้นนี้”

ลองสมมติกับเรื่องสมุดต่อ บรรดาสมุดจำนวน 20 เล่ม ที่ติดนิสัยชอบซื้อสมุดมาตั้งแต่สมัยเรียน ตอนนั้นเราจำเป็นต้องใช้มาก แต่พอเข้าวัยทำงาน ก็ยังไม่เลิกซื้อสมุด เมื่อก้าวมาสู่การเป็นพนักงานออฟฟิศ ก็ไม่ได้จับปากกา-ดินสอเขียนบนสมุดอีก เพราะคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทแทน ทำให้สมุดต้องเก็บไว้ในลิ้นชักจนลืม ซื้อแล้วซื้ออีก แต่ไม่ได้ใช่้ ถึงจะใช้แต่เชื่อว่ายังไงก็ใช้ไม่หมด แถมยังจะเพิ่มปริมาณสมุดอีก สมบัติบ้าก็จะเพิ่มขึ้นอีก

ถ้าเรามีคำตอบนี้เป็นเกณฑ์ เราจะพิจารณาและตัดสินใจได้ดีขึ้น เราอาจจะกล้าสละสมุด เหลือเพียง 5 เล่มที่จำเป็น และจำใส่ใจว่าจะไม่ซื้ออีกถ้าไม่จำเป็น

เชื่อว่าทุกคนล้วนมีของรักของห่วง แต่ของรักของห่วงควรมีไม่กี่อย่าง ถ้ามีของรักของห่วงมากชิ้น ก็จะกลายเป็นสมบัติที่ไม่มีประโยชน์ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่รวมไปถึงของสะสมที่มีคุณค่าต่อจิตใจ หรือสมบัติที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ และข้าวของราคาแพงที่มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ แต่เป็นบทความที่จะช่วยเป็นแรงจูงใจการที่จะกล้าทิ้งสมบัติบ้า คือของที่ซื้อมาโดยขาดสติ หรือเสพติดการช้อปปิ้งนั่นเอง

 

ที่มา ดูห้องก็รู้อนาคต โดย มะสึดะ มิทสึฮิโระ

 

ภาพ https://pixabay.com


บทความน่าสนใจ 

Dhamma Daily : เราจะสามารถแผ่เมตตาให้คนในครอบครัวได้อย่างไร

นุ่น วรนุช – ต๊อด ปิติ และครอบครัวภิรมย์ภักดี สร้างศาลาปฏิบัติธรรม วัดป่าธรรมคีรี (จันดีอนุสรณ์)

Dhamma Daily : ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ได้อย่างไรบ้าง

เพราะไม่อยากสูญเสียท่านไป เรื่องจริงจากลูกที่ไม่กล้าบอกรักพ่อ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.