เซนญี่ปุ่น

ความแตกต่างระหว่างการเจริญสติแบบเถรวาท VS เซนญี่ปุ่น

ความแตกต่างระหว่างการเจริญสติแบบเถรวาท VS เซนญี่ปุ่น

ถ้าจะให้สรุปโดยย่อถึงข้อแตกต่างระหว่างการฝึกวิปัสสนาแบบเถรวาท กับการฝึกกายใจแบบ เซนญี่ปุ่น ขอตอบจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า “แบบเถรวาทมุ่งไปที่การดูกายใจของผู้ฝึกเป็นสำคัญ แต่แบบเซนนั้นจะเป็นการดูกายใจ ในฐานะที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ และสิ่งอยู่รอบตัวในขณะนั้นด้วย”

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะเซนแบบญี่ปุ่นนั้น พัฒนาขึ้นมาในประเทศที่ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม และลักษณะทางกายภาพของธรรมชาติตลอดเวลา เนื่องจากเป็นประเทศที่มีภัยธรรมชาติถี่ ตลอด จนมีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลตลอดปี อีกทั้งวัฒนธรรมที่ต้องใส่ใจผู้คนรอบตัวเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ความหมายเชิงนัยยะอีกประการคือ พุทธศาสนิกายมหายานจะนึกถึงผู้อื่น นึกถึงสังคมที่อยู่รอบตนก่อนเสมอ โดยเน้นมุ่งรับใช้ และช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ก่อน ตนจึงจะยอมพ้นทุกข์ ส่วนเถรวาทจะเน้นพัฒนาตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนได้ก่อน แล้วจึงช่วยผู้อื่น

แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่า ทั้งสองส่วนนั้นแท้จริงเกิดขึ้นคู่กัน การบรรลุธรรมของเถรวาทก็เป็นไปเพื่อช่วยผู้อื่น มิใช่เป็นการเอาตัวรอดคนเดียวอย่างที่เข้าใจผิด และระหว่างทางที่เรากำลังสะสม “เหตุ” เพื่อให้ตนได้บรรลุธรรมตามวิธีของเถรวาทนั้น เราย่อมเกิดเมตตาจิตคิดช่วยเหลือผู้อื่นไปเองตามธรรมชาติของจิตที่ได้ฝึกการเจริญสติแล้วอย่างถูกต้อง

 

 

สำหรับ มหายาน แม้จะเน้นการช่วยผู้อื่น และให้นึกถึงผู้อื่นก่อนก็จริง แต่มองว่านั่นคือ อุบายทางธรรมที่จะทำให้เราคลายความยึดมั่นในอัตตาตัวตน ลดละความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนลงเรื่อย ๆ จนในที่สุด แม้แต่ตัวตนก็ไม่เหลือ ทั้งหมดนี้ก็คือกระบวนการที่นำเราไปสู่การบรรลุธรรมเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า เส้นทางการบรรลุธรรมของทั้งสองนิกายนั้นเหมือนกัน

ดังนั้น ผู้มีปัญญาย่อมไม่เลือกปฏิบัติ แต่เพียงด้านในด้านหนึ่ง เช่น มัวแต่ช่วยผู้อื่นจนไม่รู้ว่าการเจริญสติ เพื่อพัฒนาตนเองเป็นอย่างไร หรือมัวแต่หลับหูหลับตาฝึกฝนตนเองโดยไม่มองไปที่โลกรอบข้างว่า เราจะอยู่อย่างเป็นกัลยาณมิตรกับผู้อื่นได้อย่างไร

 

ที่มา : วิถีดาบ วิถีเซน โดย ณัชร สยามวาลา


บทความน่าสนใจ

ติช นัท ฮันห์ ปรมาจารย์ลายพู่กัน กับการเจริญสติ ด้วยศิลปะแบบเซน

ชมนิทรรศการหมู่บ้านพลัม ภาพลายพู่กันแฝงธรรมะ และงานเขียนของติช นัท ฮันห์ ที่ถูกแปลเป็นหลายภาษาไปทั่วโลก

เรื่องเล่าสอนใจ จากหมู่บ้านพลัม…บ่อยครั้งแค่ไหน ที่คุณทำร้ายคนที่คุณรัก

ศีล 5 ไร้คำ ห้าม! : ข้อคิดฝึกสติ 5 ประการ จากหมู่บ้านพลัม

ปลูกผัก ปลูกสติ “ทำสวนในใจตน” กิจกรรมดี ๆ ที่หมู่บ้านพลัม

หลวงพ่อฟับเหนี่ยม พระธรรมาจารย์ อาวุโสแห่งหมู่บ้านพลัม

ภิกษุณีนิรามิสา ภิกษุณีชาวไทย รูปแรกที่บวชกับ หลวงปู่ติช นัท ฮันห์

ภิกษุณีเจิงคอม สตรีผู้มีหัวใจพระโพธิสัตว์

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.