เมตตากรุณา

Compassion หรือ ความเมตตากรุณา ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

Compassion หรือ ความเมตตากรุณา ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

Compassion มีความหมายว่า ความเมตตากรุณา คือความปรารถนาให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์พ้นทุกข์ การเห็นผู้อื่น หรือสรรพสัตว์เป็นทุกข์หรือตกอยู่ในทุกข์แล้วทนอยู่ไม่ได้

ความหมายของ Compassion อธิบายได้หลายอย่าง ในดิกชันนารี คำว่า Compassion แปลเป็นไทยว่า “กรุณา” คือความปรารถนาให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์พ้นทุกข์ การเห็นผู้อื่น หรือสรรพสัตว์เป็นทุกข์หรือตกอยู่ในทุกข์แล้วทนอยู่ไม่ได้ ต้องหา ทางช่วยเหลือเต็มที่โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งผมว่ายังอธิบายได้ ไม่เพียงพอ เพราะจริง ๆ แล้วความหมายของ Compassion ยิ่งใหญ่ มากกว่า “กรุณา” กับ “เมตตา” รวมกันเสียอีก

Compassion ถ้าตัด -ion ออก ก็เหลือ Compass แปลว่า เข็มทิศ ถ้าคำแยกออกมา คือ Com แปลว่า ร่วม Pass แปลว่า ทางผ่าน ความหมายแบบลึกซึ้งของ Compassion หมายความว่า น้ำทุกหยดล้วนไหลลงสู่มหาสมุทร ในที่นี้คือทุกดวงจิตสุดท้ายนี้เป็น ดวงเดียวกัน ทั้งแสน ๆ ล้าน ๆ โกฏิดวงจิต ดวงวิญญาณ ทั้งมนุษย์ เทวดา และสัตว์ จริง ๆ ก็เป็นดวงเดียวกันนั่นแหละ เปรียบดั่งน้ำ ทุกหยดที่กระจายไปเป็นน้ำบ่อบ้าง น้ำคลองบ้าง หรือกระจายเป็นน้ำหยดตามใบไม้บ้าง น้ำอะไรต่ออะไรก็แล้วแต่ กระจายเต็มไป หมดเลย แต่สุดท้ายถ้ามันละกิเลสได้ทั้งหมด น้ำนั้นไหลไปรวม กันที่ไหน ก็ที่ในมหาสมุทรนั่นเอง

 

 

Compassion ตีความได้กว้างขวาง ซึ่งคำสอนทางธรรม จริง ๆ แล้วไม่สามารถอธิบายได้ด้วยตัวอักษรหรือคำพูดใด ๆ ได้ ครบถ้วน ต้องลงมือทำเอง รู้เอง ยากที่จะอธิบายเป็นคำพูดได้จนกว่า ท่านจะค้นพบสภาวะจิตโล่ง โปร่ง สบายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จิต จะโล่ง โปร่ง สบายได้นั้นต้องมีสติ อุปมาเหมือนเป็นมีดคม ๆ หั่น ความคิดกับจิตให้ขาดกระเด็นออกจากกัน

พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่ องพรหมวิ หาร 4 เมตตา (ความรักใคร่ ปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข) กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยให้ พ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข) อุเบกขา (ความ วางใจเป็นกลาง) แต่สิ่งที่เหนือกว่าพรหมวิหาร 4 คือโพชฌงค์ 7 เพราะฉะนั้นโพชฌงค์ 7 คือ Compassion อย่างหนึ่ง การจะเข้าสู่ สภาวะ Compassion ได้จิตต้องว่าง ถึงจะเป็นการกระทำที่กาย วาจา ใจปราศจากเงื่อนไขและปราศจากกิเลส จึงเป็น Compassion นั่นเอง

 

 

ตัวแทนของ Compassion

สำหรับตัวแทนของ Compassion คือ พระอวโลกิเตศวร- โพธิสัตว์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวจีนจะรู้จักพระโพธิสัตว์องค์นี้ในนามว่า กวนอิม ซึ่งท่านไม่ใช่ชายและไม่ใช่หญิง เพราะในสภาวะที่เข้าสู่สุขาวดี หรือนิพพานไปแล้วจะไม่มีการแบ่งแยกเพศ การที่ท่านไม่ใช่ชายและ ไม่ใช่หญิงเพื่อสอนให้มนุษย์อย่าไปยึดเรื่องเพศ เพราะสุดท้ายแล้ว มันไม่มีเพศจริง ๆ

 

ข้อคิดจาก Compassion

คนญี่ปุ่นจะรู้จักใช้คำว่า “เยิรเงาสลัว” ซึ่งเป็นชื่อแปลของหนังสือ In Praise of Shadows เขียนโดย จุนิชิโร ทานิซากิ (ฉบับแปลเป็น ภาษาไทยโดย สุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ สำนักพิมพ์ openbooks) หนังสือเล่มนี้กล่าวว่า ชาวตะวันตกคิดว่าอะไรที่เป็นความมืดมักจะ ทำให้สว่างให้หมด คือต้องใช้วิทยาศาสตร์ไปพิสูจน์ให้รู้ทุกเรื่อง ทำให้พวกฝรั่งยุคนั้นที่ชอบเปลี่ยนสีดำเป็นสีขาวทั้งหมดนี้ไม่มีเวลา ที่จะมาดูตัวเอง ไม่เห็นสีดำในใจตนเอง แต่ชาวตะวันออกอย่าง คนญี่ปุ่นหรือคนจีนที่มีแนวคิดพุทธปรัชญา เช่น เต๋า หรือเซน เขามองว่าเวลาในมนุษยโลกนั้นมีจำกัด ต้องจัดลำดับความสำคัญ ว่าจะทำเรื่องอะไรก่อน เรื่องบางอย่างถ้าไม่จำเป็นก็ปล่อยให้เป็นสีเทา บ้างก็ได้ ไม่ต้องไปเปิดหมดทุกเรื่อง แต่ความสำคัญอันดับแรก ที่ต้องทำให้ขาวก็คือในใจเรานั่นเอง

 

 

วิธีเช็ก Compassion 4 ระดับ

จงเลือกข้อใดข้อหนึ่งที่ตรงกับตัวคุณ หากเจอกับสถานการณ์ ต่าง ๆ ต่อไปนี้

เมื่อคุณโดนแย่งที่จอดรถ คุณมักจะทำแบบนี้

1) โกรธ โมโห ไม่ยอม ฉันได้ที่นี่ก่อน ฉันต้องแย่งคืน

2) คิดว่า โชคดีจัง ฉันได้ทำบุญ ยกให้เขาก็ได้

3) ขอบคุณเขาที่แย่งที่จอดรถ ทำให้ฉันได้ฝึกจิตใจตนเอง

4) ไม่คิดอะไรเลย ไม่ได้ที่จอดรถเหรอ โอเค ก็แค่หา ที่จอดใหม่

คำตอบคือ

จากเหตุการณ์โดนแย่งที่จอดรถข้างต้น

คำตอบข้อ 1 คือ Level 1 เป็นระดับต่ำสุด คนที่โกรธมัก พยายามหาเหตุผลเพื่อเอาชนะอีกฝ่าย พอโกรธก็ยิ่งเละตุ้มเป๊ะ ซึ่ง อาจเกิดเหตุชวนทะเลาะตามมา

Level 1 นี้ถือว่าเป็น Compassion แบบมีเงื่อนไข ซึ่งเป็น เงื่ อนไขทั้ งบวกและลบ ยั งโกรธ ยั งจี๊ ดอยู่ เช่ นเวลาเราไปทำความดี แต่พอมีคนต่อว่าเรา แล้วเรารู้สึกโกรธ คิดในใจว่า “ฉันทำความดีนะ ยังมาว่าอีก” แสดงว่าเรายังมีเงื่อนไข ขณะที่บางคนมีเมตตากรุณา โดยที่เขาไม่มีเงื่อนไข

คำตอบข้อ 2 คือ Level 2 มีคนแย่งที่จอดรถแล้วบอกว่า “โชคดีจัง ฉันได้ทำบุญ ยกให้เขาก็ได้” ระดับนี้เป็น Compassion ที่ยังมีติดดีอยู่บ้าง ซึ่งแก้ยากหน่อย ยกให้ก็ได้นี่อาจยังมียัวะนิด ๆ แต่ยอม ก็ถือว่าดีแล้ว เป็นเงื่อนไขทางบวกอย่างเดียว เปรียบเป็น จิตใจเทวดาที่ยังติดดีอยู่ ซึ่ง Level 2 หมายความว่า ระงับสงบ ภายนอก แม้นภายในไม่สงบ แต่ก็ไม่ให้ระเบิดออกไป หากมาถึง ระดับนี้ก็เก่งแล้วนะ

คำตอบข้อ 3 คือ Level 3 ถึงระดับนี้โอเคมากเลย คือ “ขอบคุณเขาที่ทำให้ฉันได้ฝึกจิตใจตนเอง” ระดับนี้ระงับสงบทั้ง ภายนอกและภายในได้ แต่ยังมีเงื่อนไขเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจยังมีหวังผล หวังบุญนิด ๆ หน่อย ๆ บ้าง แต่มองทุกอย่างเป็นการฝึกสติได้หมดเลยซึ่งระดับนี้จะรู้แล้วว่ากำลังแยกจิตกับความคิดอยู่ กำลังแยกแยะ ขันธ์ 5 อยู่ กำลังฝึกอยู่ พวกเราส่วนใหญ่ที่เข้ามาปฏิบัติธรรมจะอยู่ ประมาณระดับนี้

คำตอบข้อ 4 คือ Level 4 “กูไม่คิดอะไรเลย” ไม่ได้ที่จอดรถ เหรอ ก็แค่หาใหม่ ไม่คิดใด ๆ เลย Keep Moving Forward ระดับนี้คือจิตว่าง มีสติต่อเนื่อง และได้ปัญญาทางธรรม ความหมาย คือความคิดนั่นแหละ ถือเป็นความคิดเชิงธรรมะ

อย่างเรื่องที่จอดรถ เป็นมุมมองที่ “หัวใจ” ไม่ใช่ที่หัวสมอง ไม่แม้แต่จะคิด เมื่อเขาอยากได้ที่จอดรถก็ให้เขา พร้อมกับรู้สึก ขอบคุณ วันนี้มีคนมาแย่งที่จอดรถเหรอ ต้องกลับไปเบสิกข้อแรก ก่อน คือขอบคุณ รู้สึกขอบคุณที่มีคนแย่งที่จอดรถ ทำให้ฉันรู้สึก เห็นตัวเอง เห็นความชั่วของตัวเองสิ กิเลสมันถึงจะหลุด

 

ข้อมูลจากหนังสือ COMPASSION แก้ได้ทุกปัญหา ชนะทุกวิกฤต

สั่งออนไลน์ คลิก


บทความน่าสนใจ

คาถามหาเมตตาใหญ่ แผ่เมตตาให้ไพศาลทั่วทั้ง 10 ทิศ

บทกรวดน้ำ การกรวดน้ำแผ่เมตตามีประโยชน์อย่างไร

ปาฏิหาริย์แห่งความเมตตา

เรื่องรัก ๆ ฉบับพุทธกาลของ นางสามาวดี เอตทัคคะผู้อยู่ด้วยความเมตตา

Dhamma Daily : อยากแผ่เมตตา ให้คนทั่วไปที่พบเจอ ควรทำอย่างไร

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.