กินเจ

เทศกาล กินเจ เทศกาลอิ่มบุญของผองพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน

เทศกาล กินเจ เทศกาลอิ่มบุญของผองพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน

เทศกาล กินเจ ถือเป็นอีกเทศกาลสำคัญอย่างหนึ่งของชาวไทยเชื้อสายใจในไทยและทั่วโลก เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้ง 9 ในคติพุทธศาสนามหายานที่เรียกว่า “เก้าอ๊วง” เทศกาล กินเจ เป็นมาอย่างไร และ กินเจ เพื่ออะไร แล้วได้อะไร ซีเคร็ตมีคำตอบมาฝาก

 

กินเจ

เทศกาลกินเจเป็นมาอย่างไร

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นทุกเดือน 9 ในคติจีน โดยผู้ที่ร่วมเทศกาลจะถือศีลและรับประทานอาหารเจ คืออาหารที่ทำจากผักและผลไม้ ไม่มีเนื้อสัตว์มาปะปน เป็นเวลา 9 วัน ประเพณีความเชื่อนี้มาจากหลายความเชื่อ แต่มีความเชื่อกระแสหลักคือพุทธศาสนามหายาน เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ 9 พระองค์ ซึ่งอิงมาจากคติเทพนพเคราะห์ ที่ชาวจีนเรียกว่า “เก้าอ๊วง” (พระราชาทั้ง 9 หรือ นพราชา) ในพระสูตรมหายานที่มีชื่อว่า “ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง” ระบุว่า

 

กินเจ

 

 

พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ (2) พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ (3) พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ (4) พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ (5) พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ (6) พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ (7) พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ (8) พระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์ และ (9) พระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์ ทรงตั้งปณิธานโปรดสัตว์โลก โดยแบ่งกายมาเป็นเทพนพเคราะห์ 9 พระองค์คือ (1) ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน (พระอาทิตย์) (2) ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน (พระจันทร์) (3) ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน (พระอังคาร) (4) ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน (พระพุธ) (5) ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน  (พระพฤหัสบดี) (6) ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน (พระศุกร์) (7) ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน (พระเสาร์) (8) ไต้ตั่งเม้งงั่ว คูแชกุน ฮุ้ยกวง (พระราหู) (9) ไต้เพียกแชกุน (พระเกตุ)

 

กินเจ

 

เจ คืออะไร

ส.พลายน้อย อธิบายความหมายของเจไว้ว่า การงดกินเครื่องสด คาว ต่าง ๆ เป็นการรับประทานอาหารที่ปราศจากไข่และเนื้อสัตว์ทุกชนิด บริโภคแต่ผักและผลไม้ งดเว้นการทำกิจกรรมใด ๆ อันเป็นการเบียดเบียนและสร้างความเดือดร้อนให้แก่สัตว์มาเป็นเนื้อของเรา อาหารเจที่ปรุงขึ้นมาต้องปรุงด้วยพืชธรรมชาติล้วน ๆ ไม่มีเนื้อสัตว์มาปะปน และที่สำคัญต้องไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5 ได้แก่ กระเทียม กุ้ยฉ่าย ใบยาสูบ หัวหอม และหลักเกียว (หรือกระเทียมโทนแบบจีน มีลักษณะคล้ายหัวกระเทียม แต่มีขนาดเล็กและยาวกว่า) คนกินเจไม่ใช่เพียงไม่กินเนื้อสัตว์ แต่คนกินเจต้องดำรงอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม

 

 

 

กินเจ

 

ตำนานการกินเจ

กินเจเพื่อต้านอุทกภัยที่มณฑลกังไส

เศรษฐีคนหนึ่งในมณฑลกังไส ประเทศจีน มีจิตใจบุญสุนทาน ได้สร้างคฤหาสน์หลังใหม่ขึ้น และตั้งใจว่า ก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในคฤหาสน์หลังใหม่ จะทำทานช่วยเหลือคนยากไร้เป็นเวลา 100 วัน แต่แล้วก็มีขอทานโรคเรื้อนขออนุญาตท่านเศรษฐี ให้ตนอาศัยอยู่ในคฤหาสน์หลังใหม่จนกว่าจะครบ 100 วันที่เศรษฐีจะบริจาคทาน เมื่อเศรษฐีอนุญาต น้ำเหลืองจากแผลของขอทานก็หยดเลอะบริเวณบ้าน ทำให้ส่งกลิ่นเหม็น สาวใช้ต่างไม่พอใจขอทาน แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ พอเศรษฐีเข้ามาอยู่ในคฤหาสน์หลังใหม่ รอยน้ำเหลืองของขอทานที่เลอะไปตามผนัง

กลับกลายเป็นภาพจิตรกรรมและมีอักษรเขียนไว้ว่า “อีกไม่นาน มณฑลกังไสจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ แต่ด้วยเศรษฐีสร้างบุญไว้มาก จึงมาแจ้งเศรษฐีล่วงหน้า ขอให้ชาวมณฑลกังไสประกอบพิธีถือศีลกินผัก (กินเจ) เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน และให้ถือยึดปฏิบัติอย่างเคร่งขรัด” จากเหตุการณ์ทำให้มณฑลกังไสประกอบพิธีถือศีลกันผัก หรือเทศกาลกินเจ ภัยน้ำท่วมก็ไม่เกิดขึ้น

กินเจเพื่อถวายผลบุญแด่พระเจ้าเป๊ง

ครั้งเมื่อกุบไลขานสถาปนาราชวงศ์หยวนแล้วขึ้นเป็น พระเจ้าซีโจ๊ พระเจ้าเป๊ง อดีตกษัตริย์ราชวงศ์ซ้อง ต้องหนีพระราชภัยไปยังไต้หวัน แล้วทรงอัตวินิบาตกรรมพระองค์เอง ด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเป๊งทำให้ประชาชนเสียใจ จึงถือศีและกินเจเพื่อถวายผลบุญแด่พระเจ้าเป๊ง

กินเจเพื่อรำลึกถึงวีรบุรุษทั้ง 9

วีรบุรุษทั้ง 9 หรือ “หงี่หั่วท้วง” คือชาวจีน 9 คนที่ต่อสู้กับชาวแมนจูอย่างกล้าหาญ เมื่อชาวจีนอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์แมนจู จึงประกอบพิธีถือศีลกินเจขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของวีรบุรุษทั้ง 9

 

 

กินเจ

 

ตำนานการกินเจในประเทศไทย

คุณปณิตา สระวาสี เสนอข้อมูลที่มาของการกินเจในประเทศไทยไว้ว่า สันนิษฐานว่ามาจากคณะงิ้วที่นำการกินเจมาเผยแพร่ โดยเกิดขึ้นที่หมู่บ้านไล่ทูหรือกะทู้ในปัจจุบัน  ในตอนนั้นเป็นยุคเฟื่องฟูของการทำเหมืองแร่ดีบุก มีคนจีนจากแถบฮกเกี้ยน ซัวเถา และเอ้หมึงอพยพเข้ามาเป็นแรงงานขุดแร่จำนวนมาก หมู่บ้ากะทู้ยังเป็นป่าทึบ มีไข้ป่าและโรคภัยไข้เจ็บสารพัด

คนจีนในตอนนั้นมีความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้าประจำตระกูล หรือเทพที่คุ้มครองประจำหมู่บ้านอยู่ก่อนแล้ว ต่อมามีคณะงิ้วจากประเทศจีนมาเปิดการแสดงที่บ้านกะทู้ เนื่องจากเศรษฐกิจในหมู่บ้านอยู่ในขั้นดีมากสามารถอุดหนุนคณะงิ้วได้ตลอดทั้งปี

หลังจากเปิดการแสดงระยะหนึ่งเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นมาได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี่ยะฉ่าย (กินผัก) ซึ่งเคยปฏิบัติมาทุกปีที่เมืองจีน จึงได้ตกลงกันประกอบพิธีเจี่ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วนั่นเอง เพื่อขมาโทษด้วยสาเหตุต่างๆ และระลึกถึงกิ้วอ๋องเอี๋ย หรือกิ้วอ๋องไต่เต่

ต่อมาปรากฏว่าโรคภัยต่างๆ หายไปจากบ้านกะทู้ สร้างความประหลาดใจให้กับแก่ชาวกะทู้เป็นอย่างจาก จึงได้สอบถามจากคณะงิ้ว  คณะงิ้วจึงได้แนะนำการทำพิธีเจี่ยะฉ่ายอย่างย่อให้กับชาวจีนในกะทู้ ด้วยความเลื่อมใสของผู้คนประเพณีเจี่ยะฉ่าย หรือกินผักจึงแพร่หลายออกไปตามสถานที่ต่างๆ

ต่อมาชาวกะทู้ไปสืบค้นเอากระถางธูปและตำรากินเจมาจากกังไส (เจียงซี) แต่ต่อมาก็มีปฏิสัมพันธ์กับจีนฮกเกี้ยนในมาเลเซียด้วย การกินเจของภูเก็ตจึงมีลักษณะร่วมกับมาเลเซียมากกว่ากรุงเทพฯหรือภาคกลาง เช่นเจ้าที่ไหว้ก็เป็น กิ้วอ๋องไต่เต่ ไม่ใช่ กิ๋วฮ้วงหุกโจ้วหรือกิ้วอ๊วงฮุดโจ้ว

 

กินเจ

 

ที่มา :

ความเชื่อและพิธีกรรมแบบจีนในสังคมไทย โดย สมบูรณ์ สุขสำราญ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

โป้ยเซียนผู้อำนวยโชคลาภตามคติของชาวจีน โดยส.พลายน้อย สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง

อานิสงส์การกินเจ โดยคะนอง เนินอุไร สำนักพิมพ์วนิชชา

th.wikipedia.org

www.sac.or.th

ภาพ :

วัดมังกรกมลาวาส

วัดบำเพ็ญจีนพรต

ศาลเจ้ากวางตุ้ง

ประเพณีงานเจ เยาวราช


บทความน่าสนใจ

Dhamma Daily : ถ้าฆ่าสัตว์มีพิษเพื่อป้องกันตัว บาปหรือไม่

ปัญหาธรรมประจำวันนี้: ฆ่าสัตว์ เพื่อการศึกษาบาปหรือไม่

เป็น พระโสดาบัน เพราะถือศีล 5

6 พระสูตร ที่เทวดาฟังแล้วบรรลุธรรมมากที่สุด

อานิสงส์ของการรักษาศีล โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.