สุญญตา

พระพุทธพจน์ว่าด้วยเรื่อง สุญญตา (ความว่าง)

อีกคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนคือเรื่อง ความว่าง หรือ สุญญตา และมีความหมายตรงกับคำว่า ศูนยตา ในพุทธศาสนามหายาน

พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องสุญญตา หรือ ความว่าง ไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพระไตรปิฎกดังนี้

 

” อานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งตอนนี้ เรามีปกติอยู่โดยอย่างมากด้วยความว่าง ”

จากจุฬสุญญตสูตร

 

” สูตรทัังหลายเหล่าใด อันเป็นคำที่ตถาคตได้ตรัสไว้ลึกซึ้ง เป็นคัมภีรภาพ มีอรรถอันลึกซึ้ง อยู่เหนือโลก ประกอบด้วยสุญญตา คือ ความว่าง เราจะเข้าถึงธรรมนั้นตลอดเวลา ”

จากธัมมทินนสูตร

 

” ดูกรพระโมฆราช ท่านจงพิจารณาโลกนี้ด้วยความว่างเปล่า มีสติทุกครั้งที่พิจารณา สามารถถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย (ความเห็นว่ามีตัวตน) เป็นผู้ข้ามความตาย ด้วยการมองโลกด้วยสุญญตา บุคคลที่พิจารณาโลกเช่นนี้ได้ ความตายย่อมไม่เจอ ”

จากโมฆราชมาณวกปัญหา

 

” พาหิยะ ร้องขอมาเช่นนี้ เมื่อเธอเห็นก็จนสำเหนียกว่าเห็น ทำก็สำเหนียกว่าทำ เกิดความรู้สึกก็สักแต่ว่ารู้ ทำเช่นนี้ เธอจะไม่มีตัวตนในโลกนี้และโลกอื่น หรือโลกไหน ๆ ”

จากพาหิยะสูตร

 

” กิจจานะ ผู้ที่เข้าใจการเกิดขึ้นของโลกตามความเป็นจริงด้วยปัญญาที่ถูกต้อง ย่อมไม่มีความคิดว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ กิจจานะผู้ที่เข้าใจการดับของโลกตามความเป็นจริงด้วยปัญญาที่ถูกต้อง ย่อมไม่มีความคิดว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ (สุญญตา) การเห็นโลกตามความเป็นจริงที่ยกมานี้ เรียกว่า ความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ”

จากสังยุตตนิกาย นิทานวรรค

 

” ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นรูปในอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม ภิกษุย่อมพิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ อย่างรอบคอบซึ่งรูปนั้น รูปนั้นย่อมปรากฏว่าว่าง หาสาระมิได้ ภิกษุทั้งหลาย สาระในรูปจะมีได้อย่างไร ”

จากสังยุตตนิกาย ขันทวารวรรค

 

” สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง (มีความไม่แน่นอน) สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ (มีความเปลี่ยนแปลง) ธรรมทัั้งปวงเป็นอนัตตา (ไม่มีตัวตน) หมายความว่าอย่างไร รูปชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะเป็นสิ่งแตกดับ รูปชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะเป็นสิ่งที่น่ากลัว รูปชื่อว่าอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) เพราะเป็นสิ่งหาสาระไม่ได้ ”

จากขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

 

” อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาและสิ่งที่เกี่ยวกับอัตตา เราจึงกล่าวว่าโลกว่างเปล่า ”

จากสังยุตตนิกาย สฬาตยวรรค

 

ที่มา : หนังสือธรรมะ สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ เรื่อง ทางสายกลางสู่อิสรภาพแห่งชีวิต

 

 


บทความน่าสนใจ

เส้นทางสู่ “ความว่าง” ของอ้อม - สุนิสา สุขบุญสังข์

ความว่างเปล่า – พระราชญาณกวี

จะทำสิ่งต่าง ๆ ไปเพื่ออะไร เพราะสุดท้ายก็คือ ความว่างเปล่า

ทำงานด้วย จิตว่าง ทำอย่างไร พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ มีคำตอบ

Dhamma Daily : ทำอย่างไรให้ จิตว่างในขณะทำงาน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.