บริษัทผลิตชอล์กญี่ปุ่น

บริษัทผลิตชอล์กญี่ปุ่น ที่สร้างความสุข “สูงสุด” ให้พนักงาน

บริษัทผลิตชอล์กญี่ปุ่น ที่สร้างความสุข “สูงสุด” ให้พนักงาน

ดิฉันไปเรียนที่ญี่ปุ่นตั้งแต่อายุ 17 ปี โดยได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่น รู้ตัวอีกทีก็เรียนจนจบปริญญาเอกที่โน่นเลย วันหนึ่งดิฉันแวะเข้าร้านหนังสือ และพบหนังสือที่ชื่อว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ควรรัก แต่งโดย อาจารย์ซากาโมโต้ โคจิ (Sakamoto Koji) ด้วยความที่ดิฉันศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จึงลองหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาพลิกดูสารบัญ โดยหวังว่าจะได้พบกับ “สุดยอดกลยุทธ์” หรือ “เคล็ดลับในการบริหาร” อะไรสักอย่างบ้าง
1
ในหน้าสารบัญมีแต่ชื่อบริษัทที่ดิฉันไม่รู้จัก บริษัทอินะโชคุฮิน การบริหารแบบไม่สู้ใคร บริษัทอาร์เอฟผู้ผลิตกล้องเพื่อให้เด็ก ๆ กลืนได้ง่าย หรือบริษัทซุกิยาม่าฟรุต บริษัทที่ลูกค้าเดินมาบอกว่า “ดีใจจริง ๆ ที่มาซื้อผลไม้กับเธอ” แต่ทุกบทในหนังสือเล่มนี้ ล้วนทําให้ดิฉันตาลุกวาว
2
ดิฉันรีบซื้อหนังสือเล่มนี้กลับไปนั่งอ่านที่บ้าน อ่านไปน้ําตาซึมไป บริษัทเล็ก ๆ เหล่านี้ล้วนมีจิตวิญญาณของการทําเพื่อผู้อื่น สมชื่อหนังสือ บริษัทญี่ปุ่นที่ควรรัก จริง ๆ หนึ่งในบริษัทที่ดิฉันประทับใจคือ บริษัทนิฮง ริคะงะขุ โคเกียว (Nihon Rikagaku Kogyo)
3
บริษัทนิฮง ริคะงะขุ โคเกียว เป็นบริษัททําชอล์กเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว คนในวงการเครื่องเขียนของญี่ปุ่นต่างรู้จักบริษัทนี้กันดีในฐานะบริษัทผลิตแท่งชอล์กไร้ฝุ่นอันดับ 1 แต่สิ่งมหัศจรรย์ที่ดิฉันอยากเล่าไม่ใช่วิธีทําส่วนแบ่งตลาดให้เป็นอันดับ 1 หรือวิธีการผลิตชอล์กที่ไม่มีผงฝุ่นฟุ้งกระจายเวลาเขียน แต่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพนักงานสุด “พิเศษ” ของบริษัทนี้
4

“ร้อยละ 70 ของพนักงานเป็นผู้ที่มีความแตกต่างทางสติปัญญา”

5
ในปี ค.ศ. 1960 บริษัทดําเนินธุรกิจมาได้เป็นปีที่ 22 คุณโอยาม่า คาซุฮิโร (Oyama Kazuhiro) ผู้บริหารบริษัท มีเรื่องให้คิดหนัก เพราะการมาเยือนของคุณครูจากโรงเรียนสอนผู้ทุพพลภาพท่านหนึ่งซึ่งมาติดต่อขอให้นักเรียนของเธอเข้าทํางานที่บริษัทแห่งนี้หลังเรียนจบ เพราะอยากให้ลูกศิษย์ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ อยากให้พวกเขาช่วยเหลือตัวเองได้ ทํางานเองได้ โดยไม่ต้องมีคนคอยดูแล
6
ตอนแรกคุณโอยาม่าปฏิเสธ เพราะกลัวเด็ก ๆ จะทํางานไม่ได้ แต่คุณครูไม่ยอมแพ้ เธอติดต่อบริษัทถึง 3 ครั้ง เพราะเห็นว่าการทําชอล์กน่าจะมีขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยากเกินความสามารถของลูกศิษย์ของเธอ นอกจากนั้นบริษัทญี่ปุ่นแห่งอื่นก็ไม่มีที่ไหนยอมรับเด็ก ๆ เข้าทํางานเลย
บริษัทผลิตชอล์กญี่ปุ่น
ในที่สุดคุณโอยาม่าตัดสินใจรับเด็กมาฝึกงานก่อน 2 สัปดาห์ ทางโรงเรียนจึงส่งนักเรียนมา 2 คน เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 15 และ 17 ปี วันแรกพนักงานต่างกลัวว่าเด็ก ๆ จะไม่สนใจงานที่ทําหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่พวกเขาสอน แต่พวกเขากลับพบว่าเด็กหญิงทั้งคู่มีสมาธิจดจ่อและตั้งอกตั้งใจทํางานมากเสียจนไม่ได้ยินเสียงกริ่งพักกินข้าวเสียด้วยซ้ํำ
7
เมื่อเด็กสาวเข้ามาทํางาน พนักงานทุกคนต้องปรับวิธีการสื่อสารและวิธีการผลิตทั้งหมด เช่น ขั้นตอนการผสมผงชอล์ก พนักงานต้องตวงผงหลาย ๆ แบบมาผสมกัน แต่เธอทั้งคู่ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องตัวเลขบนถ้วยตวง และไม่รู้ว่าจะใช้ถ้วยใบไหนตวงผงแบบใด ไม่ว่าสอนอย่างไรก็จําไม่ได้เสียที
8
พนักงานในแผนกต่าง ๆ จึงช่วยกันระดมความคิด พนักงานคนหนึ่งสังเกตว่า เด็ก ๆ นั่งรถไฟมาลงที่สถานีและเดินมาทํางานที่โรงงานของพวกเขา นั่นแปลว่าเด็ก ๆ ต้องรู้วิธีข้ามถนน รู้จักสัญญาณไฟจราจร เขาจึงลองเปลี่ยนฝาภาชนะใส่ผงชอล์กกับถ้วยตวงให้เป็นสีต่าง ๆ โดยผงในภาชนะฝาสีแดงต้องใช้ถ้วยตวงสีแดงวัด ส่วนฝาสีเขียวก็ต้องใช้ถ้วยตวงสีเขียววัด เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้น
9
เมื่อการฝึกงานสิ้นสุดลง กลายเป็นพนักงานทั้งโรงงานเป็นฝ่ายมาขอให้รับเด็กสาวทั้งคู่เป็นพนักงานประจํา โดยสัญญาว่าจะช่วยดูแลเธอเอง
10
ตอนแรกคุณโอยาม่าไม่เข้าใจว่า ทําไมผู้ทุพพลภาพต้องมาทํางาน เพราะในญี่ปุ่นมีสถานรับเลี้ยงดูพวกเขา เด็ก ๆ จะได้เล่นเกม ได้เจอเพื่อนคนอื่น ๆ มันน่าจะมีความสุขกว่าการนั่งรถไฟแน่น ๆ มาทํางานแบบนี้ทุกวัน จนวันหนึ่งคุณโอยาม่าไปงานเลี้ยงและเผอิญได้นั่งที่นั่งติดกับพระรูปหนึ่ง เขาเล่าเรื่องเด็กผู้หญิงทั้งสองคนให้พระรูปนั้นฟัง
11
พระรูปนั้นบอกเขาว่า
12
“มนุษย์จะรู้สึกมีความสุขมาก ๆ เมื่อพบเหตุการณ์ต่อไปนี้
13
1.ได้รับความรักจากผู้อื่น
14
2.ได้รับคําชมจากผู้อื่น
15
3.รู้สึกว่าตนเองมีประโยชน์แก่ผู้อื่น
16
4.รู้สึกว่าตนเองเป็นที่ต้องการของผู้อื่น
17
และทุกสิ่งที่อาตมากล่าวมานี้เป็นสิ่งที่เด็ก ๆ ได้จากการทํางานที่บริษัทคุณนะ”
18
คุณโอยาม่าจึงเข้าใจว่า ความสุขของเด็ก ๆ ไม่ใช่การอยู่ดีกินดี ได้เที่ยวเล่นไปวัน ๆ แต่คือการได้รับความรักและรู้สึกว่าตนมีค่านั่นเอง หลังจากนั้นคุณโอยาม่าก็รับผู้ทุพพลภาพทางสติปัญญาเข้าทํางานที่บริษัททุกปี โดยปรับกระบวนการผลิตให้เรียบง่ายในทุก ๆ จุด เพื่อให้เธอและเขาเหล่านี้เข้าใจและปฏิบัติตามคําสั่งได้ เมื่อทําได้เขาก็ชื่นชม และทุกเย็นหลังเลิกงาน คุณโอยาม่าจะกล่าวขอบคุณพนักงานทุกคน
19
ประโยคว่า “วันนี้ขอบคุณเธอมากนะ” อาจเป็นคําพูดธรรมดา ๆ สําหรับคนทั่วไป ยิ่งหากได้ยินทุกวันเราคงรู้สึกเฉย ๆ กับคําพูดนี้ แต่คุณโอยาม่ารู้ดีว่า คําพูดสั้น ๆ เช่นนี้มีความหมายกับพนักงานพิเศษเหล่านี้มากแค่ไหน เด็ก ๆ ยิ้มตอบด้วยท่าทางดีอกดีใจทุกครั้ง
20
“ผมเข้าใจแล้วว่า บริษัทต้องเป็นสถานที่ที่สร้างกําไร ในขณะเดียวกันต้องทําให้พนักงานทุกคนมีความสุขด้วย”
21
แน่นอน พนักงานพิเศษเหล่านี้บางคนสมาธิสั้น ไม่ยอมฟังพนักงานคนอื่นและอาจสร้างปัญหาได้ คุณโอยามาจึงตั้งกฎว่า หากพนักงานคนใดสร้างความรําคาญหรือรบกวนการทํางานของผู้อื่น จะส่งกลับบ้าน ไม่ให้ทํางานต่อ ขณะเดียวกันเขาก็บอกผู้ปกครองว่า
22
“แต่เมื่อใดที่พวกเขาบอกว่าอยากกลับมาทํางาน หรือจะไม่ทําพฤติกรรมไม่ดีอีก กรุณาให้พวกเขากลับมาทํางานต่อนะครับ”
23
เด็กผู้ชายคนหนึ่งเป็นเด็กที่ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ค่อยได้ ไม่ฟังผู้อื่น และตะโกนโวยวาย 2 ปีแรกเขาถูกส่งกลับบ้านกว่า 30 ครั้ง แต่ตัวเขาเองก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง เดิมเขาถูกส่งกลับบ้านสัปดาห์ละครั้ง เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็กลายเป็นเดือนละหน และค่อย ๆ ปรับเข้ากับชีวิตการทํางานได้ในที่สุด ปัจจุบันเขาเป็นคนช่วยดูแลน้อง ๆ คนอื่นที่เข้างานมาทีหลังด้วยซ้ํำไป
24
ตั้งแต่มีพนักงานพิเศษเหล่านี้เข้ามาร่วมงาน พนักงานรักใคร่ช่วยเหลือกันมากกว่าเดิม ผลผลิตของบริษัทก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ
บริษัทผลิตชอล์กญี่ปุ่น
อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเห็นว่าบริษัทนี้ทํากิจกรรมเพื่อสังคม จึงอยากช่วยเหลือบริษัทโดยติดต่อเข้ามาเพื่อช่วยวิจัยเทคโนโลยีใหม่ให้บริษัทชอล์กเล็ก ๆ แห่งนี้ นายอําเภอฮกไกโดก็เชิญให้เขาไปสร้างโรงงานที่นั่นด้วย
25
“เมื่อเราทําดีก็มีแต่คนให้กําลังใจและสนับสนุนเรา”
26
สําหรับการรับมือกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น คนใช้ชอล์กเขียนกระดานน้อยลง คุณโอยาม่ากลับพลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการให้พนักงานพิเศษเหล่านี้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น ให้พวกเขาช่วยคิดว่าสินค้าแบบใดจะเป็นประโยชน์แก่พวกเขา หรือเป็นสินค้าที่พวกเขาอยากใช้ เพราะสิ่งที่พวกเขาเสนออาจเป็นประโยชน์กับผู้ทุพพลภาพหรือผู้ป่วยคนอื่น ๆ ก็เป็นได้
27
ส่วนพนักงานพิเศษที่อยู่มานาน ๆ หากมีความสามารถ คุณโอยาม่าจะให้พวกเขาเป็นหัวหน้ากลุ่มฝึกสอนน้อง ๆ พนักงานพิเศษที่เพิ่งเริ่มเข้ามาทํางาน เพราะฉะนั้นนอกจากการทําชอล์กแล้ว งานประชุม งานดูแลลูกทีม หรือการกระตุ้นให้เสนอความเห็น ก็เป็นอีกส่วนที่ทําให้พนักงานพิเศษรู้สึกว่าตนเองมีประโยชน์และสําคัญกับพนักงานคนอื่น ๆ อย่างแท้จริง
28
ปัจจุบันบริษัทนิฮง ริคะงะขุ โคเกียว มีพนักงานทั้งหมด 73 คน มีพนักงานที่เป็นผู้ทุพพลภาพทางสติปัญญาถึง 53 คน หรือกว่าร้อยละ 70 ของพนักงานทั้งหมด ส่วนเด็กหญิงสองคนที่เข้ามาทํางานแต่แรก คนหนึ่งทํางานจนถึงอายุ 65 ปี (ระยะเวลาการทํางาน 48 ปี) ส่วนอีกคนทํางานจนถึงอายุ 68 ปี (ระยะเวลาการทํางาน 53 ปี) พวกเธอคงมีความสุขกับงานที่ทําให้เธอได้รับความรัก คําชม และการเห็นคุณค่าของตัวเองนั่นเอง
29
หากท่านใดรู้สึกไม่มีความสุขหรือหมดกําลังใจกับการทํางาน ไม่ว่าจะเป็นเพราะโครงสร้างองค์กร รายได้ เจ้านาย หรือลูกค้าบางคน ลองหยุดความรู้สึกไม่ดีนั้นไว้ และมองงานตนเองในมุมใหม่ดู
30
งานที่เราทําเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างไร เราสร้างคุณค่าให้แก่ผู้อื่นได้อย่างไร หากท่านตอบคําถามนี้ได้ ดิฉันมั่นใจว่าท่านจะเริ่มรู้สึกถึง “ความสุข” จากการทํางานแล้วละค่ะ
31

ที่มา : นิตยสาร Secret  ฉบับที่ 181

คอลัมน์ : stories from abroad

เรื่อง : เกตุวดี Marumura
32
ภาพ : rosie.jp, A-port, Nippon.com
33

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.