เจตนา

แค่คิดดี เจตนาดี พอหรือไม่

แค่คิดดี เจตนา ดี พอหรือไม่

0
หลายคนคงเคยได้ยินคําว่า “ขอให้เราคิดดี มี เจตนา ดีก็พอแล้ว” คําถามที่น่าสนใจคือ ตกลงแล้วแนวคิดดังกล่าวถูกต้องจริงหรือไม่
0
ก่อนจะตอบคําถามดังกล่าวในมุมของพระพุทธศาสนา ผมขอเล่าเรื่องที่อาจทําให้เห็นภาพว่าคําตอบจะออกไปในแนวทางไหน วันก่อนผมไปเล่นบาสเกตบอล แล้วได้เห็นพ่อลูกคู่หนึ่งมาเล่นด้วยกัน พ่อพยายามสอนลูกว่าให้ทําท่าแบบนั้น ให้เคลื่อนไหวแบบนี้ ให้ทํามือแบบนี้จะได้ชู้ตลูกบาสลงห่วงทั้ง ๆ
ที่ผู้เป็นพ่อก็ชู้ตไม่ตรงบ้าง ไม่ถึงบ้าง เลยบ้าง จะเห็นว่าพ่อนั้นคิดดี มีเจตนาดีต่อลูก แต่เจ้าตัวไม่มีความรู้ความสามารถที่ถูกต้องก็คงเป็นเรื่องยากที่ลูกจะทําให้ดีได้
0
ตัวอย่างถัดมาเป็นเรื่องราวสมมุติว่า หากคนงานคนหนึ่งเป็นคนขยันขันแข็ง อยากช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและบริษัท เขาพยายามช่วยงานด้วยการใช้งานเครื่องจักรที่เขาไม่รู้วิธีใช้งานที่ถูกต้อง เราคงจินตนาการได้ไม่ยากว่า ความตั้งใจดีเจตนาดีของเขา ผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร
0
เจตนา
0
ตัวอย่างหนึ่งเป็นเรื่องสมมุติเช่นกัน ลูกคนหนึ่งมีแม่เป็นเบาหวาน ลูกคนนี้รักและหวังดีกับแม่มาก แต่ทั้งคู่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวานเลย ลูกคนนี้จึงแสดงความกตัญญูด้วยการซื้อของกินที่แม่ชอบให้เป็นประจํา เช่น ขนมหวาน ทุเรียน ลูกมีความสุขที่ได้ให้ แม่ก็มีความสุขที่ได้กิน จะเห็นว่าลูกคนนี้ก็มีเจตนาดี คิดดีกับแม่ แต่เนื่องจากเจ้าตัวไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง เจตนาที่ดีดังกล่าวกลับนําผลลัพธ์ที่ร้ายมาสู่แม่ลูกคู่นี้
0
เจตนา
0
ตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมา เราคงพอได้แนวทางแล้วว่าบางครั้ง หากเราไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง (ปัญญา) การมีความคิดดีมีความตั้งใจดี มีเจตนาที่ดี อาจทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ดีได้
0
เช่นเดียวกันกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา การมีความคิดที่ดี มีเจตนาที่ดี อาจยังไม่เพียงพอ เราต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง (ปัญญา) ควบคู่ไปด้วย ความรู้ที่ถูกต้องนั้นหมายถึง การมีความคิด ความเชื่อไปในแนวทางเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอน หรือที่เรียกว่า สัมมาทิฐิ นั่นเอง
0
มีสัมมาทิฐิเป็นเรื่องที่สําคัญมาก พระพุทธเจ้าตรัสว่าสิ่งนี้เป็นเหมือนรากฐานของทุกอย่าง
คนที่มีสัมมาทิฐิจะขยันขันแข็งทําในสิ่งที่ได้บุญกุศล ทําในสิ่งที่ทําให้เจริญรุ่งเรือง มีความสุข ได้ขึ้นสวรรค์ นิพพาน และยังจะนําพาคนรอบข้างให้คิดและทําแบบที่ตนทําด้วย
0
เจตนา
0
ขณะที่คนมีมิจฉาทิฐิเป็นไปในทางตรงกันข้าม นั่นคือเขาจะขยันขันแข็งทําในสิ่งที่ได้บาป นําพาความล่มจมมาสู่ตนเอง รวมไปถึงตกนรก ที่สําคัญคือ เนื่องจากเขาขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (ปัญญา) เขาจึงคิดว่าสิ่งที่ตนเชื่อที่ตนทํานั้นถูกต้องแล้ว ดีแล้ว การกระทําของเขานั้นเป็นการคิดดี มีเจตนาที่ดี จึงทําด้วยความสุขใจ และพยายามชักชวนนําพาคนรอบข้างให้ทําแบบเดียวกันด้วย
0
เหมือนอย่างเช่นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง ฤกษ์ยาม ฮวงจุ้ย โหงวเฮ้ง ศาสตร์ตัวเลข การเปลี่ยนชื่อ การบูชายัญ พิธีกรรม ไสยเวท ฯลฯ ที่บางคนเชื่อว่าเป็นสิ่งดีงาม ถูกต้อง (ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ยึดมั่นในกฎแห่งกรรม) ความเชื่อแบบนั้นจะนําพาเขาให้เข้าไปสู่การยึดมั่นกับสิ่งดังกล่าว และนําพาไปสู่การอยากให้คนรอบข้างมาเชื่อ มายึดมั่นเหมือนตนด้วยความหวังดีและคิดว่าทําในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว คิดว่าได้บุญทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วได้บาป
0
เจตนา
0
ไปถึงความเชื่อเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมในบางมุม ซึ่งบางคนเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เช่น การแก้กรรม ทําสิ่งนั้นได้บุญ (ทั้ง ๆ ที่ได้บาป) ทําสิ่งนั้นได้บาป (ทั้ง ๆ ที่ได้บุญ) ไม่ควรทําบุญมาก ๆ ไม่ควรทําบุญด้วยของดี ๆ ทําบุญกับพ่อแม่ก็พอ ไม่ต้องทํากับพระ เป็นต้นคนกลุ่มนี้พยายามเผยแผ่ด้วยเจตนาที่ดี คิดว่าได้บุญ แต่แท้จริงแล้วได้บาป เพราะความเชื่อนั้นตั้งอยู่บนความเชื่อความเข้าใจที่ผิด
0
กล่าวโดยสรุปว่า ความเชื่อว่าแค่คิดดี เจตนาดีก็พอนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเจตนาที่ดีที่ตั้งอยู่บนความรู้ที่ผิดสามารถทําให้เกิดเรื่องที่เลวร้ายได้ จึงต้องมีความคิดที่ดี เจตนาดี ควบคู่ไปกับปัญญาที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) ด้วยครับ
0
เจตนา
0
ที่มา : นิตยสาร Secret ฉบับที่ 169
ผู้เขียน/แต่ง : ณัฐพบธรรม

บทความน่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.