อาหารของคนธาตุไฟ “ยำสะเดากับเห็ดพันสาหร่ายทอด”

อาหารของคนธาตุไฟ “ยำสะเดากับเห็ดพันสาหร่ายทอด”

เตโชธาตุ เรื่องของไฟในกาย
ฉบับนี้จะขอกล่าวถึงธาตุสุดท้าย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย กระบวนการเผาผลาญ  และปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆ  ตลอดจนระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย  นั่นก็คือ “ธาตุไฟ” หรือ “เตโชธาตุ” นั่นเอง

เรื่องทั่วไปของธาตุไฟ ธาตุไฟคือองค์ความร้อนในสิ่งมีชีวิต  มีคุณสมบัติเผาผลาญให้แหลกสลาย ไฟทำให้ธาตุลมและธาตุน้ำในร่างกายเคลื่อนที่ด้วยพลังแห่งความร้อนอันพอเหมาะ ทั้งยังช่วยให้ธาตุดินอุ่น  เพื่อช่วยให้อวัยวะต่างๆไม่เน่า  ตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย จำแนกธาตุไฟในกายไว้4 กอง  ได้แก่
สันตัปปัคคี  หรือไฟทำให้ร่างกายอบอุ่น  ซึ่งเชื่อมโยงกับกระบวนการควบคุม อุณหภูมิในร่างกายโดยต่อมไฮโปทาลามัส
ปริทัยหัคคี  หรือไฟทำให้ร้อนระส่ำระสาย  ทำหน้าที่ระบายความร้อนส่วนเกิน เช่น  การขยายตัวของรูขุมขนเพื่อขับเหงื่อ  ซึ่งเชื่อมโยงกับการทำงานของต่อม ไฮโปทาลามัสเช่นกัน
ชิรนัคคี  หรือไฟสำหรับเผาให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม  ไฟชนิดนี้เกี่ยวข้องกับ ระบบฮอร์โมน  สารเคมี  และปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้เซลล์มีคุณภาพดีหรือเสื่อมไป  เช่น  โกร๊ธฮอร์โมน  สารแอนติออกซิแดนต์  หรือสารฮีสตามีน  ปริณามัคคี  หรือไฟสำหรับย่อยอาหาร  ได้แก่  เอนไซม์ต่างๆ ที่ใช้ย่อยอาหาร รวมถึงกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย

ธาตุไฟทั้ง 4 กองนี้จะถูกควบคุมด้วยกระบวนการทำงานของธาตุไฟ 3 ระบบ (กองสมุฏฐาน)  ซึ่งจะกล่าวถึงในฉบับถัดไป

หากมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่า  ธาตุไฟนั้นเป็นระบบการทำงานของร่างกาย ในระดับตั้งต้นในทุกๆกระบวนการ  หากธาตุไฟเสียสมดุลย่อมกระทบกับระบบ ต่างๆ ดังที่กล่าวมา  อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อธาตุอื่นๆได้  เช่น  หากธาตุไฟมีมากไป จะทำให้ธาตุลมสลายไป  ไม ่อาจพัดพาธาตุน้ำให้ไหลเวียนไปเลี้ยงธาตุดินได้ เป็นต้น  เหตุนี้เราจึงควรดูแลธาตุไฟให้เป็นปกติเสมอ  เพื่อให้ระบบอื่นๆ สามารถ ทำงานได้อย่างปกติ  และยังช่วยให้อายุยืนยาวอีกด้วย

รู้จักกับธาตุเจ้าเรือนไฟ

ลักษณะคนธาตุไฟ : มักเป็นคนร้อนง่าย  ทนร้อน ไม่ค่อยได้  หิวบ่อย  กินเก่ง  ผมหงอกเร็ว  มักหัวล้าน หนังย่น  ผม  ขน  หนวดอ่อนนิ่ม  ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก  กลิ่นตัวแรง  ไม่ค่อยอดทน  ใจร้อน ความต้องการทางเพศปานกลาง

จุดอ่อนของสุขภาพ : ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟ  ในช่วงอายุ16-32 ปี  มักจะหงุดหงิดง่าย  อารมณ์เสีย บ่อย  เป็นคนเจ้าอารมณ์  ในฤดูร้อนจะเจ็บป่วยง่าย และเป็นไข้ตัวร้อน  เพราะธาตุไฟกำเริบ

รสอาหารที่ควรกิน : รสขม (เพื่อช่วยบำรุงน้ำดี  ทำให้ การย่อยอาหารดีขึ้น  และช่วยแก้ไข้ได้)  รสเย็น (ผัก ที่มีฤทธิ์เย็นช่วยให้ธาตุไฟในร่างกายไม่ลุกโชนจนเกินไป และรักษาอุณหภูมิในกายให้เป็นปกติ)  รสจืด (ช่วยขับ ปัสสาวะ  จึงลดระดับความร้อนในกายและแก้ไข้ตัวร้อน ได้  อีกทั้งผักรสจืดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง  จึงช่วย ป้องกันเซลล์เสื่อมสภาพได้)

ผักและผลไม้ที่แนะนำ : ผักบุ้ง  ตำลึง  ผักกระเฉด  ผัก กระสัง  สายบัว  ผักกาดจีน  ผักกาดนา  ผักกาดนกเขา มะระ  ผักปลัง  มะรุม  มะเขือยาว  ผักหนาม  ยอด มันเทศ  กระเจี๊ยบมอญ  สะเดา  ยอดฟักทอง  หยวก- กล้วย  ใบหม่อน  มะเขือขาว  กุยช่าย  มันแกว  พุทรา แอ๊ปเปิ้ล

เมนูอาหารที่แนะนำ : ยำสะเดา  ผัดผักปลัง  มะระยัดไส้นึ่ง  แกงจืดต่างๆ  แกงส้ม  สลัดผักสดต่างๆ น้ำแตงโม  น้ำใบบัวบก  น้ำใบเตย  น้ำเก๊กฮวย

เพื่่อช่วยบำรุงธาตุไฟให้สมดุลจึงขอนำเสนอ เมนูยำสะเดากับเห็ดพันสาหร่ายทอด  ที่ช่วยป้องกันหวัด ทั้งยังช่วยบำรุงน้ำดีและทำให้เจริญอาหารไว้ให้คุณรับประทาน เพื่อปรับสมดุลธาตุไฟในกาย

ยำสะเดากับเห็ดพันสาหร่ายทอด อาหารของคนธาตุไฟ ยำสะเดา สะเดา
ยำสะเดากับเห็ดพันสาหร่ายทอด

ยำสะเดากับเห็ดพันสาหร่ายทอด อาหารของคนธาตุไฟ

ส่วนผสม (สำหรับ 1 ที่) เตรียม 20 นาที  ปรุง 30 นาที
ดอกสะเดามันลวก  บีบน้ำจนหมาด 1 1/2 ถ้วย
เห็ดนางฟ้า 7 ดอก
สาหร่ายแผ่นสำหรับห่อข้าว 1 แผ่นใหญ่
แป้งทอดกรอบ 1/2 ถ้วยผสมน้ำเปล่า 1/4 ถ้วย
เกล็ดขนมปัง 1 ถ้วย
น้ำมันสำหรับทอดเห็ด 2 ถ้วย
หอมเจียวตามชอบ
กระเทียมเจียวตามชอบ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอดตามชอบ
พริกชี้ฟ้าทอดตามชอบ

ส่วนผสมน้ำยำ
น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย
น้ำมะขามเปียก 1/2 ถ้วย
เกลือ 1/2 ช้อนชา
ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 1/4 ถ้วย

วิธีทำ
1. ใส่ส่วนผสมน้ำยำรวมกันในกระทะ  ยกขึ้นตั้งไฟเคี่ยวด้วยไฟกลางจนละลาย เข้ากันและข้นเป็นยางมะตูม  ปิดไฟ  พักไว้
2. ตัดแผ่นสาหร่ายเป็นเส้นยาวโดยให้มีความหนาประมาณ 1 นิ้ว  ทั้งหมด 7 เส้น แล้วนำไปพันก้านเห็ดให้รอบ  ใช้น้ำแตะส ่วนปลายแผ่นสาหร่ายเพื่อติดปลายให้เรียบร้อย  ทำอย่างนี้จนหมดดอกเห็ด  แล้วนำไปชุบแป้งที่ผสมไว้  คลุกเกล็ดขนมปัง  แล้วนำไปทอดจนสุกกรอบ  ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน
3. ใส่สะเดาลงในชามผสม  ราดน้ำยำลงไป  คนให้เข้ากัน  จึงใส่หอมเจียว กระเทียมเจียว  และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอดลงเคล้าให้เข้ากัน  ตักใส่จาน โรยหน้าด้วยพริกทอด  เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยและเห็ดทอด

TIPS

  • ดอกสะเดาลวกที่นำมายำควรบีบน้ำให้หมาด  เพื่อไม่ให้มีน้ำส่วนเกิน ที่จะทำให้น้ำยำเหลว  เจือจาง  และไม่อร่อย
  • ดอกสะเดามันคือดอกสะเดาที่มีรสไม่ขมจัด  เวลาเคี้ยวจะมันอร่อย มีวิธีเลือกโดยสังเกตจากลักษณะดอกที ่จะอัดกันแน ่นเป็นกระจุก เต็มก้านดอกและช่อดอกไม่ยาวนัก  ต่างจากดอกสะเดาขมที่ก้านดอก จะยาวกว่าและมักติดดอกห่างๆกันตามก้านดอก

พลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1,268.00 กิโลแคลอรี
โปรตีน 31.70 กรัม
ไขมัน 54.97 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 171.28 กรัม
ไฟเบอร์4.05 กรัม

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.