สุขสบายใจ เมนูต้านซึมเศร้า หงอยเหงาแค่ไหนก็อารมณ์ดี

สุขสบายใจ เมนูต้านซึมเศร้า หงอยเหงาแค่ไหนก็อารมณ์ดี

โดย อ.วันทนี ธัญญา เจตนธรรมจักร ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์

พักหลังมานี้มีหลาย ๆ ท่านเข้ามาปรึกษากับดิฉัน ถึงมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปของคนในครอบครัว  เช่น  พูดช้าลง  พูดน้อยลง  มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวหรือคนรอบข้างน้อยลง  ชอบเก็บตัวอยู่เงียบๆ  มีภาวะนิ่งมากขึ้น  บางรายก็พามาพบเพื่อให้รักษาหรือพูดคุย  เพราะอยากรู้ว่าตอนนี้ตนเองหรือญาติป่วยไม่สบายหรือไม่  ถ้าป่วยจะได้รีบรักษาให้หายโดยเร็ว  ซึ่งหลังจากพูดคุยและดูอาการแล้ว ดิฉันพบว่าบางรายมีภาวะอาการหรือกำลังป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า”  ซึงต้องใช้กระบวนการหลายอย่างเพื่อให้อาการของโรคนี้หายไปหรือทุเลาเบาบางลง  จึงหยิบมาเล่าสู่คุณฟังค่ะ

โรคซึมเศร้าหรืออาการซึมเศร้า  Major  depressive  disorder  เป็นโรคทางจิตที่พบได้บ่อย แต่ควรทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยในโรคนี้ไม่ได้เป็นคนบ้าหรือเสียจริต  เป็นเพียงอาการป่วยทางอารมณ์  ซึ่งต้องการการรักษาเท่านั้นค่ะ

“ภาวะซึมเศร้า” ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า  Depressive  episode  ผู้ป่วยจะมีภาวะซึมเศร้า อารมณ์หดหู่  ไม่แจ่มใส  ไม่สนใจสิ่งต่างๆ รอบข้าง  เบื่ออาหาร  กินน้อยลง  ร่างกายผอมลง  หมดเรี่ยวแรง  เบื่อชีวิต  บางรายอาจมีหูแว่ว

หลงผิด  บางรายนอกจากมีอาการทางอารมณ์ ยังมีอาการปรากฏทางร่างกาย  เช่น  คลื่นไส้  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  วิงเวียน  ใจสั่น  หายใจไม่สะดวก  อาการเหล่านี้มักเป็นอยู่นานวัน

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ป่วยทางอารมณ์  อาจเกิดจากเรื่องเครียด  ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมต่างๆที่เปลี่ยนไปจากเดิม  และเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน  โรคนี้ยังไม่สามารถบอกสาเหตุทั้งหมดได้อย่างชัดเจน  แต่สันนิษฐานว่าอาจมีสาเหตุเกิดจากความเครียด  หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท

การรักษา  แพทย์จะใช้ยาแก้โรคซึมเศร้า  ยาบางชนิดอาจทำให้ง่วง  แต่จะช่วยลดความวิตกกังวล  ผู้ป่วยต้องกินยาต่อเนื่องและสามารถหายเป็นปกติได้  ต้องมีการพูดคุยเพื่อให้ผู้ป่วยได้เปลี่ยนความคิด  พฤติกรรม  ปรับทัศนคติในทางที่ดีและถูกต้อง  บุคคลในครอบครัวและคนรอบข้างต้องเข้าใจและเป็นกำลังใจให้เป็นสำคัญ

ในทางการแพทย์แผนไทยจะใช้หลักของธรรมมานามัยร่วมกับการบำบัดรักษาทางยา  ยาหรืออาหารส่วนใหญ่ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองให้ดีขึ้น เช่น การแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาหอมอินทจักร  ยาจิตรารมณ์หรือยากล่อมอารมณ์ ช่วยลดอาการผิดปกติทางสมองและอารมณ์ ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น  บรรเทาอาการอ่อนเพลีย  ทำให้ร่างกายสดชื่น  กระปรี้กระเปร่า  เป็นต้น  ในส่วนของอาหาร แพทย์อาจเลือกใช้อาหาร ….(รบกวนอาจารย์อธิบายหลักการเลือกวัตถุดิบอาหารเพื่อต้านโรคซึมเศร้าเพิ่มครับ)

ในครั้งนี้ดิฉันมีเมนูที่ให้ผลดีต่อร่างกายคือ  สุขสบายใจ  มีวิธีปรุงดังนี้

สุขสบายใจ
สุขสบายใจ

สุขสบายใจ

ส่วนผสม (สำหรับ 1 ที่)

เตรียม  30 นาที ปรุง 10 นาที

ใบบัวบก                                       30           ใบ

เนื้อกุ้งต้มสุกฉีกเป็นเส้น                           4              ตัว

ขิงซอยคั่วให้กรอบ                                1             ช้อนโต๊ะ

เม็ดมะม่วงหินพานต์อบกรอบ                      2              ช้อนโต๊ะ

เม็ดแปะก๊วยต้มสุก                                 10           เม็ด

ตะไคร้ซอย                                          2              ช้อนโต๊ะ

ใบมะกรูดซอย                                       3              ใบ

งาขาวคั่ว                                           1              ช้อนชา

ส่วนผสมน้ำปรุงรส 

น้ำพริกตาแดง                                      1              ช้อนโต๊ะ

พริกขี้หนูสวนหั่นซอย                              5                เม็ด

หอมแดงซอย                                       3              หัว

น้ำตาลมะพร้าว                                     ½            ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                              ½            ช้อนโต๊ะ

น้ำมะนาว                                            2             ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. คลุกเคล้าตะไคร้ซอย ใบบัวบก  ใบมะกรูดซอย ใส่ลงในจาน  ตามด้วยเม็ดแปะก๊วยต้มสุก  กุ้งต้มฉีกฝอย

โรยลงบนหน้า โรยเม็ดมะม่วงอบกรอบ ขิงคั่วกรอบและงาคั่ว เตรียมไว้

  1. ทำน้ำปรุงรส โดยผสมเครื่องปรุงทุกอย่างคนให้เข้ากัน ชิมรสให้เผ็ด เค็ม  เปรี้ยว  หวาน  ได้ที่แล้วตักราดบนจานผักข้อ 1 คลุกเคล้าให้เข้ากัน รับประทานทันที

ล้อมกรอบ

บัวบก      ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด  ลดความดันโลหิต  บำรุงสมอง  บำรุงหัวใจ  แก้ร้อนภายใน  ช่วยสร้างเนื้อเยื่อ

แปะก๊วย  ช่วยให้การทำงานของไตดีขึ้น  บำรุงไต  บำรุงสมอง  เพิ่มความจำ

ตะไคร้   ขับลมในลำไส้  แก้ปัสสาวะพิการ  แก้นิ่ว  ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย  ใช้เป็นยาหรือเครื่องดื่ม

แก้โรคซึมเศร้า

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.