แกงเขียวหวานปลากรายไส้ไข่เค็ม

แกงเขียวหวานปลากรายไส้ไข่เค็ม เพิ่มลูกเล่นแสนอร่อย ไม่ธรรมดา – A Cuisine

รู้จัก…กระชาย🌿

กระชาย (Fingerroot หรือ Chinese’s Ginger) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เป็นพืชตระกูลเดียวกับโสม

 

กระชายแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายเหลือง กระชายแดง

 

กระชายเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมรสชาติเผ็ดร้อน เป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับการนำมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู อีกทั้งมีคุณสมบัติในเรื่องการระบาย และยังสามารถนำมาใช้ป้องกันโรคได้หลากหลาย กระชายมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

กระชาย 100 กรัม ประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม
โซเดียม 13 กรัม ใยอาหาร 2 กรัม วิตามินซี 8%
โพแทสเซียม 415 มิลลิกรัม โซเดียม 13 มิลลิกรัม น้ำตาล 1.7 มิลลิกรัม
เหล็ก 3% แมกนีเซียม 11% คอเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม
ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม วิตามินบี 6 8% วิตามินบี 12 0%

ประโยชน์ของกระชาย

กระชายมีคุณสมบัติบำรุงร่างกาย มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมระเหยอ่อน ๆ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ประโยชน์และสรรพคุณของกระชาย มีอะไรบ้างนะ

1.บำรุงผมให้สุขภาพดี

สำหรับผู้ที่มีปัญหาเส้นผมแห้งเสียหรือเส้นผมอ่อนแอ กระชายเป็นตัวเลือกที่ดีในการบำรุงเส้นผมให้กลับมาแข็งแรง ช่วยแก้ปัญหาผมขาวให้กลับมาดกดำ ทำให้ผมบางกลับกลายมีเป็นผมหนานุ่มได้อีกครั้ง สามารถจัดการปัญหาผมร่วงและผมหงอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ต่อต้านการอักเสบ

การรับประทานกระชายอย่างต่อเนื่อง จะได้รับผลเหมือนกับการทานยาแอสไพริน โดยจะช่วยแก้ปัญหาการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายได้ดี ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรงมากขึ้น

3.เพิ่มพลังให้ร่างกาย

กระชายสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลังได้ โดยการนำกระชายมาปั่นแล้วดื่ม กระชายมีคุณสมบัติเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกมีพลัง รู้สึกกระปรี้กระเปร่าเต็มไปด้วยพลังงาน

4.ใช้รักษาโรคทั่วไป

ใช้เป็นยารักษาโรคได้หลายขนาน เช่น บำรุงสมอง แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ทำให้ความดันโลหิตเป็นปกติ บำรุงตับ รักษาโรคกระเพาะ ทำให้ไตแข็งแรง ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ แก้อาการแน่นหน้าอก และแก้โรคในปาก เช่น ปากแห้ง ปากเปื่อย เป็นต้น

5.ใช้ลดน้ำหนัก

จากการศึกษาวิจัยในประเทศเกาหลีใต้พบว่า การรับประทานกระชายวันละ 300 – 600 มิลลิกรัม จะมีรอบเอวและไขมันต่ำลดลงภายใน 12 สัปดาห์

6.บำรุงลำไส้

เหง้ากระชายมีรสชาติเผ็ดร้อน สามารถใช้บรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อได้ นอกจากนี้ กระชายยังมีสารซิเนโอเล ที่มีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องลดลง และยังใช้เป็นยารักษาริดสีดวงได้ด้วย

7.แก้อาการบิด

สามารถใช้เหง้าและรากของกระชายมาใช้รักษาอาการบิด ถ่ายเป็นมูกเลือดได้ นอกจากนี้ กระชายยังมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ และยังใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อนได้อีกด้วย

8.ส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ

สมุนไพรอย่างกระชาย สามารถช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศให้ดีขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ยา เนื่องจากกระชายมีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ เพิ่มปริมาณและความหนาแน่นของอสุจิ ทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาน้องชายไม่แข็งแกร่ง การทานกระชาย จะทำให้สุขภาพทางเพศดียิ่งขึ้น

 

ข้อควรระวัง

  • เนื่องจากกระชายเป็นพืชฤทธิ์ร้อน หากรับประทานมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิความร้อนในร่างกายสูง ซึ่งจะส่งผลทำให้ร่างกายพยายามระบายความร้อนออกมา เช่นการเป็นร้อนใน และกรณีทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลด้วยเช่นกัน
  • ผู้หญิงไม่ควรทานกระชายแบบต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะในกระชายมีปริมาณฮอร์โมนเพศชายมาก อาจส่งผลต่อการควบคุมระดับฮอร์โมนในเพศหญิงได้
  • การวิจัยเกี่ยวกับกระชายได้ค้นพบว่า หากทานกระชายมากเกินไปจะส่งผลทำให้เกิดอาการใจสั่น และบางรายอาจจะมีอาการเหงือกร่น ดังนั้น การทานในปริมาณที่เหมาะสมพอดี ย่อมปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายแน่นอน กระชายเป็นสมุนไพรทีมีฤทธิ์เผ็ดร้อน เหมาะสำหรับการใช้บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ มีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบ และมีสรรพคุณในการรักษาโรคได้หลายอย่าง นอกจากนี้ กระชายมีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับการนำมาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ ดีแบบนี้ต้องไม่พลาดเด็ดขาด

 

ข้อมูลจาก

  • https://www.honestdocs.co/benefits-of-kaempferia-useful

 

 

#ACuisine #เอควิซีน #CherryKitCook #Recipes
อยากกิน อยากฟิน อยากทำ อย่าลืมติดตาม A Cuisine (เอควิซีน)
📌Website: https://goodlifeupdate.com/healthy-food
📌Messenger : http://m.me/AcuisineTH
📌Instagram : www.instagram.com/acuisine.th/
📌Pinterest : www.pinterest.com/AcuisineTH/

Summary
recipe image
Recipe Name
แกงเขียวหวานปลากรายไส้ไข่เค็ม
Author Name
Published On

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.